โรงงานประกอบรถแดวูเริ่มเปิดเมษานี้

บริษัท Daewoo Bus Myanmar Company เป็นบริษัท ร่วมทุนระหว่าง Myanmar Trade Centre และ Zyle Daewoo Commercial Vehicle Company จะเริ่มประกอบรถเมล์โดยสาร แบบชิ้นส่วนยานยนต์กึ่งสำเร็จรูป (SKD) เดือนเม.ย นี้ โดยโรงงานมีพื้นที่ 14 เอเคอร์ในเมืองมิงกะลาดอนของย่างกุ้ง โรงงานจะผลิตรถโดยสาร 15, 27 และ 45 ที่นั่ง ตามออร์เดอร์ของลูกค้า ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือดีเซล ราคารถโดยสารอยู่ที่ 85,000 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่รถมินิบัส Lestar มีราคา 45,000 เหรียญสหรัฐ ทุนการจัดตั้งอยู่ที่ 7 และ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตได้ 500 คันต่อปีและมีพนักงานมากกว่า 200 คน โรงงานมิงกะลาดอน เป็นหนึ่งในแปดของโลกที่ผลิตรถบัส Daewoo นอกจากเกาหลีและเมียนมาแล้ว Zyle Daewoo ยังมีโรงงานในจีน คอสตาริกา คาซัคสถาน ปากีสถาน ไต้หวันและเวียดนามด้วยกำลังการผลิต 15,000 คันต่อปี

ที่มา:  https://www.mmtimes.com/news/april-start-date-daewoo-factory.html

04/03/62

เมียนมาและไทยลงนามข้อตกลงการขนโดยตรงผ่ายชายแดน

เมียนมาและไทยลงนามในข้อตกลงการขนส่งข้ามแดนโดยตรงของสินค้าทั้งสองประเทศในเดือนมี.ค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและโทรคมนาคมแห่งของเมียนมา กล่าวในที่ประชุมระหว่างรองประธานาธิบดีและนักธุรกิจ ณ สมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) ซึ่งปัจจุบันการขนส่งข้ามพรมแดนต้องไปกรุงเทพเท่านั้นและจะไม่สามารถใช้ได้กับสินค้าทั้งหมด ในช่วงเวลานั้นทั้งสองฝ่ายจะตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่กำหนดก่อนส่งออก เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการตกลงขนส่งข้ามพรมแดน (GMS Cross-Border Transport Agreement) ในปี 58 ไทยเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมีมูลค่าการค้า 1.3 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเดือนต.ค-ธ.ค 61

ที่มา:  https://www.mmbiztoday.com/articles/myanmar-and-thailand-sign-direct-cross-border-transport-agreement

04/03/62

ธนาคารเพื่อการอุตสาหกรรมแห่งเกาหลีมองเห็นโอกาสในเมียนมา

ธนาคารอุตสาหกรรมแห่งสาธารณรัฐเกาหลีเป็นธนาคารที่ให้การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเกาหลีใต้ กำลังมองหาที่จะขยายการให้บริการในเมียนมา ภายหลังเลขาธิการ สมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเพิ่มการส่งออกสินค้าเกษตรและประมงไปยังเกาหลีใต้จากเมียนมา” โดยได้ยื่นใบขออนุญาตจัดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสหพันธ์กำลังวางแผนเพื่อช่วย SMEs .ในด้านเงินทุนและเทคนิคการผลิตในการส่งอกสินค้าสำเร็จรูปทดแทนการส่งออกวัตถุดิบ ปัจจุบันเมียนมามีธนาคารจากต่างประเทศทั้งสิ้น 13 ราย ที่เข้ามาให้บริการและสามารถประกอบธุรกิจทางการเงินได้เช่นเดียวกับธนาคารภายในประเทศ

ที่มา:  https://www.mmbiztoday.com/articles/industrial-bank-korea-eyeing-presence-myanmar

04/03/62

ย่างกุ้งเล็งจัดตั้งตลาดส่งออกแห่งใหม่

หัวหน้าคณะรัฐมนตรีของย่างกุ้งกล่าวว่าจะตั้งตลาดสำหรับผู้ส่งออกในพื้นที่ซึ่งสามารถเจรจาข้อตกลงการค้าในใจกลางเมืองย่างกุ้งแทนที่พื้นที่ชายแดน การประชุมประจำทุกเดือนระหว่างรองประธานาธิบดีของเมียนมาและนักธุรกิจท้องถิ่น ณ สมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) ปี 61 ที่ผ่านมาแตงโมเน่าเสียและถูกทำลายเป็นจำนวนมากในขณะทีรอการส่ง สาระสำคัญคือ ผู้ขายไม่จำเป็นต้องไปที่ชายแดน แต่พวกเขาจะทำข้อตกลงกันที่นี่แล้วส่งของตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน มูลค่าการค้าชายแดนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค 61- 15 ก.พ 62 แตะระดับ 2.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ 155 ล้านดอลลาร์ และมีความมุ่งมั่นที่จะรวมตลาดแห่งใหม่นี้เข้าไปในระเบียงเศรษฐกิจจีน – เมียนมา

ที่มา:   https://www.mmbiztoday.com/articles/yangon-build-export-market

04/03/62

ราคาของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในปีนี้กลับมาฟื้นตัว

ราคาของเม็ดมะม่วงหิมพานต์คาดว่าจะฟื้นตัวในปีนี้ในตลาดโลก และผู้ผลิตควรจะส่งเสริมความร่วมมือกันเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดไว้ จากการประชุมระหว่างสมาคมส่งเสริมการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเวียดนาม (VINACAS) และสภาส่งเสริมการส่งออกมะม่วงหิมพานต์ของอินเดีย (CEPC) ได้คาดการณ์ว่าในปีนี้ผลผลิตของมะม่วงหิมพานต์ทั่วโลกอยู่ที่ 4 ล้านตัน หากแบ่งระดับภูมิภาคพบว่า ผลผลิตมากกว่า 2 ล้านตันอยู่ในแถบภูมิภาคแอฟริกา รองลงมาเป็นประเทศอินเดีย เวียดนาม อินโดนิเซีย และกัมพูชา เป็นต้น ซึ่งการส่งออกของเวียดนามในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 350,000 ตัน มูลค่าโดยรวมกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่ามีปริมาณลดลง แต่มูลค่ากลับสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ทางหน่วยงานรัฐฯของเวียดนามได้มีการปรับปรุงคุณภาพเม็ดมะม่วงหิมพานต์และสำรวจตลาดเอเชียตะวันตกให้มีทางเลือกมากขึ้นสำหรับผู้ส่งออก

ที่มา:  https://vietnamnews.vn/economy/506481/cashew-price-to-recover-this-year.html#wcz3zDY0WBmJFAyE.97

05/03/62

รัฐบาลสปป.ลาว ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจโดยรวมของประเทศให้ดีขึ้น

สปป.ลาวได้ใช้มาตรการที่จะช่วยให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้นและให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมแก่นักลงทุนรายย่อยในการเคลื่อนไหวที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจโดยรวมของประเทศ การเข้าถึงสินเชื่อและการปกป้องนักลงทุนรายย่อยเป็น 2 ใน 11 ตัวชี้วัดที่ธนาคารโลกใช้เพื่อประเมิน ความยากง่ายในการทำธุรกิจ (EDB) ซึ่งอันดับ EDB ของสปป.ลาว ลดลง 13 อันดับ เป็นอันดับที่ 154 ในปีนี้จากทั้งหมด 190 ประเทศ รัฐบาลกำลังพยายามยกระดับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อยกระดับและทำการลงทุนและการค้าที่ง่ายและโปร่งใสที่สุด

ที่มา :  http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt.php

05/03/62

ประธานาธิบดีเกาหลีใต้เดินทางเยือนกัมพูชาในวันที่ 14-16 มี.ค 62

ประธานาธิบดี Moon Jae-in ชาวเกาหลีใต้จะเดินทางไปเยือนกัมพูชาเป็นเวลาสามวันตั้งแต่วันที่ 14-16 มี.ค 62 การเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งและขยายความร่วมมือทวิภาคีตามที่โฆษกกระทรวงการต่างประเทศและ Ket Sophann กล่าวในระหว่างการเยือนของท่านประธานาธิบดีจะไปเยี่ยมชมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนโรดมสีหมุนีและทูลขอความเห็นชอบจากผู้นำที่สำคัญของกัมพูชา ในขณะเดียวกันประธานาธิบดีจะจัดการหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและลงนามในเอกสารจำนวนหนึ่งมันจะเป็นการเยือนครั้งแรกของประธานาธิบดี Moon Jae-in ที่กัมพูชา

ที่มา: http://en.freshnewsasia.com/index.php/en/localnews/13218-2019-03-04-11-31-45.html

05/03/62

สปป.ลาวเปิดศูนย์บริการธุรกิจ SME ณ หลวงพระบาง

สภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว (LNCCI) เปิดสาขาของศูนย์บริการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ใน 8 จังหวัดภาคเหนือของสปป.ลาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและให้บริการด้านเทคนิค รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาองค์กรในด้านต่าง ๆ เช่นการเริ่มต้นธุรกิจการ ส่งเสริมผู้ประกอบการการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับปรุงคุณภาพการพัฒนานวัตกรรมและความร่วมมือทางธุรกิจ และยังให้บริการที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน เช่นการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจ ในลำดับความสำคัญมาตรฐานอาเซียนและการเข้าถึงตลาด ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าที่มีประสบการณ์จากกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ที่ศูนย์ยังให้บริการธุรกิจและเริ่มต้นด้วยการปรับปรุงใหม่เกี่ยวกับการเชื่อมต่อ SME ผ่านการสัมมนาและการฝึกอบรมอีกด้วย

ที่มา :  http://annx.asianews.network/content/sme-service-centre-opens-luang-prabang-92506

04/03/62

กลุ่มทุนจีนและญี่ปุ่นสนใจลงทุนในยะไข่

แม้จะมีปัญหาสิทธิมนุษยชนจนทำให้ประเทศตะวันตกหันหลังให้กับรัฐยะไข่ การพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐอาจเป็นวิธีหนึ่งในการลดความขัดแย้งได้ โดยการสนับสนุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้รัฐยะไข่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีเส้นทางการขนส่งสู่จีน จากมหาสมุทรอินเดีย แต่การลงทุนค่อนข้างจำกัด ส่วนใหญ่เป็นโครงการ Shwe Gas นอกชายฝั่งของแดวู การพัฒนาท่อส่งน้ำมันและก๊าซของจีนที่วิ่งไปยังมณฑลยูนนานและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนชายหาดทางตอนใต้เช่น งาปาลี ตามรายงานจีนและญี่ปุ่นมีความสนใจมากที่สุดในการลงทุนในยะไข่ตามด้วยสิงคโปร์และเกาหลี โดยเฉพาะญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน และไฟฟ้า ส่วนจีนสนับสนุนในส่วนของเศรษฐกิจพิเศษจอก์พยู จากรายงานการวิจัยพบว่า โรงแรม การท่องเที่ยว การเกษตร ปศุสัตว์ การประมงและภาคพลังงานดึงดูดความสนใจของนักลงทุนมากที่สุด

ที่มา:   https://www.mmtimes.com/news/chinese-japanese-investors-show-interest-rakhine.html

03/03/62

บริษัท เครือของเมโทรในเมียนมา กู้เงินจาก IFC 20 ล้านเหรียญสหรัฐ

บริษัท ในเครือเมียนมาของกลุ่มค้าปลีกเยอรมัน Metro AG กู้เงินจำนวน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ จากบริษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) เพื่อเพิ่มรายได้ของการเกษตรรวมถึงการปรับปรุงคุณภาพและผลผลิต ส่งผลดีต่อผู้ซื้อและผู้บริโภค และเพิ่มศักยภาพการส่งออกของภาคธุรกิจการเกษตร เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจขนาดเล็กและผู้ให้บริการตลอดห่วงโซ่คุณค่า ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์มองเห็นความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นจากผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งเช่นเดียวกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะการมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” (Special Economic Zone : SEZ) ที่เป็นส่วนผลักดันสำคัญ ทั้งนี้นักวิเคราะห์กล่าวว่าการลงทุนของ IFC นั้นน่าจะกระตุ้นให้ผู้ค้าปลีกรายอื่น ๆ ในเริ่มสนใจในเมียนมามากขึ้น

ที่มา:   https://www.mmtimes.com/news/metros-myanmar-subsidiary-secures-us20m-ifc-loan.html

03/03/62