มัณฑะเลย์เร่งแก้ปัญหายางคารายากัมตกต่ำ

รัฐบาลของมัณฑะเลย์กำลังหาแนวทางกับผู้ผลิตหรือเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาราคาคารายากัมที่ต่ำลง คารายากัม (Karaya gum) คือยางธรรมชาติจากพืชป่า อย่างต้น Sterculia เป็นส่วนผสมที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตอาหาร หมากฝรั่งและยาหลายประเภท โดยทางการมัณฑะเลย์ต้องการให้ผลิตจากอุตสากรรมท้องถิ่นเติบโตและเข้มแข็ง สมาคมผู้ผลิตยางคารายากัมของเมียนมาเห็นว่าอุตสาหกรรมและเกษตรกรจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเจาะตลาดต่างประเทศ ราคายางคารายากัมอยู่ที่ 15,000 จ๊าด (9.90 เหรียญสหรัฐ) ถึง 40000 จ๊าด ต่อ 1.63 กิโลกรัม ในปี 60 ราคาเฉลี่ย 80,000 จ๊าด และลดลง 50,000 จ๊าด ในปี 61 ตลาดส่งออกหลักคือ จีน และประเทศอื่น ๆ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ที่มา:  https://www.mmtimes.com/news/mandalay-govt-seeks-solution-gum-karaya-price-slump.html

05/03/62

โครงการเลี้ยงปลาดุกอิรวดี คาดรายได้ถึง150 ล้านดอลล่าร์ต่อปี

โครงการเพาะเลี้ยงปลาดุกบนพื้นที่ 900 เอเคอร์ในเมืองป้านตะนอ เขตอิรวดี ด้วยเงินทุนเริ่มต้น 200 พันล้านจ๊าด แผนการจำหน่าย 150,000 ตัว คาดว่าจะสร้างรายได้ 150 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ดำเนินการโดย บริษัท โกลบอลเอิร์ธ จำกัด (มหาชน) จัดตั้งโดยสหพันธ์ประมงเมียนมา ใช้เวลาก่อสร้างฟาร์มและโรงงานเป็นระยะเวลา 8 เดือน ประกอบด้วยโรงเพาะฟัก ฟาร์มเลี้ยงปลา โรงงานอาหารสัตว์ ห้องเย็นและบ้านพักพนักงาน และบริษัทจะเชิญชวนผู้ถือหุ้นเมื่อโครงเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/ayeyawady-catfish-farming-project-to-earn-150-m-yearly

05/03/62

การแบ่งเขตชายแดนกับสปป.ลาว ยังคงไม่แน่นอน

กัมพูชาและสปป.ลาว เริ่มแบ่งเขตชายแดน 540 กม. ในปี 43 จนถึงขณะนี้รัฐบาลกัมพูชาได้กำหนดเขตแดนกับสปป.ลาวเป็นร้อยละ 84 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 16 อาจเกิดขึ้นได้หากรัฐบาลสปป.ลาว ไม่ขอแผนที่เก่าจากฝรั่งเศส จากนั้นได้ตกลงที่จะพิจารณาความเป็นไปได้ในการเปิดด่านชายแดนเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการเคลื่อนไหวของประชาชนระหว่างสองประเทศ รวมถึงในระหว่างการประชุมทั้งสองฝ่ายได้ให้ความร่วมมือในด้านความมั่นคงในปี 61 และให้คำมั่นว่าจะจัดระเบียบด้านความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยตามแนวชายแดนในปี 62

ที่มา :   https://www.khmertimeskh.com/50584249/border-demarcation-with-laos-remains-precarious/

06/03/62

สปป.ลาวมุ่งมั่นสู่เส้นทางการเติบโตสีเขียว

สปป.ลาวมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่เศรษฐกิจก็ต้องพึ่งพาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมากซึ่งวันหนึ่งจะหมดลง รัฐบาลกำลังทำงานเพื่อปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจเพื่อให้ฐานเศรษฐกิจมีความหลากหลาย โดยจุดประสงค์หลักของยุทธศาสตร์คือเพื่อให้แน่ใจว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและครอบคลุมการมีส่วนร่วมของประชาชนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมที่สะอาดอย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังช่วยให้สามารถสร้างขีดความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้จำเป็นต้องปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถของรัฐบาลในการบริหารการลงทุนในโครงการ การส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศภาวะ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาดัชนีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็มีความสำคัญเช่นกัน

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_commits_55.php

06/03/62

เงินทุนจำนวนมากเพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตสินค้าการท่องเที่ยว

กัมพูชาได้เห็นการลงทุนในการผลิตสินค้าการท่องเที่ยว ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงต้นปีนี้ เนื่องจากตัวเลขของสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา (CDC) เผยการมอบเงินช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตถุง คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของโครงการลงทุนทั้งหมด เนื่องจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีของสินค้าเดินทางจากกัมพูชา ที่ได้รับจากสหรัฐอเมริกาภายใต้ระบบการตั้งค่าทั่วไป (GSP) และแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของบริษัท ผู้ผลิตทั่วโลกที่ออกจากจีน เนื่องจากต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น CDC ได้อนุมัติการลงทุนไปแล้วทั้งสิ้น 45 โครงการตั้งแต่เดือนม.ค ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งเป็นโครงการผลิตถุง เงินลงทุนสะสมสำหรับ 21 โครงการมีมูลค่าประมาณ  100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหากทุกโครงการเป็นจริงงาน 31,951 งานจะถูกสร้างขึ้น จากข้อมูลของโมนิก้ามูลค่าการส่งออกสินค้าการท่องเที่ยวของกัมพูชา อยู่ที่ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้ว ซึ่ง 350 ล้านดอลลาร์นั้นถูกส่งออกไปยังตลาดสหรัฐ

ที่มา: https://www.phnompenhpost.com/business/big-rise-funds-travel-goods-manufacturing

06/03/62

โรงงานประกอบรถแดวูเริ่มเปิดเมษานี้

บริษัท Daewoo Bus Myanmar Company เป็นบริษัท ร่วมทุนระหว่าง Myanmar Trade Centre และ Zyle Daewoo Commercial Vehicle Company จะเริ่มประกอบรถเมล์โดยสาร แบบชิ้นส่วนยานยนต์กึ่งสำเร็จรูป (SKD) เดือนเม.ย นี้ โดยโรงงานมีพื้นที่ 14 เอเคอร์ในเมืองมิงกะลาดอนของย่างกุ้ง โรงงานจะผลิตรถโดยสาร 15, 27 และ 45 ที่นั่ง ตามออร์เดอร์ของลูกค้า ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือดีเซล ราคารถโดยสารอยู่ที่ 85,000 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่รถมินิบัส Lestar มีราคา 45,000 เหรียญสหรัฐ ทุนการจัดตั้งอยู่ที่ 7 และ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตได้ 500 คันต่อปีและมีพนักงานมากกว่า 200 คน โรงงานมิงกะลาดอน เป็นหนึ่งในแปดของโลกที่ผลิตรถบัส Daewoo นอกจากเกาหลีและเมียนมาแล้ว Zyle Daewoo ยังมีโรงงานในจีน คอสตาริกา คาซัคสถาน ปากีสถาน ไต้หวันและเวียดนามด้วยกำลังการผลิต 15,000 คันต่อปี

ที่มา:  https://www.mmtimes.com/news/april-start-date-daewoo-factory.html

04/03/62

เมียนมาและไทยลงนามข้อตกลงการขนโดยตรงผ่ายชายแดน

เมียนมาและไทยลงนามในข้อตกลงการขนส่งข้ามแดนโดยตรงของสินค้าทั้งสองประเทศในเดือนมี.ค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและโทรคมนาคมแห่งของเมียนมา กล่าวในที่ประชุมระหว่างรองประธานาธิบดีและนักธุรกิจ ณ สมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) ซึ่งปัจจุบันการขนส่งข้ามพรมแดนต้องไปกรุงเทพเท่านั้นและจะไม่สามารถใช้ได้กับสินค้าทั้งหมด ในช่วงเวลานั้นทั้งสองฝ่ายจะตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่กำหนดก่อนส่งออก เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการตกลงขนส่งข้ามพรมแดน (GMS Cross-Border Transport Agreement) ในปี 58 ไทยเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมีมูลค่าการค้า 1.3 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเดือนต.ค-ธ.ค 61

ที่มา:  https://www.mmbiztoday.com/articles/myanmar-and-thailand-sign-direct-cross-border-transport-agreement

04/03/62

ธนาคารเพื่อการอุตสาหกรรมแห่งเกาหลีมองเห็นโอกาสในเมียนมา

ธนาคารอุตสาหกรรมแห่งสาธารณรัฐเกาหลีเป็นธนาคารที่ให้การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเกาหลีใต้ กำลังมองหาที่จะขยายการให้บริการในเมียนมา ภายหลังเลขาธิการ สมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเพิ่มการส่งออกสินค้าเกษตรและประมงไปยังเกาหลีใต้จากเมียนมา” โดยได้ยื่นใบขออนุญาตจัดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสหพันธ์กำลังวางแผนเพื่อช่วย SMEs .ในด้านเงินทุนและเทคนิคการผลิตในการส่งอกสินค้าสำเร็จรูปทดแทนการส่งออกวัตถุดิบ ปัจจุบันเมียนมามีธนาคารจากต่างประเทศทั้งสิ้น 13 ราย ที่เข้ามาให้บริการและสามารถประกอบธุรกิจทางการเงินได้เช่นเดียวกับธนาคารภายในประเทศ

ที่มา:  https://www.mmbiztoday.com/articles/industrial-bank-korea-eyeing-presence-myanmar

04/03/62

ย่างกุ้งเล็งจัดตั้งตลาดส่งออกแห่งใหม่

หัวหน้าคณะรัฐมนตรีของย่างกุ้งกล่าวว่าจะตั้งตลาดสำหรับผู้ส่งออกในพื้นที่ซึ่งสามารถเจรจาข้อตกลงการค้าในใจกลางเมืองย่างกุ้งแทนที่พื้นที่ชายแดน การประชุมประจำทุกเดือนระหว่างรองประธานาธิบดีของเมียนมาและนักธุรกิจท้องถิ่น ณ สมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) ปี 61 ที่ผ่านมาแตงโมเน่าเสียและถูกทำลายเป็นจำนวนมากในขณะทีรอการส่ง สาระสำคัญคือ ผู้ขายไม่จำเป็นต้องไปที่ชายแดน แต่พวกเขาจะทำข้อตกลงกันที่นี่แล้วส่งของตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน มูลค่าการค้าชายแดนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค 61- 15 ก.พ 62 แตะระดับ 2.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ 155 ล้านดอลลาร์ และมีความมุ่งมั่นที่จะรวมตลาดแห่งใหม่นี้เข้าไปในระเบียงเศรษฐกิจจีน – เมียนมา

ที่มา:   https://www.mmbiztoday.com/articles/yangon-build-export-market

04/03/62

ราคาของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในปีนี้กลับมาฟื้นตัว

ราคาของเม็ดมะม่วงหิมพานต์คาดว่าจะฟื้นตัวในปีนี้ในตลาดโลก และผู้ผลิตควรจะส่งเสริมความร่วมมือกันเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดไว้ จากการประชุมระหว่างสมาคมส่งเสริมการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเวียดนาม (VINACAS) และสภาส่งเสริมการส่งออกมะม่วงหิมพานต์ของอินเดีย (CEPC) ได้คาดการณ์ว่าในปีนี้ผลผลิตของมะม่วงหิมพานต์ทั่วโลกอยู่ที่ 4 ล้านตัน หากแบ่งระดับภูมิภาคพบว่า ผลผลิตมากกว่า 2 ล้านตันอยู่ในแถบภูมิภาคแอฟริกา รองลงมาเป็นประเทศอินเดีย เวียดนาม อินโดนิเซีย และกัมพูชา เป็นต้น ซึ่งการส่งออกของเวียดนามในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 350,000 ตัน มูลค่าโดยรวมกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่ามีปริมาณลดลง แต่มูลค่ากลับสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ทางหน่วยงานรัฐฯของเวียดนามได้มีการปรับปรุงคุณภาพเม็ดมะม่วงหิมพานต์และสำรวจตลาดเอเชียตะวันตกให้มีทางเลือกมากขึ้นสำหรับผู้ส่งออก

ที่มา:  https://vietnamnews.vn/economy/506481/cashew-price-to-recover-this-year.html#wcz3zDY0WBmJFAyE.97

05/03/62