FDI เมียนมาครึ่งแรกปีงบประมาณ 61- 62 พุ่ง 2 พันล้าน เหรียญฯ

จากตัวเลขจากคณะกรรมการการลงทุนและการบริหาร (DICA) เม็ดเงินการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) มีมูลค่ามากถึง 1.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ของครึ่งปีงบประมาณ 61-62 โดยตั้งแต่ต.ค 61 – มี.ค 62 มีจำนวนโครงการที่ลงทุนไปแล้วทั้งสิ้น 139 โครงการ อาทิ การขนส่งและการสื่อสารมีรายรับสูงกว่า 680 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามด้วยภาคการผลิตที่มีมูลค่ากว่า 601 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นการลงทุนจากสิงคโปร์ สำหรับภูมิภาคที่มีการลงทุนมากที่สุดคือ ย่างกุ้ง 60% ตามด้วยมัณฑะเลย์ 30% และภูมิภาคอื่นๆ อีก 10% ส่วนการค้าระหว่างประเทศตั้งแต่ต.ค 61 ถึง 29 มี.ค นี้ มีมูลค่า 16.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าทางทะเลมี 12.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-04/20/c_137993073.htm

ครึ่งปีงบประมาณ 61 – 62 ค้าชายแดนเมียนมาสะพัดกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

จากตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ครึ่งปีงบประมาณ 61 – 62 ณ วันที่ 29 มีนาคม การค้าชายแดนเมียนมามีมูลค่า 4.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกมีมูลค่า 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่การนำเข้า 1.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 191 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว ด่านมูเซติดอันดับด่านชายแดนที่มีมูลค่าการค้ามากที่สุด 2.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือ เมียวดี 438.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐคู่ค้าหลักจะเป็นจีน บังคลาเทศ และอินเดีย สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การประมง แร่ธาตุ และป่าไม้เป็นสินค้าหลักในการส่งออกขณะที่การนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-04/19/c_137990733.htm

สปป.ลาวคาดการณ์เพิ่มการส่งออกไปยังจีน

การส่งออกของสปป.ลาวไปยังจีนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,510 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 ขณะที่การนำเข้าจะลดลงสู่ 985 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในปี 2561 สปป.ลาววางแผนที่จะสร้างรายได้ 1,478 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกไปยังจีน แต่ทำได้เพียง 1,406 ล้านดอลลาร์สหรัฐและคาดว่าจะใช้จ่าย 945 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการนำเข้า แต่ตัวเลขสุดท้ายอยู่ที่ 1,381 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการส่งออกหลักคือทราย แร่ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ทองแดงและทองแดงผลิตภัณฑ์ กล้วย ข้าวโพดและปุ๋ย และมีการนำเข้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะและชิ้นส่วนอะไหล่อุปกรณ์เครื่องจักรกล และอิเล็กทรอนิกส์เหล็กและอุปกรณ์เหล็กท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้จีนเป็นนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในสปป.ลาวและเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของประเทศ รัฐบาลมองในแง่ดีว่าการส่งออกไปจีนจะเพิ่มขึ้นในปีนี้เนื่องจากการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรรมเป็นภาคส่วนที่สำคัญในการหนุนการส่งออกไปยังจีนโดยเฉพาะกล้วย ยาง ปุ๋ย มันสำปะหลัง และข้าวโพด

ที่มา : http://en.brinkwire.com/news/laos-eyes-increased-exports-to-china/

กัมพูชาเปลี่ยนจากแนวทางเศรษฐกิจที่สมดุลเพื่อพึ่งพาจีน

สถานทูตสหรัฐฯพนมเปญกล่าวว่า กัมพูชาได้เปลี่ยนวิธีการทางเศรษฐกิจที่สมดุลและหลากหลายมากขึ้นไปสู่การพึ่งพาจีนอีกมากตามหน้า Facebook ของสถานทูตในวันนี้ “จีนเป็นหุ้นส่วนการค้าที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา แต่ความสัมพันธ์นี้เบาบางลงเพื่อประโยชน์ของจีนประมาณ 87% ของการค้าทั้งหมด เป็นการนำเข้าของจีนซึ่งไม่สนับสนุนงานหรืออุตสาหกรรมในลักษณะเดียวกับที่ความสัมพันธ์ทางการค้าของกัมพูชากับสหรัฐฯ สถานทูตเขียนไว้พร้อมกับสถิติการค้า นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่กัมพูชาเปลี่ยนจากวิธีการทางเศรษฐกิจที่สมดุลและหลากหลายมากขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งการพึ่งพาจีน

ที่มา : http://en.freshnewsasia.com/index.php/en/localnews/13721-2019-04-19-12-47-49.html

อุตสาหกรรมปลาสวายต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

จากรายงานของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมประมงปลาสวายภายในประเทศนั้น มีจำนวนคู่แข่งมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเทศมีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 15-20 ของการผลิตทั่วโลก โดยผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะให้เวียดนามไม่ควรให้ความสำคัญแค่เรื่องปริมาณเพียงอย่างเดียว แต่ต้องประเมินถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นส่วนสำคัญ รวมไปถึงทางกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม กล่าวว่าผู้ประกอบการเวียดนามต้องเผชิญกับการแข่งขันมากขึ้นจากอินเดีย เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศส่งออกอาหารทะเลสำคัญของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กุ้งกุลาดำที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกดั้งเดิมของเวียดนาม จากข้อมูลทางสถิติ พบว่าเวียดนามมีการส่งออกอาหารทะเลในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และตลาดอาหารทะเลเวียดนามที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีนและเกาหลีใต้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/518874/tra-fish-industry-needs-to-improve-product-quality.html#rsYCtQPfMtlBBHQ1.97

ไทย – เมียนมา ร่วมมือส่งเสริมท่องเที่ยว เมืองโบราณ

ไทย – เมียนมา ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเมืองโบราณของทั้งสองประเทศภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) โดยจะร่วมกันพัฒนาและส่งเสริมแผนการท่องเที่ยวโดยเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยโบราณทวารวดีจากศตวรรษที่ 6 ถึง 11 ระยะแรกจะประกอบด้วยห้าเส้นทางจากเมืองโบราณอู่ทองของประเทศไทยผ่านทางทิศตะวันตกของประเทศไทยไปยังเขตตะนาวศรีซึ่งเป็นเมืองโบราณในเมียนมา ได้แก่ อู่ทอง – สุพรรณบุรี, อู่ทอง – กาญจนบุรี, อู่ทอง. คาดว่าความร่วมมือกับเมืองมะริด เมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตตะนาวศรี จะช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวเมียนมามากขึ้น

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/tourism-and-transport/1663652/thailand-myanmar-agree-to-cooperate

เมียนมาอภัยโทษนักโทษกว่า 9 พันคน ไร้ 2 นักข่าวรอยเตอร์

 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ทางการเมียนมาเริ่มการอภัยโทษให้แก่นักโทษกว่า 9,000 คน เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับคดีค้ายาเสพติด มีนักโทษการเมืองเพียง 2 คนเท่านั้นที่ได้รับการอภัยโทษในครั้งนี้ หลังจากที่ประธานาธิบดีวิน มินต์ ได้ประกาศอภัยโทษให้แก่นักโทษจำนวน 9,535 คนในวันขึ้นปีใหม่ ข่าวระบุว่า ในจำนวนนักโทษที่ได้รับการอภัยโทษครั้งนี้ เป็นชาวต่างชาติ 16 คน โดยการอภัยโทษครั้งนี้เพื่อให้เกิดสันติภาพและความพอใจของผู้คน รวมไปถึงเรื่องความห่วงกังวลเกี่ยวกับด้านมนุษยธรรม โดยทางการจะทำการพิจารณาเองว่าใครควรจะได้รับการอภัยโทษต่อไป สำหรับนักข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ 2 คน ที่ถูกทางการเมียนมาจับกุมตัวเอาไว้ ข้อหาละเมิดกฎหมายความลับราชการ ไม่ได้รับการอภัยโทษในครั้งนี้แต่อย่างใด

ที่มา : https://www.prachachat.net/aseanaec/news-316402

4 เมกะโปรเจกต์เริ่มก่อสร้างแล้วในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์

ข้อมูลของกระทรวงโยธาธิการ โครงการขนาดใหญ่ในเมืองใหญ่สี่โครงการได้เริ่มก่อสร้างสามแห่งในย่างกุ้ง ได้แก่ โครงการ Eco Green City เป็นการร่วมทุนกับกลุ่มทุนท้องถิ่น Alliance Star Group เริ่มก่อสร้างปี 61-66 ครอบคลุม 1,453 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณใกล้ทางด่วนย่างกุ้ง – มันดาเลย์ในเขตเมืองแลกูของย่างกุ้ง และโครงการเขตอัจฉริยะกำลังดำเนินการก่อสร้างในเขตเมือง Dagon Seikkan ประกอบไปด้วยที่อยู่อาศัยราคาถูก สถานีขนส่งทางหลวง ตลาด ร้านอาหาร สำนักงาน ห้างสรรพสินค้าสวนสาธารณะ และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ และอีกหนึ่งในโครงการมัณฑะเลย์ คือ มัณฑะเลย์รีสอร์ทซิตี้ดำเนินการก่อสร้างบนพื้นที่ 10,000 เอเคอร์ในเมืองพินโนโลวิน โครงการเมืองสะอาด สีเขียวและอัจฉริยะ บนพื้นที่ 10,000 เอเคอร์

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/four-mega-projects-begin-construction-activities-in-yangon-and-mandalay