นักลงทุนไทยแสวงหา ความผูกพันในกัมพูชา

นักธุรกิจและนักลงทุนจากไทยจะแสวงหาโอกาสการลงทุนในกัมพูชา ในระหว่างการประชุมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับนักธุรกิจชาวกัมพูชาในพนมเปญ นายงิ่งเม้งเทค ผู้อำนวยการใหญ่หอการค้ากัมพูชากล่าวเมื่อวานนี้ว่า มีบริษัทจากไทยประมาณ 40 บริษัทจะสำรวจความร่วมมือกับพันธมิตรในกัมพูชาระหว่างการประชุมในสัปดาห์นี้ รัฐบาลกัมพูชาและไทยเห็นพ้องที่จะผลักดันการค้าทวิภาคีสู่ระดับ 15 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 63 ตัวเลขจากสถานทูตไทยในกัมพูชาแสดงให้เห็นว่าการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศมีมูลค่าถึง 8.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 61 เพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับปี 60 การส่งออกของไทยไปยังกัมพูชามีมูลค่า 7.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 61

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50617337/thai-investors-seek-ties-in-kingdom/

เวียดนามมองว่าตลาดภูมิภาคแอฟริกามีศักยภาพในการค้าระหว่างประเทศ

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าตลาดในภูมิภาคแอฟริกามีความต้องการสินค้าของเวียดนามสูง ซึ่งทางกระทรวงฯแนะนำให้ทางผู้ประกอบการเวียดนามควรหันมาทำการค้ากับตลาดใหม่ โดยเฉพาะในภูมิภาคแอฟริกามากยิ่งขึ้น และเวียดนามยังสามารถจัดหาวัตถุดิบสำคัญจากแอฟริกา ได้แก่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ฝ้าย และไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ เวียดนามส่งออกสินค้าสำคัญไปยังแอฟริกา ได้แก่ ข้าว สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ และส่วนประกอบ เป็นต้น แม้ว่าภูมิภาคนี้น่าสนใจในการค้าการลงทุนก็ตาม แต่เวียดนามต้องเผชิญกับต้นทุนขนส่งค่อนข้างสูง และโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องพัฒนามากยิ่งขั้น จากตังเลขสถิติ ในปี 61 การค้าระหว่างเวียดนาม-แอฟริกามีมูลค่ารวมประมาณ 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/521708/africa-has-high-trade-potential-with-vn.html#UvsxbXVMfOI3EWwO.97

ปีงบประมาณ 61-62 เมียนมา ขาดดุลการค้า 1.05 พันล้านเหรียญ

ตั้งแต่ ต.ค. ปี 62 ถึง 14 มิ.ย.ปีนี้ มีมูลค่าการส่งออก 11.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่ารวม 12.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการค้าต่างประเทศรวมอยู่ที่ 24.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การขาดดุลการค้าของปีนี้แสดงให้เห็นว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 60-61 ที่มีมูลค่ามากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์สัตว์ การประมง แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ สินค้าอุตสาหกรรมขณะที่การนำเข้าสินค้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค ปัจจุบันเมียนมากำลังพยายามเพิ่มการส่งออกและลดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเพื่อลดการขาดดุลการค้า

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-06/22/c_138164290.htm

กระทรวงการเงิน สปป.ลาว ตั้งเป้าหมายการปฏิรูปผ่านโครงการการเงินแห่งรัฐ

กระทรวงการเงินสปป.ลาว เชื่อว่าการจัดการระบบการเงินแห่งรัฐจะมีประสิทธิภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้มากขึ้น ผ่านโครงการปรับปรุงการบริหารระบบการเงินแห่งรัฐให้เป็นระบบทันสมัย (E-FITS) และโครงการปฏิรูปการบริหารการเงินแห่งรัฐ (EU-WB TF) ทั้ง 2 โครงการมุ่งเน้นการปฏิรูปเพื่อให้มั่นใจการบริหารการการเงินแห่งรัฐ ซึ่งการดำเนินโครงการจะช่วยปรับปรุงการบริหารจัดการของระบบภาษีและดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สิ่งนี้จะปรับปรุงแผนงบประมาณและสาขา อื่น ๆ ของระบบการจัดการทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อบูรณาการการจัดการการเงินแห่งรัฐเข้ากับระบบการชำระเงินของประเทศ โครงการสำคัญหลายโครงการได้ริเริ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการจัดการด้านการเงินที่ทันสมัย เมื่อต้นปีที่ผ่านมากระทรวงประกาศใช้ระบบข้อมูลการจัดการสรรพากร (TAXRIS) เป็นการลงทุนของรัฐ ในการจัดการรายได้ให้ทันสมัยตามแผนกลยุทธ์และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติระดับสากลในด้านความรับผิดชอบและความโปร่งใส ด้วยแผนการที่แม่นยำในการจัดการระบบการเงินแห่งรัฐ

ที่มา :http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry_targets_145.php

ไม่มีการหลีกเลี่ยงภาษีใน SSEZ

ท่ามกลางการโต้เถียงเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการหลีกเลี่ยงทางภาษีที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ออกมาแถลงระบุว่าไม่พบ บริษัท จีนที่ใช้ “SSEZ” ในการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรในการขนส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา ตามที่สำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สหรัฐฯได้ปรับ บริษัท หลายแห่งที่ส่งออกสินค้าผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนที่ตั้งอยู่ในกัมพูชาเพื่อเลี่ยงผลกระทบที่เกิดจากการกีดกันทางการค้า หรือการตั้งกำแพงทางภาษีระหว่าง สหรัฐ และจีน โดย “SSEZ” ก่อตั้งขึ้นในปี 51 บนพื้นที่กว่า 1,113 เฮกตาร์ ตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือสีหนุวิลล์ประมาณ 13 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกัมพูชา ซึ่งโรงงานที่อยู่เขตเศรษฐกิจนี้ทำการผลิต สิ่งทอ ,รองเท้า ,สินค้าท้องเที่ยว ,ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ,อุปกรณ์ไฟฟ้า ,ยาง ,ชิ้นส่วนรถยนต์ ,เฟอร์นิเจอร์ และ อื่นๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50616995/no-tax-avoidance-in-ssez-commerce-ministry/

เวียดนามต่อต้านการทุ่มตลาดเหล็กแผ่น เคลือบสีที่มาจากจีนและเกาหลีใต้

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าทางกระทรวงฯ ได้ประกาศออกมาว่าจะมีการเรียกเก็บภาษีประมาณร้อยละ 35 ของสินค้าเหล็กแผ่นเคลือบสี (Color Coating Steel) ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนและเกาหลีใต้ เพื่อเป็นมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping: AD) อยู่ในลักษณะชั่วคราวก่อน โดยผู้ส่งออกชาวจีนจำนวน 20 รายจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราร้อยลละ 3.45-34.27 ในขณะที่ผู้ส่งออกชาวเกาหลีใต้จะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 4.48-19.25 และทางกระทรวงฯ จะดำเนินการตรวจสอบสินค้าเหล็กแผ่นเคลือบสีจากการนำเข้าทั้ง 2 ประเทศดังกล่าว เนื่องมาจากอุตสาหกรรมเหล็กในเวียดนามเผชิญกับอุปสรรคทางธุรกิจอย่างรุนแรง จากการทุ่มตลาดของสินค้าชนิดนี้ รวมไปถึงการสอบสวนในครั้งนี้จะหาข้อสรุปผลในไตรมาสที่ 4 ปี 2562

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/521598/viet-nam-imposes-anti-dumping-duties-on-steel-from-china-and-south-korea.html#EDxSY3UDMtZ45xFO.97