อิออนลงทุนในกลุ่มธุรกิจการเงินในเวียดนาม
บริษัท อิออนไฟแนนเชียลเซอร์วิส (เอเอฟเอส) จำกัด เจ้าของเครือข่ายค้าปลีกอิออนของญี่ปุ่นต้องการขยายบริการทาง โดยการควบรวมและซื้อกิจการ โดยมองว่าเป็นปลายทางการลงทุนที่สำคัญในภูมิภาค มีการวางแผนทุ่มงบ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศเพิ่มจำนวนห้างสรรพสินค้า 30 แห่งและสร้างงานให้กับแรงงานท้องถิ่น 50,000 คน ยอดค้าปลีกรวมของสินค้าและบริการในเวียดนาม ในปี 2018 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากปีก่อน
25/02/62
สิงคโปร์ติดอันดับต้น ๆ ของการลงทุนในรัฐยะไข่
นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่อย่าง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ จีน และอินเดีย ส่วนใหญ่ลงทุนในภาคพลังงาน ส่วนนักลงทุนในท้องถิ่นลงทุนในโรงแรมและการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสิงคโปร์เป็นอันดับต้น ๆ ในการลงทุนมากที่สุด ภายในหนึ่งเดือนมีมูลค่าจากการลงทุนรวม 14.223 พันล้านรูปี มีการจ้างงานมากกว่า 590 คน การลงทุนผลักดันให้รัฐยะไข่เป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาของเศรษฐกิจประเทศในอนาคต นอกจากนี้เขตเศรษฐกิจพิเศษยังมีส่วนสำคัญในพัฒนาทางเศรษฐกิจ โอกาส การจ้างงานและเชื่อมต่อการลงทุนกับ SMEs โดยสิงคโปร์ลงทุน มูลค่า 20.6 พันล้านเหรียญ และจีนลงทุน 20.3 พันล้านดอลลาร์ สิงคโปร์มีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศมากกว่า 26% ในเมียนมา และจีนถือหุ้น 25% ของการลงทุนต่างประเทศทั้งหมด
ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/singapore-tops-the-investment-list-in-rakhine-state
25/02/62
ธุรกิจชายแดนเมียนมาร้องแก้นโยบายการค้าให้คล่องตัวขึ้น
ตัวแทนผู้ประกอบการค้าชายแดนและสภาหอการค้าชายแดนเมียนมาหารือกันเกี่ยวกับกฎระเบียบการค้าชายแดนที่ได้รับผลกระทบ อย่าง การประมงและอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ โดยอุตสาหกรรมการประมงมีการเสนอให้ร่วมมือแบบภาคีกับจีนในการเลี้ยงและส่งออกปลาดุก ซึ่งในปัจจุบันมีการห้ามเลี้ยง จับสัตว์น้ำในเขตอิรวดีและมัณฑะเลย์ ส่วนการส่งออกนำเข้าชิ้นส่วนยายยนต์นั้นต้องเจอปัญหาการนำเข้ารถที่มีการดัดแปลงมาก่อนแล้ว และจากการหารือได้มีข้อเสนอให้ป้องกันตลาดภายในประเทศจากการทุ่มตลาดโดยการขึ้นภาษีนำเข้าจากที่อยู่ในระดับต่ำเพื่อเป็นการรักษาตลาดในประเทศ และยังเสนอให้เปิดประตูชายแดนเมียนมา – จีน เพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันชาวเมียนมาที่ไปทำงานที่จีนต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 7 วัน ในการยื่นเอกสาร โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะอยู่ราวๆ 80 หยวน (15,000 จ๊าต)
ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/businesses-call-policy-changes-enable-smoother-operations.html
25/02/62
มูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเมียนมาแตะ 1.261 พันล้านดอลลาร์
จากรายงานพบว่าระหว่างปี 61-62 ลดลง 110 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วใน 60-61 ระหว่างวันที่ 1 ต.ค 61 -15 ก.พ 62 มีการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภครวม 14.585 ล้านดอลลาร์จากภาครัฐ และ 1.247 พันล้านดอลลาร์จากภาคเอกชน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมของภาครัฐลดลง 24.682 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนภาคเอกชนลดลง 85.655 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วภาครัฐนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่า 39.267 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้าของเอกชนจะเป็นผลิตภัณฑ์คล้ายคลึงกันหรือแบบเดียวกัน มีมูลค่า 1.332 พันล้านดอลลาร์ รวมเป็นเงิน 1.371 พันล้านดอลลาร์
ที่มา : http://www.mizzima.com/article/imports-consumer-goods-hit-us1261-billion
25/02/62
เมียนมาเร่งหลายโครงการแก้ปัญหาจราจร
เมียนมาเร่งสร้างหลายโครงการเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรที่แออัด โดยเฉพาะช่วงเวลาคับขัน หลายฝ่ายเสนอให้รัฐบาลควรสร้างสะพานลอยที่แยกถนนแปรและวงเวียนหันตาวดี ซึ่งการสร้างสะพานลอยจะช่วยลดปัญหาการจราจรที่แออัดและลดเวลาในการเดินทาง โดยแผนพัฒนาการก่อสร้างต่างๆ ในย่างกุ้งหนึ่งจะได้รับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นด้วยการปล่อยสินเชื่อสำหรับโครงการที่ปรับปรุงการจราจรตามถนนสายหลัก เช่น ถนนเปย์ ถนนเจดีย์กาบาเรย์ ถนนสแตรนด์ ถนนย่างกุ้ง – ปะเต็นและถนนปาซานกันดาตอนบน รวมทั้งการปรับพื้นพื้นผิวสีของถนน ไปจนถึงการตรวจสอบสัญญาณไฟจราจร
ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/multiple-projects-reduce-traffic-city.html
25/02/62
สปป.ลาว พร้อมมั้ยกับการเป็น แบตเตอรี่แห่งเอเชีย
ภายหลังจากภัยพิบัติที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน เซน้ำน้อย รัฐบาลลาวยังสร้างเขื่อนมากขึ้นแต่ก็ออกกฎระเบียบที่เข้มงวดสำหรับการสร้างและการดำเนินงานของเขื่อนเพื่อให้แน่ใจถึงความปลอดภัย โดยรัฐยืนยันว่าการลงทุนในเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำนั้นสามารถกระจายน้ำให้กับทุกภาคส่วนรวมถึงการผลิตกระแสไฟฟ้า ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นและสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงานเปิดเผยว่าปี 2018 มีเขื่อนพลังน้ำ 53 แห่ง โดย 21 แห่งเป็นโครงการขนาดเล็กที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน 15 เมกะวัตต์ในขณะที่อีก 32 แห่งมีขนาดใหญ่ และจะมีเขื่อนอีก 36 แห่งที่กำลังก่อสร้างและแล้วเสร็จในปี 2563 แต่อาจมีค่าใช้จ่ายแอบแฝง เช่น สูญเสียวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ด้านนักลงทุนต่างชาตินั้นเห็นด้วยกับนโยบายนี้นั่นทำให้เห็นถึงอิทธิพลที่มีต่อรัฐบาล ปัจจุบัน กฟผ.ยืนยันซื้อ 1,120 เมกะวัตต์จากเขื่อนไซยะบุรี และ 269 จากเขื่อนน้ำงิบในปลายปีนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีการซื้อไฟฟ้าจากสปป.ลาวถึง 3,877 เมกะวัตต์คิดเป็นร้อยละ 9.16 ของการใช้ทั้งประเทศ
ที่มา : http://www.nationmultimedia.com/detail/national/30364687
25/02/62
สปป.ลาว แสวงหาการส่งออกน้ำตาลไปยังจีน
สปป.ลาว พยายามเพิ่มการส่งออกน้ำตาลไปยังตลาดจีนในปีนี้เป็น 100,000 ตันเพิ่มขึ้นจาก 55,000 ตันในปี 61 เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะเพิ่มการค้าทวิภาคีและช่วยผู้ผลิตน้ำตาลหาตลาดต่างประเทศรัฐบาลสปป.ลาว เรียกร้องให้จีนเปิดตลาดสู่สินค้าที่ปลูกในสปป.ลาว มากขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์และประธานคณะกรรมาธิการความร่วมมือสปป.ลาว – จีน ได้กล่าวกับคณะผู้แทนจีนเพื่อเยี่ยมชมการถ่ายทอดคำขอของฝ่ายสปป.ลาว ต่อกระทรวงพาณิชย์ของจีนเพื่อพิจารณาต่อไป มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของสินค้าส่งออกไปยังจีนในช่วง 6 เดือนแรกของปีที่แล้วอยู่ที่ 619 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับสินค้าที่ขายให้ไทยประมาณ 1,274 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งกระแสไฟฟ้ามีรายได้มากที่สุด สำนักงานคณะกรรมการความร่วมมือสปป.ลาว – จีนเปิดเผยว่าปริมาณการค้าระหว่างทั้งสองประเทศสูงถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2017
ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-seeking-sweeter-deal-sugar-exports-china-92102
25/02/62
รัฐบาลญี่ปุ่นช่วยเกือบ 930 ดอลล่าร์สหรัฐ ให้ FIDR และ JMAS เพื่อช่วยเหลือโครงการพัฒนาของกัมพูชา
รัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินสนับสนุนจำนวน 925,630 ดอลล่าร์สหรัฐ สำหรับการพัฒนาโครงการเอ็นจีโอญี่ปุ่น ที่ตั้งอยู่ในกัมพูชา พิธีลงนามมอบทุนจัดขึ้นที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น โดยมีเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกัมพูชา Hidehisa Horinouchi และทั้งสองได้รับทุนคือ รักษาการผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนา / บรรเทาทุกข์ระหว่างประเทศ ตัวแทนของ Japan Mine Action Service (JMAS) เงินช่วยเหลือจำนวน 237,666 ดอลล่าร์สหรัฐ ได้รับการจัดสรรให้กับ FIDR ซึ่งมีภารกิจคือการส่งเสริมเด็กในจังหวัดกระแจะและเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานในศูนย์สุขภาพ อีก 687,964 ดอลล่าร์สหรัฐ ได้มอบให้แก่ JMAS ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิศวกรรมเครื่องกลของเหมืองด้วยเครื่องทำลายล้าง JMAS จะถ่ายโอนวิธีการกวาดล้างที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยไปยังศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดกัมพูชา (CMAC) เพื่อเสริมกำลังการผลิตและเร่งความพยายามของ CMAC ที่จะทำให้ประเทศปลอดภัยยิ่งขึ้น
ที่มา : http://en.freshnewsasia.com/index.php/en/localnews/13118-2019-02-25-14-32-35.html
26/02/62