ธนาคารพงสะหวันเปิดที่ทำการใหม่เพื่อส่งเสริมธุรกิจการผลิตในท้องถิ่น
ธนาคารพงสะหวันเปิดบริการสาขาใหม่ในพื้นที่อาคารสำนักงานกม. 52 โดยจะให้บริการอย่างเป็นทางการในเขตโพนหงของเวียงจันทน์และตั้งเป้าเป็นองค์กรส่งเสริมภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งเกษตรกรรมการแปรรูป การท่องเที่ยวและการค้าในภูมิภาค ธนาคารพงสะหวันเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการทางการเงินและสินเชื่อในสปป.ลาวมาอย่างยาวนานเป็นภาคส่วนหนึ่งที่คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศการเปิดสำนักงานบริการธนาคารเพิ่มขึ้นครั้งนี้จะมีการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจและการผลิตมากขึ้นซึ่งจะผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจของแขวงโพนหงและเวียงจันทน์ในอนาคต
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New_62.php
เวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์ค (VLP) และตัวแทนการค้าของญี่ปุ่น (Jetro) ลงนามส่งเสริมการลงทุนของญี่ปุ่นในสปป.ลาว
เวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์ค (VLP) และตัวแทนการค้าของญี่ปุ่นได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในนครหลวงเวียงจันทน์เพื่อทำงานร่วมกันเพื่อกระตุ้นการลงทุนของญี่ปุ่นในเขต Hadxaifong พื้นที่กดังกล่าวมีการกำหนดสิ่งจูงใจหลายประการไม่ว่าจะเป็นระบบโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานรวมถึงสิทธิประโยชน์พิเศษด้านต่างๆ เพื่อเป็นแรงดึงดูดให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในพื้นที่ สำหรับ บริษัท ญี่ปุ่นที่ต้องการกระจายห่วงโซ่อุปทานโครงการดังกล่าวเป็นโอกาสในการลงทุนผลิตส่งออกหรือส่งออกจากสปป.ลาวจะได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าทั้งหมดที่สปป.ลาวมีให้รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านเอกสารกระบวนการและบริการด้านโลจิสติกส์ทั้งหมดที่จะทำให้การลงทุนในสปป.ลาวเป็นไปอย่างรวดเร็ วง่ายดายและสร้างผลกำไรแก่บริษัท
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_VLP_61.php
นายกฯ คนใหม่สปป.ลาวเริ่มทำงานด้วยการแก้ปัญหาและสัญญาว่าจะแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
เวียนนา 25 มีนาคม (เวียงจันทน์ไทม์ส / ANN): นายพันคำ วิภาวันห์นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ได้ให้คำมั่นต่อสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (NA) จะดำเนินการแก้ไขปัญหาใรประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนหน้านี้สมาชิก NA มีส่วนร่วมในการอภิปราย เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะเวลาห้าปีที่เสนอและแผนงบประมาณของรัฐรวมทั้งให้คำแนะนำรัฐบาลเกี่ยวกับแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในระหว่างการอภิปรายฝ่ายนิติบัญญัติได้นำเสนอประเด็นต่างๆมากมายตั้งแต่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และปัญหาด้านการทำงานและวัฒนธรรมในองค์กร ซึ่งรัฐบาลต้องการรับความคิดเห็นเหล่านี้ในการใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการปรับปรุงแผนและการดำเนินการตามแผนในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ นายกรัฐมนตรีกล่าว
รัฐบาลสปป.ลาวมุ่งมั่นป้องกันวิกฤตทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
รัฐบาลสปป.ลาวได้ให้คำมั่นที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจ ภายใต้นโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาหนี้เรื้อรัง นายบุญชม อุบลประสุต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังชี้แจงประเด็นดังกล่าวต่อสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันอังคารว่า “แผนงบประมาณของรัฐในช่วง 5 ปีข้างหน้าได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาทางการเงินที่เรื้อรัง เราจะพยายามสร้างสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่ายซึ่งหมายความว่าเราจะใช้งบประมาณตามรายได้ที่ได้รับหรือใช้จ่ายมากกว่าจำนวนเงินที่เราได้รับเล็กน้อย” ตามรายงานของรัฐบาลการขาดดุลการคลังสำหรับปี 2564-2568 ถูกกำหนดไว้ที่ร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพื่อหยุดหนี้ที่เพิ่มขึ้น ในที่ประชุมสมาชิกสมัชชาแห่งชาติยังขอให้รัฐบาลเพิ่มเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ 5 ปีจากร้อยละ 16 ของ GDP เป็นร้อยละ18 ข้อเสนอดังกล่าวรัฐบาลจะนำมาพิจารณาอีกครั้งเพราะการดำเนินนโยบายด้านภาษีอาจไปกระทบต่อภาคธุรกิจที่ต้องแบกรับภาระมากขึ้นภายใต้สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในปัจจุบันซึ่งจะทำให้มีปัญหาของภาคธุรกิจตามมา แนวทางในอีก 5 ปีข้างจึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะรักษาสมดุลระหว่างการใช้งบประมาณและการฟื้นฟูเศรษฐกิจของสปป.ลาว
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt59.php
ประธานาธิบดีสปป.ลาวคนใหม่เผชิญกับหนี้จีนที่เพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจที่ย่ำแย่
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาสมาชิกสภาแห่งชาติสปป.ลาวได้เลือกนายทองโหลน สีสุลิธ เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศโดยมอบความไว้วางใจให้ผู้นำคนใหม่นำสปป.ลาวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนหนึ่งของอุปสรรคและความท้าทายของผู้นำคนใหม่คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ถึงแม้สปป.ลาวจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักแต่ประเทศที่สปป.ลาวพึ่งพาอย่างไทย จีน ล้วนได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากโควิด-19 ทำให้สปป.ลาวได้รับผลกระทบไปด้วย เห็นได้ชัดจากกรณีการปิดด่านชายแดนและมาตรการที่เข้มงวดส่งผลให้การค้าชายแดนหดตัวอย่างมาก นอกจากนี้ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือหนี้จากการกู้ยืมจากจีน ซึ่งถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดของสปป.ลาวในการกู้มาเพื่อลงทุนหากไม่ได้รับการแก้ไข หนี้ก่อนนี้อาจทำให้สปป.ลาวต้องสูญเสียพื้นตามแนวรถไฟให้แก่จีนเพื่อเป็นการชดใช้หนี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้รัฐบาลเริ่มมีการรัดเข็มขัดด้านงบประมาณและเข้มงวดด้านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้นเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งบประมาณ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวทางเพื่อการรชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : https://asia.nikkei.com/Politics/New-Laos-president-faces-rising-China-debt-and-battered-economy