อุตสาหกรรมสิ่งทอของสปป.ลาวยังคงเผชิญกับความท้าทาย

สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของสปป.ลาวกล่าวว่าผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกำลังเผชิญอุปสรรคอย่างต่อเนื่องเพื่อการอยู่รอดและเจริญเติบโต ลูกค้าต้องการสินค้าที่มีคุณภาพและผู้ผลิตมีอำนาจน้อยในการต่อรองราคาเนื่องจากค่าใช้จ่ายของพวกเขาเพิ่มขึ้นในขณะที่ราคาที่ได้รับยังคงอยู่อย่างต่อเนื่องประธานาธิบดีของสมาคม กล่าวในการประชุมครั้งที่ 8 ของสมาคมในเวียงจันทน์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเป็นปัญหาเรื้อรังในภาคอุตสาหกรรมส่งผลให้การส่งออกเสื้อผ้าลดลง

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/lao-garment-industry-continues-face-challenges

13/12/61

ราคาข้าวแข่งเดือดฉุดส่งออกกัมพูชา

รองประธานสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา เผยกับสำนักข่าวพนมเปญโพสต์เมื่อเร็วๆ นี้ว่า การส่งออกข้าวของกัมพูชาลดลงเกือบทุกเดือนในปีนี้ ผลจากการขาดแคลนคลังเก็บข้าวในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว และการแข่งขันราคากับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานของสำนักงานบริการด้านการส่งออกข้าวกัมพูชา ระบุว่า การส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศ ลดลงมาอยู่ที่ 497,240 ตันในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2561จาก 562,237 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หรือลดลงไปกว่า 13%

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

13/12/61

นักท่องเที่ยวจีน 1.62 ล้านคนเยือนกัมพูชาในช่วง 10 เดือนแรกเพิ่มขึ้น 71.5%

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชารายงานว่ากัมพูชาดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีน 1,62 ล้านคนในช่วง 10 เดือนแรกของปีพ. ศ. 2561 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 71.5 เมื่อวันพุธที่ผ่านมา จีนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชาซึ่งคิดเป็น 33.7% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดเข้ามาในราชอาณาจักรในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม ในปีนี้รายงานกล่าวว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศทั้งหมด 4.82 ล้านคนเพิ่มขึ้น 11.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2018-12/12/c_137669092.htm

13/12/61

เครื่องสำอางมอลลีน อโวคาโด บุกตลาดออร์แกนิก อาเซียน

มอลลีน (Mollyn) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากน้ำมันสกัดอโวคาโด ไอเดียเอสเอ็มอีไทยน้องใหม่ เปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา สามารถส่งออกตลาดเพื่อนบ้าน และได้รับการตอบรับที่ดีในประเทศ เตรียมขยายพื้นที่วางจำหน่ายยังโมเดิร์นเทรดและเตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่วางจำหน่ายขณะนี้ ประกอบด้วย สบู่ล้างหน้า ครีมกันแดด ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว แผ่นมาสก์หน้ากลางคืน ฯลฯ ที่ขายดีที่สุดได้แก่ สบู่อโวคาโด มีจุดเด่นที่ไม่ใช้สารทำฟอง แต่จะมีถุงทำฟองบรรจุในผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด ช่องทางการจัดจำหน่ายหลัก เป็นช่องทางออนไลน์ และมีแผนจำหน่ายในโมเดิร์นเทรด ได้แก่ ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาชลบุรี สวนนงนุชพัทยา และ MCOT Mart ที่ตลาดต่อยอด นอกจากนี้ยังมีตัวแทนเสียมราฐ กัมพูชา ได้รับการตอบรับที่ดี นอกจากนี้มีผู้สนใจติดต่อขอจำหน่ายใน สปป.ลาว และสหรัฐอเมริกา

ที่มา : https://www.posttoday.com/aec/news/573542

13/12/61

SME น่าลงทุนเวียดนาม เมื่อคนในประเทศกำลังซื้อสูงขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย เผยข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ที่ชี้ว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคเวียดนาม เพิ่มขึ้นกว่า 9.31% ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 61 เมื่อแยกอัตราเงินเฟ้อออกไป โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการที่จำเป็นต้องใช้ในงานแต่งงาน, อุปกรณ์การเรียนในปีการศึกษาใหม่ และเสื้อผ้าสำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวเวียดนามยังเพิ่มความต้องการในการปรับปรุงที่พัก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปีใหม่ ซึ่งกำลังซื้อที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันและการขนส่งที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น 3.45% ส่วนตัวเลขดัชนีอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.31% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ รายได้จากการขายปลีกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 เพิ่มขึ้นกว่า 12.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ประกอบกับผู้บริโภคใช้จ่ายด้านอาหารเพิ่มขึ้น 13.3% รองลงมา คือ เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องใช้ภายในบ้าน, ผลิตภัณฑ์เพื่อการศึกษา และยานพาหนะ ตามลำดับ ส่งผลให้มีรายได้จากการให้บริการด้านที่พักอาศัยและอาหาร เพิ่มขึ้น 8.3% จากปีก่อน รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 15.6% และรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น 9.3% โดยเมืองที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ Ho Chi Minh, Hai Phong, Thanh Hoa และ Da Nang เป็นต้น

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/17528

สร้างแบรนด์ อาหารไทย สิ่งที่ควรรู้ไว้ก่อนไปต่างแดน

จากทุกรัฐบาลที่ผ่านมา มีการผลักดันให้อาหารไทยก้าวไกลในระดับโลกด้วยคำขวัญที่ว่า “ครัวไทยสู่ครัวโลก” ผู้ประกอบการจะต้องใช้ความได้เปรียบจากความแข็งแกร่งมาต่อยอดการสร้างแบรนด์ของตัวเองและควรเรียนรู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งมีความคุ้นเคยกับอาหารไทยอยู่แล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญคือ มาตรฐานด้านรสชาติ คือ คงรสชาติดั้งเดิมไว้มากที่สุด ใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่เป็นของไทยและปรับรสชาติตามความต้องการของผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ แต่รสชาติต้องมีความใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด มาตรฐานด้านบรรจุภัณฑ์ ต้องมีมาตรฐานสอดคล้องกับจุดยืนของผลิตภัณฑ์อาหาร ตรงกลุ่มเป้าหมาย มีองค์ประกอบสำคัญอย่าง ชื่อ ตราสินค้า สัญลักษณ์ทางการค้า รายละเอียดกฎหมายข้อบังคับต่างๆ มาตรฐานทางด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการควรศึกษาเรื่องมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกเพื่อความมั่นใจของผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ เช่น มาตรฐาน GMP, HACCP, Halal และ Codex การประสบความสำเร็จยังมีอีกหลายองค์ประกอบ เช่น ทั้งด้านการตลาด การจัดหาตัวแทนจำหน่าย รวมถึงการบริหารจัดการ อย่างน้อยความเข้าใจใน 3 มาตรฐานจะช่วยให้ผู้ประกอบการเริ่มต้นได้ดี เพียงแค่นี้ก็สามารถมีแบรนด์อาหารไทยที่จะช่วยสร้างความประทับใจให้คนอาศัยในต่างแดนไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติก็ตาม

ที่มา: https://www.smartsme.co.th/content/101451

ปีใหม่62 คาดคนกรุงฯ ใช้จ่ายกว่า 30,800 ล้านบาท เน้นมอบของขวัญเฉพาะคนสำคัญและคัดสรรสินค้ามากขึ้น

พบว่าร้อยละ 59 ของกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจ เลือกที่จะเฉลิมฉลองอยู่ในกรุงเทพฯ ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ร้อยละ 60 โดยให้เหตุผลว่า การจราจรติดขัด คนหนาแน่น ไม่สะดวกในการเดินทาง และยังต้องระมัดระวังการใช้จ่าย แม้จะเลือกอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ภาพรวม ส่วนใหญ่มีการวางแผนการเงินไว้ใช้จ่ายต่างๆ โดยเฉพาะการซื้อของขวัญและเลี้ยงสังสรรค์ถือเป็นกิจกรรมที่คนกรุงเทพฯ เลือกทำมากที่สุด โดยการมอบของขวัญ ร้อยละ 55 เน้นให้กับบุคคลในครอบครัว หรือการจับสลากในงานเลี้ยงขององค์กร โดยเม็ดเงินรวมของคนกรุงเทพอยู่อยู่ที่ ประมาณ 30,000 ล้านบาท เพิ่มร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน เฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 5,600 บาท

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z2944.aspx

12/12/61

เอกชนลงทุนอีอีซีไอแสนล้าน

รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการเขตนวัตกรรมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนแม่บทการพัฒนาอีอีซีไอ โดยจะเน้นการเกษตรแปรรูปเพื่อเชื่อมโยงกับการวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า ภายในระยะเวลา 20 ปี ทั้งนี้เงินลงทุนภาครัฐ 3.31 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเกิดการลงทุนภาคเอกชน 1.1 แสนล้านบาท ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจโดยรวม 2.71 แสนล้านบาท

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/573652

12/12/61

วว.ปั้นตรามาตรฐานใหม่ หนุนสินค้าไทยโกอินเตอร์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ เปิดตัวเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ใน 6 กลุ่มสินค้าเป้าหมายนำร่อง การันตีคุณสมบัติเทียบเท่าระดับสากล โดยการสรรงบประมาณ 36 ล้านบาท ระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี61-64 เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการซึ่งตั้งเป้าไว้ 300 ราย สามารถเข้าถึงการรับรองมาตรฐานใหม่นี้ และเพื่อหนุนผู้ประกอบการใช้อ้างอิงทำตลาดต่างประเทศ ยกระดับทัดเทียม “ยูแอล” และ “ไอฟอม” ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์เกษตรตามหลัก GAP, เกษตรอินทรีย์, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, พลาสติกที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ, ระบบขนส่งทางรางและการบริการท่องเที่ยว และในอนาคตจะพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับระดับโลก

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/820975

12/12/61