ไทยลงขัน แอคเม็กส์ 200 ล้านดอลลาร์

ครม.ไฟเขียว 200 ล้านดอลลาร์ตั้งกองทุนแอคเม็กส์ภายใน 5 ปี ประชุมรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบงบประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ เพื่อจ่ายสมทบกองทุนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) เพื่อระดมทุนโครงการต่างๆ ในภูมิภาคภายใต้แผนแม่บท ACMECS โดยกองทุนที่จัดตั้งขึ้นมีขนาด 500 ล้านดอลลาร์ และจะจัดขึ้นภายใน 5 ปี (2562-2567) เป็นการระดมทุนประเทศสมาชิกและประเทศอื่นๆ ที่เป็นภาคีภายนอก โดยไทยในฐานะผู้ริเริ่ม ครม.อนุมัติงบ 40 ล้านดอลลาร์ ส่วนอีก 4 ประเทศจะสนับสนุนเงินลงทุนรวมกัน 100 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อีก 200 ล้านดอลลาร์ที่เหลือเป็นการสนับสนุนจากภาคีภายนอก เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งหากประเทศใดเข้ามาระดมทุนร่วมกันก็จะมีการตั้งกองทุนย่อยโดยใช้ชื่อประเทศเหล่าๆ นั้นเข้ามาประกอบเป็นชื่อลงทุน

ที่มา: https://inews.bangkokbiznews.com/read/372667

19/6/2562

อุตสาหกรรมป่าไม้เวียดนามเกินดุลการค้ามากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีแรก

จากรายงานของกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่าภาคอุตสาหกรรมป่าไม้เวียดนามในช่วง6 เดือนแรกของปี 2562 เกินดุลการค้าอยู่ที่ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หากจำแนกออกเป็นมูลค่าการส่งออกราว 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยการส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากความต้องการสูงของตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป จีน และเกาหลีใต้ เป็นต้น แต่เวียดนามยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคทั้งด้านสภาพแวดล้อมทางอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานรัฐบาลเวียดนามดำเนินผลักดันในการพัฒนาพื้นที่ป่า ไม้ เพื่อยกระดับคุณภาพของป่าไม้ในการส่งออก รวมไปถึงปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจอีกด้วย

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/521780/forest-industry-posts-trade-surplus-of-more-than-4b-in-h1.html#F2A2ROhCvCZqKsSq.97

แนวโน้มราคาทองคำในประเทศสูงขึ้น

ราคาทองคำในประเทศจะยังคงได้รับแรงหนุนจากความไม่แน่นอน เช่น สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ตลาดหุ้นที่ผันผวนและการลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของธนาคารกลาง ราคาทองคำในประเทศจะยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปัจจุบันที่ระดับ 1 ล้านจ้าดต่อตัน เมื่อเทียบกับราคาตลาดโลกอยู่ที่ 1,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์  (1 tic เท่ากับ 16.329 กรัม) ราคาปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. ที่ 105,000 จ้าดต่อตัน โดยทองคำที่ซื้อขายในตลาดโลกจะได้รับการสนับสนุนจากการประชุมสุดยอด G20 ที่กำลังจะจัดขึ้น ณ โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 28 – 29 มิ.ย.62 นี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/upward-trend-seen-local-gold-prices.html

ธนาคารแห่งประเทศไทยลงนาม MOU ธนาคารแห่งสปป.ลาวกำกับดูแลสถาบันการเงิน

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป. ลาว ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจทำหน้าที่เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับความร่วมมือด้านการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจอยู่ในทั้ง 2 ประเทศให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานการกำกับดูแลสถาบันการเงินสากล โดยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการที่ทั้ง 2 หน่วยงานจะปฏิบัติตามเพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่มากขึ้นในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล การตรวจสอบสถาบันการเงิน การจัดตั้ง supervisory colleges และการบริหารจัดการสถาบันการเงินในภาวะวิกฤติร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ไทย 7 แห่งดำเนินงานในสปป.ลาว จัดตั้งเป็นบริษัทลูก ของธนาคารต่างประเทศ และอีก 6 แห่งจัดตั้งเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ (รวมจำนวน 8 สาขา) และมีสำนักงานผู้แทนของธนาคารพาณิชย์สปป.ลาวเปิดดำเนินการในประเทศไทยจำนวน 1 แห่ง

ที่มา : http://www.nationmultimedia.com/detail/breakingnews/30371651

สินเชื่อเพื่อช่วยในการจัดหาแหล่งน้ำในภาคเหนือของพนมเปญ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วกระทรวงการคลังได้ลงนามในสัญญาเงินกู้สัมปทานกับธนาคารเพื่อการลงทุนยุโรป เพื่อช่วยเหลือด้านการเงินแก่ระบบบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของกรุงพนมเปญ โดยจะได้รับเงินจำนวน 100 ล้านดอลลาร์ โรงงานบำบัดน้ำซึ่งตั้งอยู่ในเขตชุมชน Bak Khaeng ของเขต Russey Keo จะเสียค่าใช้จ่ายรวมที่ 247 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยรวมวงเงินกู้ 85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสำนักงานพัฒนาฝรั่งเศส อีกทั้งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจำนวน 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้รับจากศูนย์การลงทุนของสหภาพยุโรป และอีกจำนวน 47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการประปาของพนมเปญ โดยโครงการดังกล่าวจะเริ่มก่อสร้างในปีนี้ และคาดว่าจะเสร็จในปี 2565 โรงงานบำบัดน้ำจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 195,000 ลูกบาศก์เมตรของน้ำสะอาดต่อวันซึ่งสูงกว่าตัวเลขการผลิตในปัจจุบัน 560,000 ลูกบาศก์เมตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50617341/loan-to-help-finance-water-plant-in-northern-phnom-penh/

นักลงทุนไทยแสวงหา ความผูกพันในกัมพูชา

นักธุรกิจและนักลงทุนจากไทยจะแสวงหาโอกาสการลงทุนในกัมพูชา ในระหว่างการประชุมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับนักธุรกิจชาวกัมพูชาในพนมเปญ นายงิ่งเม้งเทค ผู้อำนวยการใหญ่หอการค้ากัมพูชากล่าวเมื่อวานนี้ว่า มีบริษัทจากไทยประมาณ 40 บริษัทจะสำรวจความร่วมมือกับพันธมิตรในกัมพูชาระหว่างการประชุมในสัปดาห์นี้ รัฐบาลกัมพูชาและไทยเห็นพ้องที่จะผลักดันการค้าทวิภาคีสู่ระดับ 15 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 63 ตัวเลขจากสถานทูตไทยในกัมพูชาแสดงให้เห็นว่าการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศมีมูลค่าถึง 8.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 61 เพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับปี 60 การส่งออกของไทยไปยังกัมพูชามีมูลค่า 7.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 61

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50617337/thai-investors-seek-ties-in-kingdom/

เวียดนามมองว่าตลาดภูมิภาคแอฟริกามีศักยภาพในการค้าระหว่างประเทศ

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าตลาดในภูมิภาคแอฟริกามีความต้องการสินค้าของเวียดนามสูง ซึ่งทางกระทรวงฯแนะนำให้ทางผู้ประกอบการเวียดนามควรหันมาทำการค้ากับตลาดใหม่ โดยเฉพาะในภูมิภาคแอฟริกามากยิ่งขึ้น และเวียดนามยังสามารถจัดหาวัตถุดิบสำคัญจากแอฟริกา ได้แก่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ฝ้าย และไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ เวียดนามส่งออกสินค้าสำคัญไปยังแอฟริกา ได้แก่ ข้าว สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ และส่วนประกอบ เป็นต้น แม้ว่าภูมิภาคนี้น่าสนใจในการค้าการลงทุนก็ตาม แต่เวียดนามต้องเผชิญกับต้นทุนขนส่งค่อนข้างสูง และโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องพัฒนามากยิ่งขั้น จากตังเลขสถิติ ในปี 61 การค้าระหว่างเวียดนาม-แอฟริกามีมูลค่ารวมประมาณ 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/521708/africa-has-high-trade-potential-with-vn.html#UvsxbXVMfOI3EWwO.97

ปีงบประมาณ 61-62 เมียนมา ขาดดุลการค้า 1.05 พันล้านเหรียญ

ตั้งแต่ ต.ค. ปี 62 ถึง 14 มิ.ย.ปีนี้ มีมูลค่าการส่งออก 11.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่ารวม 12.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการค้าต่างประเทศรวมอยู่ที่ 24.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การขาดดุลการค้าของปีนี้แสดงให้เห็นว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 60-61 ที่มีมูลค่ามากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์สัตว์ การประมง แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ สินค้าอุตสาหกรรมขณะที่การนำเข้าสินค้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค ปัจจุบันเมียนมากำลังพยายามเพิ่มการส่งออกและลดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเพื่อลดการขาดดุลการค้า

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-06/22/c_138164290.htm

กระทรวงการเงิน สปป.ลาว ตั้งเป้าหมายการปฏิรูปผ่านโครงการการเงินแห่งรัฐ

กระทรวงการเงินสปป.ลาว เชื่อว่าการจัดการระบบการเงินแห่งรัฐจะมีประสิทธิภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้มากขึ้น ผ่านโครงการปรับปรุงการบริหารระบบการเงินแห่งรัฐให้เป็นระบบทันสมัย (E-FITS) และโครงการปฏิรูปการบริหารการเงินแห่งรัฐ (EU-WB TF) ทั้ง 2 โครงการมุ่งเน้นการปฏิรูปเพื่อให้มั่นใจการบริหารการการเงินแห่งรัฐ ซึ่งการดำเนินโครงการจะช่วยปรับปรุงการบริหารจัดการของระบบภาษีและดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สิ่งนี้จะปรับปรุงแผนงบประมาณและสาขา อื่น ๆ ของระบบการจัดการทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อบูรณาการการจัดการการเงินแห่งรัฐเข้ากับระบบการชำระเงินของประเทศ โครงการสำคัญหลายโครงการได้ริเริ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการจัดการด้านการเงินที่ทันสมัย เมื่อต้นปีที่ผ่านมากระทรวงประกาศใช้ระบบข้อมูลการจัดการสรรพากร (TAXRIS) เป็นการลงทุนของรัฐ ในการจัดการรายได้ให้ทันสมัยตามแผนกลยุทธ์และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติระดับสากลในด้านความรับผิดชอบและความโปร่งใส ด้วยแผนการที่แม่นยำในการจัดการระบบการเงินแห่งรัฐ

ที่มา :http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry_targets_145.php

ไม่มีการหลีกเลี่ยงภาษีใน SSEZ

ท่ามกลางการโต้เถียงเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการหลีกเลี่ยงทางภาษีที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ออกมาแถลงระบุว่าไม่พบ บริษัท จีนที่ใช้ “SSEZ” ในการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรในการขนส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา ตามที่สำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สหรัฐฯได้ปรับ บริษัท หลายแห่งที่ส่งออกสินค้าผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนที่ตั้งอยู่ในกัมพูชาเพื่อเลี่ยงผลกระทบที่เกิดจากการกีดกันทางการค้า หรือการตั้งกำแพงทางภาษีระหว่าง สหรัฐ และจีน โดย “SSEZ” ก่อตั้งขึ้นในปี 51 บนพื้นที่กว่า 1,113 เฮกตาร์ ตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือสีหนุวิลล์ประมาณ 13 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกัมพูชา ซึ่งโรงงานที่อยู่เขตเศรษฐกิจนี้ทำการผลิต สิ่งทอ ,รองเท้า ,สินค้าท้องเที่ยว ,ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ,อุปกรณ์ไฟฟ้า ,ยาง ,ชิ้นส่วนรถยนต์ ,เฟอร์นิเจอร์ และ อื่นๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50616995/no-tax-avoidance-in-ssez-commerce-ministry/