การค้าระหว่างมณฑลยูนนานและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพิ่มขึ้น 5.6 %ในปี 61

ปริมาณการค้ารวมระหว่างมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนกับ 5 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพิ่มขึ้น 5.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในปี 61 โดยมณฑลยูนนานจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาของทุกประเทศและเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงทุกด้าน และจะทำงานร่วมกับประเทศในกลุ่ม GMS เพื่อกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจสีเขียวในระดับภูมิภาคและส่งเสริมการก่อสร้าง “เส้นทางสายไหมดิจิตอล” และสวนอุตสาหกรรม อีกทั้งประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่สำคัญในการเชื่อมโยงจีนกับประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางเดินรถไฟระหว่างจีน – สปป.ลาว – ไทยจะส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างทั้ง3 ประเทศและอำนวยความสะดวกในการลงทุนจากกลุ่มประเทศ

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-06/11/c_138131860.htm

นักลงทุนเกาหลีมองหาโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน

ตามรายงานของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ (HSBC) เปิดเผยว่านักลงทุนชาวเกาหลีมองหาโอกาสในการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนในเวียดนาม เนื่องมาจากเวียดนามและเกาหลีใต้ร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเวียดนามจะได้รับองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีจากเกาหลีใต้จากการลงทุนโดยตรงต่างประเทศ (FDI) และการฝึกอบรมบุคลากรอีกด้วย ซึ่งทางรัฐบาลเวียดนามได้ออกกฎหมายเพื่อเอื้ออำนวยต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ได้แก่ การลดภาษีสำหรับโครงการพลังงานทดแทน เป็นต้น จากสถิติการใช้พลังงานไฟฟ้าเวียดนาม คาดว่าเวียดนามจะมีการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ในแต่ละปี ทางด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของเกาหลีใต้ แสดงให้เห็นว่าเวียดนามเป็นแหล่งการลงทุนของเกาหลีใต้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.5 ของการลงทุนทั้งหมดในอาเซียน รองลงมาสิงค์โปรร้อยละ 25.6 ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/521081/korean-investors-eye-investment-in-renewable-energy.html#r1lluvQ43TuExXjb.97

สามด่านค้าชายแดนหลักของระเบียงเศรษฐกิจจีน – เมียนมา

คณะกรรมการกลางเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน (BECZ) ตัดสินใจเลือกพื้นที่สำหรับโซนหลักสำหรับการค้าชายแดนของระเบียงเศรษฐกิจจีน – เมียนมา ในมูเซและชินฉ่วยฮ่อ (Chin Shwe Haw) ภูมิภาคทางตอนเหนือในรัฐฉาน Kan Pite Tee ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งตอนนี้มีเพียงบริษัทของเมียนมาเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมประมูลแม้ว่านักลงทุนต่างชาติยังสามารถเข้าร่วมได้โดยถือหุ้นไม่เกิน 35% เพราะอาจถูกครอบงำจากทุนมหาอำนาจอย่างจีนและการถูกแย่งตำแหน่งงานของคนในพื้นที่

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/three-locations-identified-china-myanmar-economic-corridor.html

Angkor Enterprise ได้รับยอดขายตั๋วมากกว่า 50 ล้านดอลลาร์

กัมพูชามีรายรับมากกว่า 50 ล้านดอลลาร์ จากการขายตั๋วไปยังอุทยานโบราณคดีอังกอร์ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งลดลง 8.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากเดือน ม.ค-พ.ค ปีนี้อังกอร์เอ็นเตอร์ไพรส์ขายบัตรโดยสารทั้งหมด 1.12 ล้านใบ แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งสร้างรายได้มากกว่า 50.31 ล้านดอลลาร์ ลดลงจาก 6.17 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นักท่องเที่ยวชาวจีนยังคงเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่มาเยี่ยมชมนครวัด ตามด้วยนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักรและเกาหลีใต้  ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมากัมพูชา ต้อนรับนักท่องเที่ยว 2.4 ล้านคน เพิ่มขึ้น 11.1 % จากปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/angkor-enterprise-receives-more-50m-ticket-sales

ติดฉลากสินค้าภาษาเมียนมา

คณะกรรมการกลางเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของเมียนมา ได้ออกประกาศ 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศฯ ฉบับที่ 1/2561 ลงวันที่ 26 ต.ค61 ว่าด้วยการกำหนดสินค้าที่ต้องติดฉลากและคำแนะนำในการใช้สินค้าเป็นภาษาเมียนมา และประกาศฯ ฉบับที่ 1/2562 ลงวันที่ 17 ม.ค 62 ว่าด้วยการกำหนดแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการติดฉลากสินค้าภาษาเมียนมา กำหนดประเภทสินค้าที่ต้องติดฉลากเป็นภาษาเมียนมา ใน 8 กลุ่มสินค้า ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ในครัวเรือน สินค้าสำหรับเด็ก เครื่องมือเทคโนโลยีและการสื่อสาร ยาและอาหารเสริม สารเคมี เครื่องสำอาง อุปกรณ์อาบน้ำ เครื่องมือทางการเกษตรและอุปกรณ์ออกกำลังกาย ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 15 มี.ค 63 เป็นต้นไป

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/nnd/3000105

สปป.ลาว-ติมอร์เลสเต กระชับความสัมพันธ์ความร่วมมือ

สปป.ลาวและติมอร์ – เลสเตได้ตกลงที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ด้านความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในขณะที่มองหาศักยภาพใหม่สำหรับการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สองฝ่ายได้เน้นความสัมพันธ์ทวิภาคีและความร่วมมือที่มีอยู่ระหว่างทั้ง 2 ประเทศ เน้นการเยี่ยมชมซึ่งกันและกันโดยผู้นำประเทศและการสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือกันว่าความร่วมมือทวิภาคีด้านการค้าและการลงทุนยังคงมีอยู่อย่างจำกัด และตกลงที่จะส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องโดยให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ การขนส่งสินค้า แรงงาน การท่องเที่ยว การฝึกอบรมสายอาชีพ และการแลกเปลี่ยนระหว่างธุรกิจกับหอการค้าและอุตสาหกรรม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_timor_133.php

PPC Bank และ IFC ร่วมกันช่วยเหลือ SMEs

PPC Bank ซึ่งตั้งอยู่ในเกาหลีใต้ ได้ทำสัญญากับ International Finance Corporation (IFC) เพื่อส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจขนาดเล็กภายในกัมพูชา ช่วยอำนวยความสะดวกในการเติบโต และสร้างงานในกัมพูชา ภายใต้การเป็นพันธมิตรใหม่ โดย PPC Bank จะใช้ศูนย์กระจายความเสี่ยงของ IFC เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) โดยให้ครอบคลุมสินเชื่อที่ให้แก่ SMEs และลดความเสี่ยง ในขณะเดียวกันได้ให้ PPC Bank บริการลูกค้าได้มากขึ้น และรองรับการเติบโตของธุรกิจ นอกเหนือจากการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนที่ครอบคลุมแล้ว IFC จะให้บริการเป็นที่ปรึกษาโดยออกแบบสินเชื่อมาเพื่อขยายขีดความสามารถของ PPC Bank เพื่อการขยายสินเชื่ออย่างมั่นใจ ไปยังองค์กรที่เติบโตมากขึ้น โดยในกัมพูชามี SMEs อยู่ประมาณ 50,000 ราย คิดเป็น ร้อยละ 97 ที่มีพนักงานน้อยกว่า 10 คนจึงจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50612499/ppcbank-and-ifc-team-up-to-help-smes/

เวียดนามยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่จัดหาชิ้นส่วนประกอบในประเทศอยู่ในระดับต่ำ

ตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) เปิดเผยว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์เวียดนามมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่การจัดหาชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ยังคงอยู่ในระดับต่ำ จากข้อมูลสถิติระบุว่า ในปี 60-61 เวียดนามมีรถยนต์ที่ประกอบในประเทศประมาณ 250,000-260,000 คัน ซึ่งส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา และอเมริกากลาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อัตราการใช้ในประเทศ (localization rate) ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ ด้วยเหตุนี้ ทางกระทรวงฯ จึงเน้นในการพัฒนา/ส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ และผู้ประกอบการให้สามารถยกระดับการผลิต รวมไปถึงหาประโชยน์จากการ สนับสนุนนโยบายของภาครัฐบาล นอกจากนี้ ทางคณะผู้แทนการค้าต่างประเทศญี่ปุ่น (JETRO) เผยว่าบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่พบปัญหาในการขยายธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์เวียดนาม เนื่องมาจากการผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ยานยนต์ในประเทศมีอัตราที่น้อยเกินไป ทำให้เวียดนามจำเป็นต้องนำเข้าชิ้นส่วน อะไหล่ยานยนต์ และยังคงเป็นสาเหตุที่ทำให้การลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์เวียดนามลำบาก ในช่วงระยะกลางจนถึงระยะยาว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/520933/automobile-industry-develops-but-local-part-supply-remains-low-says-moit.html#ugB6XIBPZu3oxffS.97

อุตสาหกรรมศึกษาต่างชาติ มองเห็นโอกาสในเมียนมา

นับตั้งแต่รัฐบาลได้ออกกฎระเบียบสำหรับการจัดตั้งสถาบันการศึกษา อุตสาหกรรมการศึกษาเอกชนในประเทศสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ให้อุตสาหกรรมการศึกษาต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในปีที่ผ่านมา สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) ได้หารือกับผู้ตัวแทนจากสถานศึกษาเอกชนจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดา ในการลงทุนในอุตสาหกรรมการศึกษา จากข้อมูลพบว่าปัจจุบันเศรษฐกิจที่ดีขึ้นทำให้มีความต้องการแรงงานฝีมือที่ผ่านการอบรมและคุณภาพการศึกษาที่สูงขึ้น จากข้อสรุปของ UMFCCI อุตสาหกรรมการศึกษาเอกชนจากต่างประเทศสามารถจัดตั้งโรงเรียนขั้นพื้นฐาน ทางเทคนิค อาชีวศึกษา และการฝึกอบรม รวมถึงระดับอุดมศึกษา นับตั้งเปิดเมียนมาได้ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมอย่าง ธนาคาร การประกันภัย การศึกษา รวมถึงการค้าและค้าปลีก ฯลฯ เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/foreign-education-providers-seek-opportunities-myanmar.html

รัฐบาลสปป.ลาว ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีที่ดิน

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะมีบทบาทมากขึ้นในการอนุมัติการเช่าที่ดินและการสัมปทานเพื่อควบคุมการจ่ายภาษีที่ดินให้ดียิ่งขึ้น หนึ่งในความสำเร็จในพื้นที่นี้คือการสร้างระบบการจัดการที่ดินที่ทันสมัย ด้วยระบบที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเช่าที่ดินและโครงการสัมปทานทั่วประเทศ โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามการเช่าที่ดินและโครงการสัมปทาน 438 แห่งทั่วประเทศ ดำเนินการตรวจสอบเพื่อจำกัดจำนวนโครงการสัมปทานที่ดินที่ไม่แสดงสัญญาณของการพัฒนา สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนต้องการครอบครองที่ดินและชะลอการจ่ายภาษี เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพได้ปรับปรุงแผนแม่บทการจัดการที่ดินแห่งชาติ รัฐบาลได้อนุมัติ BCEL ซึ่งจัดตั้งระบบการชำระภาษีที่ดิน ระบบนี้ช่วยให้ผู้ถือสิทธิการใช้ที่ดินจ่ายภาษีที่ดินโดยใช้แอปพลิเคชันของธนาคาร รัฐบาลเชื่อว่าหากประชาชนพบว่าการจ่ายภาษีง่ายขึ้นการเก็บรายได้จะเพิ่มขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_%20to_131.php