การกระตุ้นเศรษฐกิจของเมียนมา
การใช้นโยบายลดความร้อนแรงในตลาดอสังหารัมทรัพย์ ในช่วงปี 58 เพราะในช่วงดังกล่าวการเก็งกำไรทำให้ราคาของอสังหาริมทรัพย์ ราคากระโดดไปสูงมาก ทำให้การลงทุนในภาคการผลิตก็หยุดชงักลง ดังนั้นจึงออกมาตรการกฎหมายเงินขาว-เงินดำ คือให้จ่ายภาษีซื้อ-ขายอสังหาริทรัพย์ด้วยอัตรา 30% ทำให้เกิดการชะงักทันที เกิดปัญหาในตลาดอสังหาฯ ในย่างกุ้งเพราะเมื่อไม่มีการซื้อขาย ทำให้กระแสเงิน M1 M2 M3 ขาดไปจากตลาดจนเกิดปัญหาเงินฝืด การลงทุนภาคการผลิตลดลง จับจ่ายใช้สอยของประชาชนฝืดเคืองลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีกฎหมายใหม่ออกมา โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 62 นี้ คือลดภาษีซื้อ-ขายสินค้าทุกชนิดรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ ในอัตราก้าวหน้าทั้งหมด กล่าวคือ การซื้อขาย ตั้งแต่ 1 ล้านถึง 100 ล้าน ให้เสียภาษี 3% 101 ล้านถึง 300 ล้าน ให้เสียภาษี 5% 301 ล้านถึง 1,000 ล้าน ให้เสียภาษี 10% 1001 ล้านถึง 3,000 ล้าน ให้เสียภาษี 15% 3001 ล้านขึ้นไป ให้เสียภาษี 30% สิ่งที่ตามมา คือ ภาษีน้อยลงไปทันที ราคาสินค้าถูกลง สิ่งที่จะตามมาคือกลับเข้าสู่ภาคเงินออม Saving Money เงินเหล่านี้มีบางส่วนจะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปของการบริโภค เมียนมาเพียงลดอัตราดอกเบี้ยลง คนก็จะไม่นิยมฝากเงิน เพราะได้ไม่มากเท่าการนำเงินไปลงทุนในภาคการผลิตซึ่งจะส่งผลไปยังภาคการผลิตทันที ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว รัฐบาลมีอิสระในการจัดการแก้ปัญหา เพียงแต่ปัญหาของเมียนมาเริ่มมีมานานเกือบ 70 ปีมาแล้ว