ส่งออกประมงเมียนมาลดฮวบ 606 ล้านดอลลาร์ฯ

กระทรวงพาณิชย์ เผย รายได้จากการส่งออกภาคประมงในช่วงเก้าเดือน (1 ตุลาคม-9 กรกฎาคม) ของปีงบประมาณ 63-64 ลดลงเหลือ 606 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 113 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 719 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีที่แล้ว เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 และอุปสรรคในการขนส่ง จีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของเมียนมาร์ คิดเป็นมูลค่า 254 ล้านดอลลาร์สหรัฐสหรัฐ แต่ปัจจุบันได้พื้นที่ชายแดน ทั้งนี้ภาคประมงต้องพึ่งพาการค้าทางทะเลเท่านั้น สมาพันธ์ประมงแห่งเมียนมา (MFF ) ระบุว่ามีเพียงข้อตกลง G2G เท่านั้นที่สามารถแก้ไขปัญหาในการส่งออกได้ ในช่วงปีงบประมาณ 62-63  MFF คาดว่าจะมีรายได้มากกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเป้าหมายการส่งออกสินค้า เช่น ปลา กุ้ง และปู ไปยังตลาดใน 40 ประเทศ ได้แก่ จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทย และประเทศในสหภาพยุโรป ปัจจุบันเศรษฐกิจยังต้องพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นอย่างมาก โดยภาคประมงมีส่วนสำคัญต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หากสามารถส่งเสริมเทคโนโลยีการแปรรูปได้ ก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศและสร้างรายได้ให้กับผู้มีที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/fishery-exports-plummet-to-606-mln-as-of-9-july/

ค้าชายแดนของเมียนมาทะลุ 8.4 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64

ณ วันที่ 9 ก.ค.64 ของปีงบประมาณ 63-64 การค้าชายแดนของเมียนมาทะลุ 8.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคู่ค้าสำคัญได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย ไทย และจีน ซึ่งการค้าโดยรวมมีมูลค่ากว่า 23.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออกมีมูลค่า 5.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 2.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยด่านชายแดนมูเซติดอันดับชายแดนที่มีมูลค่าการค้าสูงสุด คือ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือเมียวดีที่ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าจากฟาร์ม สัตว์ ทะเล ป่าไม้ เหมืองแร่ สินค้าCMP (Cutting Making และ Packaging) ส่วนการนำเข้าคือสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม สินค้าส่วนบุคคล และวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า CMP เป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-border-trade-reaches-over-8-4-bln-in-first-ten-months-of-fy2020-21/#article-title

ปีเพาะปลูก 63-64 อำเภอยี่นมาบีน เร่งปลูกพืชช่วงมรสุมบนพื้นที่กว่า 170,000 เอเคอร์

รายงานของกรมวิชาการเกษตร เผยนาข้าวและพืชอื่นๆ ในช่วงฤดูมรสุมที่จะปลูกในปี 63 – 64 ในอำเภอยี่นมาบีน เขตสะกาย มีพื้นที่เพาะปลูกกว่า 170,506 เอเคอร์ ซึ่งเกษตรกรจะต้องไถและหว่านเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะเกิดมรสุมให้ทันเวลา กรมวิชาการเกษตรให้ขู้มูลว่าจากพื้นที่เพาะปลูก 170,506 เอเคอร์ เป็นนาข้าว 30,700 เอเคอร์, ถั่ว 22,667 เอเคอร์,พืชน้ำมัน 59,624 เอเคอร์, ฝ้าย 2,233 เอเคอร์; พืชอาหาร 473 เอเคอร์; และพืชอื่นๆ อีก 87,481 เอเคอร์ กรมวิชาการเกษตรตำบลยินมาบิน เข้ามาช่วยเหลือด้านเทคนิคทางด้านการเกษตร การควบคุมศัตรูพืช และการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ในการปรับปรุงผลผลิตของพืชผลฤดูมรสุม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/more-than-170000-acres-of-2020-2021-monsoon-crops-cultivated-in-yinmabin/#article-title

ราคาแตงโมลดฮวบลงเกือบครึ่ง! เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ผู้ส่งออกแตงด่านมูเซ เผย ราคาแตงโมลดลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากจีนปิดชายแดนในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคมจากการระบาดของโควิด-19 ของเมียนมา ส่งผลให้ราคาตกท่ามกลางผลผลิตที่ออกมาล้นตลาด โดยรถบรรทุกแตงโมบรรทุกได้ 36,000 หยวนต่อครั้งเมื่อปีที่แล้ว แต่ปีนี้ราคาลดลงอย่างมากถึง 13,000 หยวน และยังไม่รวมอัตราค่าระวางรถบรรทุกที่ต้องจ่าย ส่งผลให้ผลไม้อย่างแตงโมและมะม่วงพึ่งพิงตลาดต่างประเทศเสียหายอย่างหนักหากจีนขยายเวลาปิดด่านออกไปเป็นเวลานาน ซึ่งภาครัฐแนะนำให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกลง 50% เพื่อรักษาสมดุลของตลาดและรักษาคุณภาพของแตงโมไว้ ขณะที่ในปีนี้รถบรรทุกแตงโมประมาณ 30,000 คัน และเมล่อน 12,000 คัน ถูกส่งไปยังชายแดนจีนแต่เน่าเสียหายเพราะติดอยู่ด่านชายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในทุกๆ ปี เมียนมาส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันต่อปีและเมล่อนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-price-decreases-by-half-as-against-last-year/#article-title

วิกฤตโควิด ระลอก 3 ลามหนัก ส่งผลความต้องการไข่และไก่เพิ่ม หนุนราคาพุ่ง

ราคาเนื้อสัตว์ปีกและไข่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ จากความต้องการเพิ่มขึ้นจากวิกฤติ COVID-19 ที่ระลอก 3  ระบาดรุนแรงขึ้นในประเทศ ราคาไข่เพิ่มขึ้นจาก 130 จัตเป็น 220 จัต ส่วนราคาไก่เพิ่มขึ้นเป็น 12,000 จัต/viss การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชนมีความกังวล ต่อการปรับขึ้นราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น การผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีกเติบโตขึ้น 10-15% ต่อปี  ตามรายงานของ MLF ปัจจุบัน มีการเลี้ยงไก่เนื้อ 1.35 ล้านตัว กึ่งไก่เนื้อประมาณ 1.465 ล้านตัว และไก่ไข่อีก 2.9 ล้านตัวในฟาร์มไก่และฟาร์มปลาที่เลี้ยงแบบผสมผสาน นอกจากนี้ ภาคปศุสัตว์ในประเทศกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากนักลงทุนต่างชาติอย่างจีน ไทย และอินเดีย เพราะการเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ปีกส่วนใหญ่เป็นของเกษตรกรในท้องถิ่น ดังนั้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในท้องถิ่นจึงต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีผสมพันธุ์สมัยใหม่และเพิ่มกำลังการเพาะเลี้ยงเพื่อปรับตัวให้ทันกับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/egg-poultry-prices-surge-on-rising-demand-in-covid-19-crisis/

แก้วมังกรราคาดี สร้างรายได้งาม ให้เกษตรกร ตำบลงาเพ

ผลแก้วมังกรที่ปลูกในหมู่บ้านปิ่นอู ตำบลงะแพ อำเภอมี่นบู้ เขตมะกเว ด้วยระบบน้ำชลประทานให้ผลผลิตสูงเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งทำรายได้ให้กับครัวเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เกษตรกรเริ่มปลูกแก้วมังกรในเดือนม.ค.2560 แก้วมังกรมีอายุมากกว่าห้าปี ออกผลภายหลังการปลูก 6 เดือน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูก สามารถเก็บเกี่ยวถึงเจ็ดครั้งต่อปี เมื่อปีที่ผ่านมามีผลผลิตแก้วมังกรประมาณ 10,000 ลูกส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังเขตมะกเว และย่างกุ้ง ราคาจะอยู่ในช่วง 400 – 750 จัต สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกตรกร

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/dragon-fruit-selling-well-in-ngaphe-township/

ค้าชายแดนเมียนมา-อินเดียพุ่ง 111.94 ล้านดอลลาร์ฯ

ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 2 ก.ค.64 ของปีงบประมาณ 63-64  มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาร์และอินเดียพุ่งขึ้นเป็น 193.2 ล้านดอลลาร์ แม้อินเดียจะยกระดับคุมเข้มการระบาดของโควิด-19 บริเวณชายแดน เพิ่มขึ้น 111.94 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมียนมาทำการค้าชายแดนกับอินเดียผ่านชายแดนตามู, ชายแดน Reed และชายแดนทันท์ลอง ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา มูลค่าการค้ามีการจดทะเบียนมากกว่า 32.39 ล้านดอลลาร์ผ่านชายแดนตามู และ 160.8 ล้านดอลลาร์ผ่านชายแดนReed แต่ชายแดนทันท์ลองไม่มีการบันทึกข้อมูล เมียนมาส่งออกถั่วเขียว ถั่วลันเตา ถั่วเขียว ถั่วลันเตา ขิง หญ้าฝรั่น ขมิ้น ใบกระวาน ผลิตภัณฑ์ประมง ผลไม้ และผักไปยังอินเดีย ขณะที่นำเข้าจะเป็น ยา เค้ก น้ำมัน เครื่องใช้ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ เหล็ก และอุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องจักร และวัสดุก่อสร้าง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-border-trade-up-by-111-94-mln-as-of-2-july/