เจาะ Insight ผู้บริโภคเมียนมาปี 2018 เปลี่ยนผ่านสู่ยุค “ช้อปเพื่อไลฟ์สไตล์”

บริษัท เอ็นไวโรเซล ประเทศไทย จำกัด บริษัทวิจัยระดับโลกได้วิเคราะห์เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคเมียนมาในปี 2018 ได้อย่างน่าสนใจคือ ตลาดโมเดิร์นรีเทล (Modern Retail) เติบโตสูง พื้นที่ retail ของ Aeon, Miniso หรือ Daiso จากญี่ปุ่นเติบโตถึง 28% ต่อปี ส่วนเมืองรองจะมี Grab and Go ร้านสะดวกซื้อที่เปิดตัวในปี 2013 ด้วยจำนวน 10 สาขา มองหาสินค้าที่สนองไลฟ์สไตล์มากกว่าแค่ปัจจัยสี่ หันมาซื้อของที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของยุคสมัยมากขึ้น เครื่องใช้ฟ้าจากจีนและญี่ปุ่นอย่าง เครื่องซักผ้าและตู้เย็นเติบโตขึ้น สินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นของไทย เครื่องสำอางค์จากเกาหลี หันมาเข้าร้านกาแฟที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่มากขึ้นและเติบโตจาก 6% ในปี 2013 เป็น 45% ในปี 2016 โกอินเตอร์ สนใจภาพลักษณ์ใช้ของอิมพอร์ตมากขึ้น เปิดรับสื่ออย่างอินเตอร์เน็ตและนิยมดู VDO Streaming เป็นที่นิยมมากในปี 2017 ซึ่ง 80% ดูผ่านมือถือ ทำให้ Netflix กำลังขยายธุรกิจไปยังเมียนมา นิยมเดินทางออกนอกประเทศมากขึ้น ในปี 2017 พบว่าเดือนทางไปต่างประเทศถึง 3 ล้านคน สูงสุดในกลุ่มอาเซียน ปัจจุบันคนเมียนมาที่มีการเปิดรับไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ผู้ประกอบการควรศึกษาตลาดและผู้บริโภคให้ดี เพื่อเข้าไปขายสินค้าอย่างถูกที่ ถูกเวลา ถูกกลุ่ม และวางกลยุทธ์ได้ถูกทาง

ที่มา: https://www.smethailandclub.com/aec-2840-id.html

27 กุมภาพันธ์ 2561

สปป.ลาว ท็อปค่าใช้จ่าย “แพงสุด” ในลุ่มน้ำโขง ชู 2018 ปีแห่งการท่องเที่ยว

บรรดากลุ่มประเทศ CLMV สปป.ลาวจัดเป็นประเทศที่ยากจนที่สุด แต่กลับเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดด้วยเช่นกัน ด้วยความที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล “Land Locked Country” จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุกประเทศไม่เว้นแม้กระทั่งข้าวเหนียว แม้การเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ที่ต้องอาศัยการสร้างเขื่อนพลังงานฟ้า 100 แห่งภายในปี 2020 แต่ถูกต่อต้านจากนักเคลื่อนไหวและกัมพูชา ดังนั้นการท่องเที่ยวจึงเป็นทางออกแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวนลดลง 12% ของครึ่งปีแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยเฉพาะจากชาติอาเซียนลดลงมากที่สุด เหตุจากค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว การเดินทาง อาหาร ที่พักและค่าธรรมเนียมที่สูงเกินไปและยังสูงกว่าเวียดนามด้วยซ้ำ แม้ปี 2561 จะเว้นวีซ่าตลอดทั้งปีให้กับประเทศอย่าง เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และสวีเดน ด้านจีนที่พยายามเชื่อม Land Links ต้องจับตาว่าจะสามารถช่วย สปป.ลาวในด้านการท่องเที่ยวและการค้าได้มากน้อยเพียงใด

ที่มา: https://www.matichonweekly.com/intrend/article_77224

24 มกราคม 2561

เดินหน้าแผนแม่บทเชื่อมอาเซียน จ่อเปิดเสรีการบิน-คุมเรือสำราญ

พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี เผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ระบุว่า ด้านขนส่งมีส่วนทำให้อาเซียนเติบโต ปัจจุบันเศรษฐกิจอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก มีประชากร 640 ล้านคน และ GDP รวมกันมีมูลค่าสูงถึง 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ผ่านมา ได้ลงนามความร่วมมือผลักดันการขนส่งแบบไร้รอยต่อ พร้อมทั้งจัดทำแผนแม่บทเชื่อมอาเซียน 2025 เพื่อเน้นการเชื่อมโยง ซึ่งการคมนาคมขนส่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ความร่วมมือทางอากาศ ทางบก ทางน้ำ และด้านการขนส่ง

ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1416436

ลิ้นจี่ไทยเจอคู่แข่งเวียดนาม

สำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศ เวียดนาม ได้รายงานสถานการณ์การผลิตและการค้าลิ้นจี่ของเวียดนาม โดยพบว่าในปัจจุบันผลผลิตลิ้นจี่ได้เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าปี61 จะผลิตได้สูงถึง 2.07 แสนตัน ส่งออกไปขายใน 30 ประเทศกว่า 1,000 ตัน โดยมีตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐ สหภาพยุโรป แคนาดา จีน ฯลฯ และยังมีแผนขยายตลาดส่งออกไปตลาดใหม่ในยุโรปตะวันออก รัสเซียเพิ่ม และมาเลเซียที่มีแนวโน้มซื้ออย่างต่อเนื่อง และยังร่วมมือกับมาเลเซียเพื่ออำนวยความสะดวกนำเข้าสินอื่นๆ เช่น ผัก ผลไม้ อาหารทะเล ฯลฯ ดังนั้นไทยควรรักษาคุณภาพ ความสดใหม่และมาตรฐานของสินค้าเอาไว้ให้ได้ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของสินค้าไทย

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/news/570191

นักลงทุนไทยต้องรู้ ผลวิจัยใหม่ชาวเมียนมา ไม่สนแบรนด์ เน้นคุ้มค่า เฟสบุ๊กมีอิทธิพล

จากรายงานการวิจัยเรื่อง Who Are Myanmar Millennials? (WAMM?) ซึ่งจัดทำโดยบริษัท อินโดไชน่า รีเสิร์ช พบว่าประชากรเมียนมากลุ่มที่เรียกว่ามิลเลนเนียล ที่เกิดช่วงปี 2525 – 2543 มีจำนวน 16.6 ล้านคน คิดเป็น 33% ของประชากรทั้งหมด 55 ล้านคน นิยมใช้สื่อโซเชียลในการหาข้อมูลติดต่อและกระจายข่าวมากกว่าญาติหรือผู้ใหญ่ กลุ่มนี้เวลาบริโภคสินค้าจะไม่ค่อยสนใจแบรนด์แต่จะคำนึงถึงลักษณะการใช้งานของสินค้าหรือบริการ ประเทศผู้ผลิต เทคโนโลยีและรางวัลที่ได้ ร้อยละ 66 ใช้สื่อโซเชียลในการตัดสินใจซื้อและเป็นแพลตฟอร์มที่มีอิทธิพลมากถึง 99% ตามด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและทีวี ดังนั้นผู้ประกอบต้องมีกลยุทธ์ทางโซเชียลมีเดียที่โดดเด่นในการเจาะตลาดผู้บริโภคกลุ่มนี้

ที่มา: https://www.smethailandclub.com/aec-2474-id.html

17 พฤษจิกายน 2560

ชี้ขุมทรัพย์ของนักธุรกิจไทยในสปป.ลาวโดย SME แห่งสปป ลาว

นิตยา เพชดาวัน กรรมการสมาคม SME สปป.ลาว ได้ชี้ถึงโอกาสของนักลงทุนไทยในสปป.ลาว โดยเฉพาะในจุดที่แตกต่างระหว่างไทยกับสปป.ลาว ที่ถือเป็นความลงตัว สปป.ลาวยังมีทรัพยากรจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถแปรรูป แต่คนไทยทำได้หมด จึงอยากให้นักธุรกิจไทยให้ไปลงทุน ซึ่งโอกาสมีทั้งเรื่องธุรกิจอาหาร เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม คนสปป.ลาวมีความมั่นใจในสินค้าไทยมาก มีความเชื่อว่าเป็นของดี สินค้าจากสองประเทศวางคู่กัน สินค้าแบรนด์ที่ Made in Thailand จะถูกเลือกซื้อไปก่อน เพราะมีราคาไม่สูงและเป็นสินค้ามีคุณภาพ และที่น่าสนใจคือการค้าชายแดนที่รัฐบาลสปป.ลาว ยึด 4 ข้อหลัก คือ การสร้างเขื่อนไฟฟ้า พัฒนาโครงการพื้นฐาน การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และผลักดันการลงทุนทั้งด้านเกษตรแปรรูป การศึกษา และโรงพยาบาล ด้านผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย มีศักยภาพมากพอที่จะเข้าไปลงทุนในด้านเกษตรแปรรูป (ที่ในปัจจุบันรัฐบาลเน้นเกษตรออร์แกนิค พืชผักปลอดสารพิษ) การศึกษา และโรงพยาบาล เช่นเดียวกัน ที่ผ่านมานักธุรกิจมักคิดว่าสปป.ลาวเป็นเมืองปราบเซียน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องความไม่เข้าใจระหว่าง ที่ถูกต้องคือต้องไปกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ถ้าจดทะเบียนตามระบบขั้นตอนที่ถูกต้องนั้น การันตีเลยว่าจะไม่โดนโกงอย่างแน่นอน นักธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นมีเป็นส่วนน้อย เพราะไทยกับ สปป.ลาวนั้นเชื่อมโยงใกล้ชิดกันอยู่แล้ว

ที่มา: https://news.mbamagazine.net/index.php/entrepreneurship/smes/item/1020-2018-08-13-02-49-26

The OPPORTUNITY : ธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่งในเมียนมา

http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/49875.pdf

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

กรกฎาคม 2561