6 เดือนแรกของปี 62 FDI เวียดนามลดลง

จากรายงานของกระทรวงการวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าในเดือนมิถุนายน เงินลงทุนจดทะเบียนจากต่างชาติ มีมูลค่ากว่า 1.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในช่วง 6 เดือนแรก มีมูลค่ารวมกว่า 18.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการได้รับใบอนุญาติของโครงการลงทุนขนาดใหญ่จำนวนมากในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว และจากสถิติในช่วง 6 เดือนแรกระบุว่า นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ลงทุนในสาขาการผลิตและการแปรรูป รองลงมาอสังหาริมทรัพย์ และการค้าปลีกค้าส่ง ตามลำดับ หากจำแนกรายประเทศ พบว่าประเทศฮ่องกงมีการลงทุนโดยตรง (FDI) ไปยังเวียดนามมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29 ของการลงทุนทั้งหมดจากต่างชาติ รองลงมาเกาหลีใต้ (15%) จีน (13%) สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เวียดนามไม่อนุมัติโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติทั้งหมด แต่จะมุ่งเน้นโครงการที่ใช้เทคโนโลยีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/521813/viet-nam-attracts-less-fdi-in-first-half-of-the-year.html#buIDCdZfwMqkySOe.97

รัฐบาลเมียนมามีแผนปล่อยกู้ 2000 ล้านจ้าดให้เกษตรกร

กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทานมีแผนจะปล่อยให้สินเชื่อแก่เกษตรกรทั่วประเทศเป็นจำนวนกว่า 2,000 พันล้านจ้าด ซึ่งเพิ่มจากปีที่แล้ว 210 ล้านจ้าด จากข้อมูลของรัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการเงิน จะปล่อยให้เกษตรกรทั่วประเทศกู้ยืมเงินสินเชื่อจำนวน 2,017 พันล้านจ้าดในปีงบประมาณ 2018 – 2019 ทั้งนี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมาระบุว่าหนี้สินของเกษตรกรในการปลูกข้าว 1 เอเคอร์จะอยู่ที่ 150,000 จ้าด ส่วนการเพาะปลูกพืชอื่นๆ ต่อเอเคอร์จะอยู่ที่ 100,000 จ้าด และมีการคาดการว่ากระทรวงคาดว่าจะมีการเพาะปลูกข้าวช่วงฤดูฝนนี้ 15.29 ล้านเอเคอร์และนาปรังในช่วงฤดูร้อนมากกว่า 2.61 ล้านเอเคอร์ของปี 2561-2562

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/ministry-to-loan-farmers-ks-2000-billion-across-country  

ซาอุฯ เริ่มกลับมานำเข้าประมงจากเมียนมา

ซาอุดิอาระเบียกลับมานำเข้าสินค้าประมงอย่างปลาปลายี่สกเทศหลังจากผ่านการตรวจสอบและอนุญาตให้นำเข้าจำนวน 20,000 ตัน ซึ่งก่อนหน้าเดือนเมษายนปีที่แล้วตรวจพบแบคทีเรีย จึงหันไปนำเข้าจากเวียดนามแทนและทำการระงับการนำเข้าปลาดุกจากเมียนมาถึง 60 เปอร์เซ็นต์ โดยในปีที่ผ่านมาซาอุดิอาระเบียมีการระงับการนำเข้าสินค้าประมงจากสี่ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย เมียนมาและเวียดนาม แต่เมียนมาเป็นประเทศเดียวในขณะนี้ที่ผ่านการรับรองว่าเป็นไปตามมาตรฐาน GAP จากเจ้าหน้าที่ของซาอุดิอาระเบียที่เดินทางไปตรวจสอบในเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-resume-fish-exports-saudi-arabia-after-inspections.html

โครงการมิกส์ยูส Mixed use 90 พันล้านเริ่มแล้วที่มัณฑะเลย์

โครงการ มูลค่ากว่า 59.16 ล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่อยู่อาศัย โดยจะรวมศูนย์การทางศึกษานวัตกรรมและชุมชน ซึ่งแผนการสร้างดังกล่าวได้ถูกยื่นไปยังรัฐสภาระดับภูมิภาคเพื่อขออนุมัติแล้ว โดครงการพื้นที่มากกว่าสองเฮกตาร์ โดยรัฐบาลระดับภูมิภาคเป็นเจ้าของ และถูกล้อมรอบด้วยสิ่งก่อสร้างสำคัญ เช่น ศูนย์การประชุมมัณฑะเลย์ และมัณดาลาร์มันดาเลย์ โครงการก่อสร้างรับผิดชอบโดย Mandalay Taungthaman Development และคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีกสองปีครึ่ง ซึ่งคาดว่าโครงการนี้จะเพิ่มเงินทุนของรัฐบาลในระดับภูมิภาคและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจในมัณฑะเลย์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/k90-billion-devt-project-rise-mandalay-city.html

TOHLAO. Lao Telecom ช่วยสร้างธุรกิจเริ่มต้น

TOHLAO ร่วมมือกับ บริษัท โทรคมนาคมลาว จำกัด (มหาชน) (ลาวเทเลคอม) ได้ริเริ่มองค์กรที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการชาวลาวรุ่นเยาว์ที่เริ่มใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อให้เกิดศักยภาพทางธุรกิจอย่างเต็มที่ เนื่องจากตามสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว (LNCCI) SMEs คิดเป็นสัดส่วน 98-99% ของธุรกิจทั้งหมดในลาว  ดังนั้นการส่งเสริมการเริ่มต้นในประเทศสปป.ลาวเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริม SME และจะช่วยรวมเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับการดำเนินธุรกิจในชีวิตประจำวัน

ที่มา : http://www.nationmultimedia.com/detail/asean-plus/30368931

สปป.ลาวมีรายรับจากการ ส่งออก 5.41 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สปป.ลาวมีรายรับจากการส่งออกรวม 5.41 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 ตามสถิติของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของประเทศของตัวเลขที่ 1.31 พันล้านเหรียญสหรัฐมาจากการส่งออกภายใต้กรอบพิเศษเช่น GSP และ FTA ประเทศได้รับการดูแลเป็นพิเศษเมื่อส่งออกไปยัง 37 ประเทศและนำเข้าจาก 39 ประเทศ ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของสปป.ลาว คือไทยมีมูลค่า 425.86 ล้าน USD รองลงมาคือเวียดนาม 332.85 ล้าน USD และจีน 250.95 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าอุตสาหกรรมเป็นสินค้าที่มีรายรับเงินตราต่างประเทศมากที่สุดคือ 637.36 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/laos-posts-541-billion-usd-in-export-earnings-in-2018/152111.vnp

ปี 61 เศรษฐกิจกัมพูชาโต 7.5 เปอร์เซ็น

เศรษฐกิจกัมพูชาขยายตัวร้อยละ 7.5 ในปีที่แล้วตามรายงานของธนาคารโลก คาดได้แรงหนุนจากการขยายตัวของการส่งออกและการก่อสร้างที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การส่งออกเสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าจากการท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าสองในสามของยอดส่งออกสินค้าทั้งหมดนั้นทำสถิติสูงสุดในห้าปีเพิ่มขึ้น 17.6% ในปี 2561 เพิ่มขึ้นจาก 8.3% ของปีก่อน การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์และการท่องเที่ยวคิดเป็น 60% ของการลงทุนทั้งหมดในปี 2561 แต่การพิจารณาระงับการให้สิทธิ EBA ของอียูอาจส่งผลให้การส่งออกต้องชะงัก กระทรวงเศรษฐกิจและการเงินย้ำว่าการเติบโตของปีที่แล้วอยู่ที่ 7.5% เป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากสุดในรอบสิบปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50601167/cambodia-grew-7-5-pct-in-2018-world-bank/

เทคโนโลยีใหม่สร้างอนาคตของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสปป.ลาว

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสปป.ลาวหวังว่าการใช้เทคโนโลยีจักรเย็บผ้าใหม่จะช่วยให้สามารถเอาชนะปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างต่อเนื่อง โดยสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มลาว ร่วมมือกับ Jack Sewing Machine Co Ltd และ Laominar Export and Import Sole Co Ltd แสดงให้เห็นถึงการใช้จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมจีนขั้นสูงและทำการฝึกอบรมด้านเทคนิค ซ่อมบำรุง โปรแกรมนี้ได้รับการแต่งตั้งจากรองประธาน ALGI และสภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว เลขาธิการ เจ้าหน้าที่เทคนิคจากโรงเรียนอาชีวศึกษา และผู้แทนจากอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสปป.ลาวเข้าร่วมด้วย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้แรงงานเพื่อให้อุตสาหกรรมเสื้อผ้าในท้องถิ่นสามารถแข่งขันกับบริษัทต่างประเทศ โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอยังคงประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานเรื้อรังซึ่งส่งผลให้การส่งออกลดลง การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปแตะ 174.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2559 ลดลง 7.25% เมื่อเทียบกับปี 2557 สาเหตุอื่นที่ทำให้ขาดความสามารถในการแข่งขันรวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศและค่าขนส่งที่สูงเนื่องจากไม่มีเส้นทางทะเลโดยตรง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/new-technology-sewing-future-lao-garment-industry-95970