สปป.ลาว จำกัดการส่งออกข้าวเนื่องจากข้าวขาดตลาด

สปป.ลาว จำกัดการส่งออกข้าวเนื่องจากขาดแคลนอุปทานในตลาดภายในประเทศแม้จะมีความต้องการสูงจากต่างประเทศ ราคาข้าวที่สูงและผลกระทบจากอุทกภัยภายในประเทศในฤดูกาลนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ชาวนาเก็บข้าวไว้บริโภคเอง สปป.ลาวส่งออกข้าวขัดมันเพียง 1,350 ตันไปยังจีนโดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงโควต้าการส่งออก 50,000 ตัน ในขณะที่ตลาดจีนต้องการข้าวจากสปป.ลาวเพิ่มขึ้น ผลกระทบจากภัยธรรมชาติอาจเป็นสาเหตุสำคัญของผู้ส่งออกข้าวสปป.ลาวที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งจีนยังคงเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดและเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของประเทศแม้ว่าจะมีข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เข้มงวด ราคาข้าวเริ่มเพิ่มสูงขึ้นในเดือนมิ.ย.และหลายพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคกลางและภาคใต้ได้รับผลกระทบ น้ำท่วมทำลายไร่นาหลายพันไร่และพืชไร่อื่น ๆ หลายร้อยเฮคแตร์ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้รายงานตัวเลขโดยละเอียดเกี่ยวกับความเสียหาย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-limits-rice-exports-due-short-supply-104201

โครงการไฟฟ้าพลังน้ำน้ำเงี้ยบ 1 เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อการส่งออกมายังประเทศไทย

หลังจาก 5 ปีในการสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำน้ำเงี้ยบ 1 (NNP1) ในแขวงบอลิคำไซของสปป.ลาวเริ่มผลิตไฟฟ้าในวันที่ 5 ก.ย.เพื่อส่งออกไปยังประเทศไทย การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปลายปี 57 และงานโยธาไฟฟ้าและเครื่องกลครั้งสุดท้ายแล้วเสร็จในเดือนส.ค. การทดสอบการว่าจ้างขั้นสุดท้ายเสร็จสมบูรณ์ในช่วงปลายเดือนส.ค.และเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 62 โดยกฟผ. โรงไฟฟ้าหลักมีกำลังการผลิตติดตั้ง 272 MW และพลังงานทั้งหมดที่ผลิตจากโรงไฟฟ้านี้จะขายให้กับกฟผ. ผ่านสายส่ง 120 km. 230 kV ไปยังสถานีไฟฟ้าย่อยนาบง พลังงานจะถูกเปลี่ยนเป็น 500 kV ก่อนที่จะถูกส่งไปยังประเทศไทย  โครงการนี้มีเป้าหมายคือการสร้างโครงการพลังงานที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่จะจัดหาพลังงานทดแทนที่สะอาดและมีส่วนช่วยลดความยากจนของสปป.ลาว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/nam-ngiep-1-project-begins-generating-electricity-export-thailand-104202

อุตสาหกรรมผัก สปป.ลาวกำลังเผชิญกับความท้าทาย

อุตสาหกรรมผักสปป.ลาวกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง เวทีสนทนาเรื่องผักระดับภูมิภาคหัวข้อ“ การยอมรับเพื่อสนับสนุนการแทรกแซงในเกษตรกรรายย่อยเพื่อการผลิตผักสดที่ปลอดภัยตลอดทั้งปี” ที่จัดขึ้นในเวียงจันทน์เมื่อวานนี้ งานนี้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาครัฐ เอกชน นักวิจัย และเกษตรกรได้แลกเปลี่ยนความเข้าใจในประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ เทคนิค และที่เป็นประเด็นท้าทายในห่วงโซ่ผักและอุปสรรคสำคัญต่างๆ และการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการผลิตผักเป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับเกษตรกรและเป็นแหล่งอาหารและรายได้ และสามารถเป็นความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนได้ ที่ผ่านมาพื้นที่เพาะปลูกผักทั้งหมดเพิ่มขึ้นทุกปีแต่มีความท้าทายหลายอย่าง บางครั้งในฤดูฝนผักหลายชนิดต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสามารถในการปลูก ทั้งการเข้าถึงข้อมูลตลาดทั้งในและต่างประเทศของเกษตรกรค่อนข้างลำบาก ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น ต้นทุนแรงงาน เป็นสาเหตุให้ความสามารถในการแข่งกันกับประเทศเพื่อนบ้านลดลง ดังนั้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) และภาคเอกชนต้องพัฒนานวัตกรรมการผลิตและระบบห่วงโซ่อุปทานตลอดจนการแก้ไข เพื่อให้มีผักบริโภคได้ทั้งปี

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/vegetable-industry-laos-facing-several-challenges-103966

กัมพูชาทำข้อตกลงขยายการผลิตไฟฟ้าถ่านหินในสปป.ลาว

กัมพูชาตั้งเป้าที่จะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าตามข้อตกลงกับสปป.ลาว เป็นเวลา 30 ปีมูลค่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อเข้าสู่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในสปป.ลาว สามารถเข้าถึงไฟฟ้าที่ 2,400 เมกะวัตต์ที่ 7.7 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อชั่วโมงและเป็นราคาที่ต่ำกว่าการนำเข้าจากไทยและเวียดนาม ADB ระบุกำลังการผลิตทั้งหมดของกัมพูชาอยู่ที่ 2,175 เมกะวัตต์ในปี 61 คิดเป็น 62% จากพลังงานน้ำและ 36% จากเชื้อเพลิงฟอสซิล บริษัท TSBP Sekong Power and Mineral มีกำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนเซกงจะมีกำลังการผลิต 1,800 เมกะวัตต์ ปัจจุบันการลงทุนเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะภาคก่อสร้าง ซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้พลังงานในปี 62 และปีต่อ ๆ มาสูงกว่าที่คาดไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นหนึ่งวันก่อนการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและนายกรัฐมนตรีลาวทองลุน สีสุลิด ก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยคิดจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนถ่านหินเพราะราคาที่สูงและถือเป็นอุปสรรคทางเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://en.vodhotnews.com/electricity-capacity-to-expand-with-laos-coal-deal/

ลักเซมเบิร์กเพิ่มการสนับสนุนสำหรับโครงการพัฒนาใน สปป.ลาว

รัฐบาลลักเซมเบิร์กตกลงที่จะสนับสนุนทุนกว่า 11.7 ล้านยูโรเพื่อดำเนินโครงการพัฒนา จากการลงนามในข้อตกลงสามฉบับเพื่อสนับสนุนสปป.ลาวในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม พิธีลงนามข้อตกลงการระดมทุนได้ดำเนินการภายใต้การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือทวิภาคีครั้งที่ 12 ระหว่างสปป.ลาวและรัฐบาลลักเซมเบิร์กในเวียงจันทน์ โดยความช่วยเหลือ 1.3 ล้านยูโรสำหรับโครงการเพื่อการพัฒนาในช่วงปี พ.ศ. 62-65 เงิน 6.99 ล้านยูโรสำหรับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทและการลดความยากจน และ 3.5 ล้านยูโรสำหรับโครงการสนับสนุนภาคสุขภาพ อีกทั้งมีการทบทวนการดำเนินการตามโครงการความร่วมมือในปี พ.ศ. 61-62 รวมทั้งแผนล่วงหน้าสำหรับโครงการความร่วมมือระดับที่ 4 (ICP) ปี 59-63 ที่ผ่านมาลักเซมเบิร์กได้ให้ความช่วยเหลือ เช่น การศึกษา สุขภาพ การท่องเที่ยว การกู้ระเบิดที่ยังหลงเหลืออยู่ การเงินการธนาคาร การพัฒนาชนบทและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ICP โดยรวมที่ดำเนินการ 4 ขั้นตอนโดยมีมูลค่ารวม 178 ล้านยูโร ขั้นที่ 1 เริ่มปี 46-49 มูลค่า 18 ล้านยูโร ครั้งที่ 2 จากปี 50-53 ที่ 35 ล้านยูโร ขั้นที่ 3 ปี 54-58 ที่ 50 ล้านยูโรและขั้นที่ 4 เริ่มในปี 59 และจะเสร็จสิ้นในปีหน้า มูลค่า 75 ล้านยูโร

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Luxembourg.php

น้ำท่วมพิษพายุโพดุลส่งผลราคาข้าวและเนื้อหมูในภาคใต้ของ สปป.ลาว เพิ่มขึ้น

ราคาเนื้อหมูและข้าวเพิ่มขึ้นในจังหวัดทางภาคใต้ของ สปป.ลาวลาวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม แต่อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้เนื่องจากการควบคุมของรัฐบาล ราคาข้าวเพิ่มขึ้นประมาณ 500 กีบ เป็น 1,000 กีบต่อกิโลกรัม ส่วนเนื้อหมูเพิ่มขึ้นประมาณ 5,000 กีบต่อกิโลกรัม เนื่องจากผู้ค้าประสบปัญหาในการขนส่งสินค้า ถนนถูกน้ำท่วมท่วมและเสียหาย อย่างไรก็ตาม ราคาเนื้อหมูในปัจจุบันอยู่ในระดับปกติ เนื่องจากหน่วยงานในจังหวัดได้เข้ามาควบคุมราคา ผลกระทบพายุโซนร้อน”โพดุล” ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมไปยังหกจังหวัดของแขวงคำม่วน สะหวันเขต อัตตะปือ สาละวัน จำปาสัก และเซกอง ฟาร์มปศุสัตว์ ระบบชลประทาน และบ่อปลาก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเช่นกัน ปีที่แล้วมีข้าวนาปรัง 101,000 เฮกตาร์ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 12% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 817,800 เฮกตาร์ ประมาณการมีข้าว 66,000 เฮคตาร์ที่ได้รับความเสียหาย น้ำท่วมในปีที่แล้วส่งผลให้ราคาข้าวเพิ่มขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้จาก 1,000 กีบเป็น 2,000 กีบต่อกิโลกรัม ปัจจุบันผู้ประสบอุทกภัยยังต้องการอาหาร น้ำดื่ม อุปกรณ์ครัว ผ้าปูที่นอน และของใช้จำเป็นอื่น ๆ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/floods-lead-increase-prices-rice-and-pork-southern-provinces-103889

รัฐบาลสปป.ลาว มุ่งเน้นไปที่การปฏิรูปการศึกษาเพื่อกำจัดการไม่รู้หนังสือ

รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญกับการยกระดับการลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นที่สูงขึ้นเนื่องจากมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดการไม่รู้หนังสือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬากล่าวว่ารัฐบาลให้ความสนใจกับการสนับสนุนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาเพื่อดำเนินการต่อไปยังโรงเรียนมัธยมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปีได้รับการศึกษาเทียบเท่าในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภายใต้โครงการเป้าหมายของกระทรวงในปีการศึกษา 61-62 มีนักเรียน 5,924 คน จบการศึกษาระดับประถมศึกษาซึ่งรวมถึงผู้หญิง 3,029 คน มีนักเรียน 30,065 คน ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นซึ่งมีผู้หญิงและเด็กผู้หญิง 14,362 คนขณะที่ 2,336 คนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมถึงผู้หญิง 685 คน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt203.php

โครงการ EU รองรับการส่งออกสปป.ลาว

เมื่อวันที่ 9 กันยายนเป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนการค้าและการลงทุนด้วยโครงการ ARISE Plus-Laos ด้วยงบประมาณรวม 5 ล้านยูโร (5.52 ล้านเหรียญสหรัฐ) โครงการการสนับสนุนด้านการรวมตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติม- โครงการความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับการค้าสปป.ลาว (ARISE Plus-Laos) ได้รับการออกแบบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก บูรณาการด้านการส่งออกในระดับภูมิภาคและห่วงโซ่มูลค่าโลก และส่งเสริมการค้าและเจาะลึกศักยภาพของภาคการแปรรูปไม้และการเกษตรแบบพิเศษที่ได้รับการคัดเลือกซึ่งจะช่วยให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเพิ่มพูนความรู้ด้านการส่งออกรวมถึงวิธีการค้าที่ดีขึ้น ซึ่งสหภาพยุโรปต้องการเพิ่มความช่วยเหลือ เพื่อเสริมสร้างการรวมตัวทางเศรษฐกิจในอาเซียน โครงการดังกล่าวเปิดตัวในระหว่างการเยือนสปป.ลาวอย่างเป็นทางการของกรรมาธิการยุโรปเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาระหว่างประเทศและผู้อำนวยการบริหารของ International Trade Center ซึ่งเป็นหน่วยงานร่วมของสหประชาชาติและองค์การการค้าโลก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/eu-programme-supports-laos-export/160221.vnp

สปป.ลาว – จีนจัดตั้งกิจการร่วมค้าเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตร

รัฐวิสาหกิจเพื่อการเกษตร (SAS) ของสปป.ลาวได้ลงนามข้อตกลงกับ China’s Guangzhou Zhongheyuan Agriculture Development Co., Ltd. (GZAD) และ บริษัท UAB Global Ltd (UAB) ของฮ่องกง เพื่อร่วมมือกันลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรและการพัฒนาตลาด ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน CSU Agricultural Innovation Co., Ltd. (CSU) ได้ลงนามในเวียงจันทน์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วัตถุประสงค์ของการร่วมทุนคือการพัฒนาและปรับปรุงอุตสาหกรรมการเกษตร รวมถึงด้านปศุสัตว์โดยเฉพาะหมู วัว และแพะ การปลูกผักอินทรีย์และผลิตผลทางการเกษตรอื่น ๆ เพื่อจำหน่ายในตลาดสปป.ลาว จีน และนานาชาติ CSU มุ่งมั่นที่จะสร้างงานสร้างโอกาสทางการตลาดและสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับประชาชนและเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคในราคาที่สมเหตุสมผล ความร่วมมือดังกล่าวคาดว่าจะช่วยการทำฟาร์มปศุสัตว์และปรับปรุงระบบการทำฟาร์มในสปป.ลาวโดยใช้เทคโนโลยีและมาตรฐานใหม่และผ่านการฝึกอบรมและความช่วยเหลือด้านเทคนิค

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-chinese-joint-venture-boost-agricultural-industry-103707

สปป.ลาว-ไทย ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับอุตสาหกรรม

สปป.ลาวและไทยได้ตกลงที่จะร่วมมือในการประยุกต์ใช้และพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4  – อุตสาหกรรม 4.0 อธิบดีกรมเทคโนโลยีดิจิตอล สปป.ลาว กล่าวว่าบทบาทของพวกเขาคือการจัดการพัฒนาส่งเสริมและให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วประเทศ รวมทั้งกำหนดกลยุทธ์และนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล กระทรวงได้อำนวยความสะดวกให้หน่วยงานและสถาบันในการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือสำหรับการจัดการสาธารณะและการบริหารเพื่อประโยชน์สูงสุดของเทคโนโลยีดิจิตอล ได้เซ็นสัญญากับหน่วยงานเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อการเกษตรและการพัฒนาอุตสาหกรรมในสปป.ลาวตามการใช้งานของอุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวทั้งสองฝ่ายจะเผยแพร่และส่งเสริมการประยุกต์ใช้การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอลรวมทั้งแบ่งปันประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งจะใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมและความทันสมัย พร้อมกับการปรับปรุงคุณภาพการบริการและบริหารของรัฐบาล

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-thailand-agree-digital-tech-cooperation-industry-103704