สปป.ลาวและเกาหลีใต้เห็นพ้องกับการพัฒนาชนบทในอนาคต

เกาหลีใต้ตกลงในการสนับสนุน สปป.ลาวต่อในกิจกรรมการพัฒนาชุมชนในชนบทผ่านโครงการ Saemaul Undong ภายใต้การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งเกาหลี (KOICA) กับกระทรวงเกษตรและป่าไม้แห่ง สปป.ลาว MOU นี้จะร่วมกันริเริ่มโครงการพัฒนาชุมชนชนบทในสามจังหวัดภาคใต้ของ สปป.ลาว โดยสองฝ่ายจะหารือร่วมกันเกี่ยวกับความคืบหน้าโดยรวมของโครงการ การเงิน รูปแบบและโครงสร้าง เพื่อพยายามปรับปรุงชีวิตของผู้คนในชุมชนหมู่บ้านชนบท พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ เหมาะสมและยั่งยืน ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา KOICA ได้ดำเนินโครงการมาแล้วที่เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/laos-south-korea-agree-future-rural-development-96733

พ.ค.62 การลงทุนจากต่างประเทศของเมียนมา มูลค่ากว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์

รายงานของคณะกรรมการการลงทุนและบริหาร บริษัท (DICA มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีมากกกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐของปีงบประมาณ 2561-2562 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเพียง 718 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยภาคการขนส่งและการสื่อสารมียอดการลงทุนจากต่างประเทศสูงถึง 1.155 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันเมียนมากำลังพัฒนาโครงการยกเพื่อระดับการลงทุนเป็นเวลา 20 ปีเพื่อผลักดันให้มีสถานะประเทศรายได้ปานกลางให้ได้ในปี 2573 และสามารถสร้างรายได้จากแผนดังกล่าวนี้มากกว่า 220 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ คณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ได้กำหนดนโยบายการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปี 2556 โดยความร่วมมือกับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/more-than-us25-b-worth-of-foreign-investments-had-entered-myanmar-till-may

ยอดส่งออกปลาสวายไปสหรัฐอเมริกา และจีนลดลง

การส่งออกปลาสวายของปากแม่น้ำโขงไปยังสหรัฐอเมริกาและจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้ารายใหญ่ที่สุดลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยยอดนำเข้าจากจีนและฮ่องกงในเดือนมีนาคมมีมูลค่า 39.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลง 12.9% จากปีที่แล้ว ขณะที่สหรัฐลดลง 44% แม้จะยังเป็นตัวเลขที่สูงแต่ความไม่แน่นอนอย่างเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายและภาษีอาจเป็นอุปสรรค ผู้เชี่ยวชาญจึงชี้ว่าควรหาตลาดอื่นรองรับ เช่น ยุโรป ที่ช่วงหลังเริ่มนำเข้ามากขึ้น มูลค่าการส่งออกปลาประมาณ 72 ล้านดอลลาร์ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมสูงกว่าปีที่แล้ว 42% ส่วนอาเซียนในไตรมาสแรกของปีเพิ่มขึ้น 18% ในขณะที่ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเช่นกันทำให้กลายเป็นหนึ่งในผู้นำเข้า 10 อันดับแรกของปีนี้ ส่วนพื้นที่เพาะเลี้ยงปลามีเนื้อที่ถึง 1,300-1,400 เฮกตาร์โดยมีผลผลิต 380,000-400,000 ตัน โดยปีนี้ตั้งเป้าส่งออกประมาณ 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://vietnamnews.vn/economy/520068/shark-catfish-exports-to-us-china-fall.html#dCcJwwPExg6WOTfC.97

ผู้ประกอบการเวียดนามหวั่นผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐ-จีน

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา สหรัฐฯประกาศเพิ่มการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนกว่า 200 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมร้อยละ 10 ขึ้นเป็นร้อยละ 25 ทำให้จีนตอบโต้ประกาศขึ้นอัตราภาษีศุลกากรจากสหรัฐมากกว่าพันรายการ โดยบริษัทใหญ่ของเวียดนามมีมุมมองปัจจัยบวกต่อสงครามการค้าสหรัฐ-จีน เนื่องมาจากความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลทั่วโลก ส่งผลต่อธุรกิจส่งออกเวียดนามที่ได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของค่าเงินด่อง แต่หลายภาคส่วนของธุรกิจแสดงความกังวลให้ภาครัฐบาลควบคุมค่าเงินไม่ให้ผันผวนจนมากเกินไป และอีกในมุมมองหนึ่ง คือ ผู้ประกอบการเวียดนามต้องเผชิญกับคู่แข่งชาวจีนที่ลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์และการรับซื้อที่ดิน รวมไปถึงผู้ประกอบการชาวจีนที่ผลิตสินค้าในเวียดนาม สำหรับสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพื่อที่จะส่งออกไปยังสหรัฐฯ ภายใต้ฉลากของเวียดนาม.

ที่มา: https://vietnamnews.vn/economy/520036/vietnamese-businesses-fear-fallout-of-us-china-trade-war.html#hTJ3WHW3tuhibpqp.97

เมียนมาเตรียมกู้เงิน 1.4 พันล้านบาทผลิตกระแสไฟฟ้า

กระทรวงพลังงานและพลังงานของเมียนมาเตรียมกู้ยืมเงินจำนวน 1.4 พันล้านบาทจากสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน (NEDA) ของประเทศไทย เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอมากขึ้นในเขตย่างกุ้งซึ่ง ต้องเผชิญกับไฟฟ้าดับทุกวัน ระยะเวลาของโครงการคือ 2563 – 2565 โรงไฟฟ้าและสายส่งจะถูกสร้างและปรับปรุงใน ดากอง กะลาปาเหนือ และเขตฉ่วยป๊อกกันในย่างกุ้ง โดยอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 1.5% ต่อปี ระยะเวลา 30 ปี ตามข้อตกลง 50% ของมูลค่าสัญญาจะต้องใช้ซื้อสินค้าและบริการจากประเทศไทยภายใต้ระบบการประมูล

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-borrow-more-14-billion-baht-more-electricity.html

กัมพูชา-ไทยหารือการขนส่งทางรถไฟ

กัมพูชาและไทยได้เริ่มการเจรจา เกี่ยวกับการขนส่งข้ามแดนของประชาชนและสินค้า หลังจากรถไฟทั่ง 2 ประเทศเชื่อมต่อในช่วงเมษายนที่ผ่านมา จากการวิเคราะห์เชิงลึกของธุรกิจกัมพูชา ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการตรวจสอบของบริเวณชายแดนตามที่ ทั้งสองฝ่ายตกลงเริ่มการเจรจาเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการตรวจสอบสินค้าและผู้โดยสารในรถไฟ เส้นทางรถไฟสายเหนือของกัมพูชาสร้างเสร็จในเดือนสิงหาคมทอดยาวเป็นระยะทาง387 กิโลเมตรจากพนมเปญถึงปอยเปตซึ่งติดกับไทย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50604487/cambodia-and-thailand-discuss-railway-transport/

ยอดส่งออกญี่ปุ่นเพิ่ม 16%

รายงานล่าสุดขององค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) การส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 16% มูลค่าสูงถึง 558 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา การส่งออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้า รองเท้าและส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ ส่วนการนำเข้าจากญี่ปุ่นจะเป็นเครื่องจักร รถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเวชภัณฑ์ ปีที่แล้วการค้ากับญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 27.3% มีมูลค่ามากกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์ มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 17.8 ล้านดอลลาร์ ขณะที่กัมพูชานำเข้าสินค้าญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่าประมาณ 421 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50604155/exports-to-japan-rise-by-16-pct/

ปตท. รุกธุรกิจอาหารใน สปป.ลาว

บริษัท ไทย บริษัท ปตท (ลาว) จำกัด และ Zixgar Group Ltd. กำลังมองหาโอกาสทางธุรกิจอาหารในประเทศลาวโดยมุ่งไปที่นักเดินทางและพนักงานออฟฟิศซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก โดย MOU ของทั้ง 2 บริษัท มีแผนที่จะมุ่งเน้นไปที่อาหารว่าง ถือเป็นทางเลือกใหม่ในสาขาของ Amazon Café ซึ่งลูกค้าหลัก 50% เป็นนักท่องเที่ยวดังนั้นเมนูอาหารใหม่จาก Zixgar Vientiane จึ้งเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้และลูกค้าทั่วไป เช่น สลัด สปาเก็ตตี้ หรือเบอร์เกอร์ คาดว่าจะเพิ่มสาขาทั่วประเทศเป็น 15 สาขาภายในปี 2566 บริษัท ปตท. (ลาว) จำกัด เป็นบริษัทเดียวที่ได้สิทธิ์อย่างเป็นทางการใน fanzine Amazon Café ตั้งแต่ปี 2012 ส่วน Zixgar Vientiane เป็นสาขา fanzine ต่างประเทศแห่งเดียวของ Zixgar Group Ltd. ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/thai-companies-eye-food-business-opportunities-laos-96667

ผู้ผลิตพลาสติกท้องถิ่นเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงแรงจากสินค้านำเข้า

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์พลาสติกจากต่างประเทศมีราคาถูกกว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศมาก เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศไม่สามารถปรับขนาดการผลิตได้และราคาวัตถุดิบที่นำเข้าที่ราคาสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตท้องถิ่นจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและต้นทุนที่ถูกลง ปัจจุบันต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้าที่ใช้วัสดุราคาถูก เช่น ไนลอน และพลาสติกรีไซเคิล ขณะที่การผลิตในประเทศใช้วัตถุดิบใหม่จากสหรัฐอเมริกาหรือญี่ปุ่นจึงทำให้เสียเปรียบในด้านของต้นทุน ดังนั้นธุรกิจท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอดและหารายได้จากการส่งออก ปัจจุบันมีแผนจัดตั้งสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกของเมียนมาตอนบนเพื่อสนองความต้องการของธุรกิจพลาสติกในประเทศมากกว่า 6,000 แห่ง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/local-plastic-makers-face-rising-competition-imports.html

หาแหล่งทุนใหม่ เพื่อยกศักยภาพของผู้ประกอบการสตรีเวียดนามและภูมิภาคแปซิฟิก

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้รับเงินทุนกว่า 20.2 ล้านเหรียญสหรัฐ จากโครงการ We-Fi เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการสตรี ทั้งด้านการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อและการผึกอบรม ซึ่งผู้ประกอบการสตรีเวียดนามและภูมิภาคแปซิฟิก มีจำนวนราว 5,000 แห่ง ที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้ มาแล้ว 5 ปี และโครงการนี้จะมุ่งเน้นในการยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการสตรี ในด้านการให้คำปรึกษาและโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ รวมไปถึงข้อมูลทางการเงิน นอกจากนี้ ทางธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) จะดำเนินการให้เงินทุนใหม่กว่า 21.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/519905/new-financing-to-enhance-support-for-women-led-smes.html#zbMc6Hrh1r5g4cVZ.97