ไตรมาสแรกปี 63-64 ภาพรวมการค้าเมียนมา ดิ่งลง เมื่อเทียบกับปีก่อน

เมียนมามีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม 8.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 63-64 ซึ่งน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 2.5 พันล้านดอลลาร์ ผลมาจากการส่งออกที่ลดลงของก๊าซธรรมชาติ อัญมณี เสื้อผ้า และการประมงและผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ๆ จากการระบาดของ COVID-19 ส่วนการนำเข้าที่ลดลง คือ วัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป  Cut-Make-Pack (CMP) วัสดุก่อสร้าง เชื้อเพลิงและน้ำมันดิบอื่น ๆ  ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 25 มกราคม 64 มีมูลค่าการค้ารวม 8.9 พันล้านดอลลาร์ ส่งออกน้อยกว่าปีที่แล้ว 1.1 พันล้านดอลลาร์และการนำเข้าลดลง 1.4 พันล้านดอลลาร์และมูลค่าการค้าทั้งหมดลดลง 2.5 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 62-63 ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นแม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง โดยมีปริมาณการส่งออกมากกว่าปีที่แล้วถึง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าสำคัญได้แก่ ผัก ข้าว และปลายข้าวเพิ่มขึ้นและสินค้าเกษตรอื่น ๆ เช่น แตงโม พริก ถั่วลิสง และเมล็ดข้าวโพดก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์คาดภาพรวมการค้าปีงบปรพมาณ 63-64 จะแตะ 34,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะแบ่งเป็นการส่งออก 16.2 พันล้านดอลลาร์ ส่วนการนำเข้า 18.5 พันล้านดอลลาร์ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 2.3 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-sees-reduced-trade-first-quarter-2020-21.html

นักลงทุนคาด เศรษฐกิจเมียนมาจะฟื้นตัวเร็วในอีก 3 ปีข้างหน้า

นักลงทุนคาดธุรกิจจะกลับสู่ภาวะปกติในไตรมาสที่สามของปีนี้ โดยภาคที่ได้รับความนิยมคือเทคโนโลยีสื่อและโทรคมนาคม (TMT) ซึ่งจะเป็นการลงทุนหรือการควบรวมกิจการและการเข้าซื้อกิจการมากที่สุดในอีกสองปีข้างหน้าจากการสำรวจโดย Ascent Capital Partners เมื่อเร็ว ๆ นี้ ในความเป็นจริงเศรษฐกิจคาดจะฟื้นตัวสูงถึง 7% ในปีนี้ตามที่กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศของสหภาพแรงงานกล่าวในระหว่างการประชุมออนไลน์ที่ผ่านมา ซึ่งการฟื้นตัวจะได้รับแรงผลักดันจากแผนฟื้นฟูและปฏิรูปเศรษฐกิจเมียนมา (MERP) โดยให้ความสำคัญของภาคธุรกิจต่างๆ เช่น การผลิตและบริการในปีหน้าและมาตรการอย่างการปฏิรูประบบราชการและ Digital Transformation ที่จะเกิดขึ้น แต่เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโควิด -19 และยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเกิดการฟื้นตัวเต็มที่เมื่อใด ซึ่ง Ascent Capital เป็นบริษัทที่จดทะเบียนกับ Monetary Authority of Singapore ถือว่าเป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในเมียนมาที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจัดลำดับความสำคัญไปทืภาคผู้บริโภค การศึกษา สุขภาพ บริการทางการเงิน โลจิสติกส์ ด้วยภาระผูกพันด้านเงินทุน 88 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Temasek Holdings ของสิงคโปร์ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และผู้ประกอบการเครื่องดื่มภายในท้องถิ่น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/investors-expect-growth-accelerate-myanmar-over-next-three-years.html

กระแสตอบรับโรงแรมในหาดงาปาลีไม่สู้ดี หลังกลับเปิดมาใหม่อีกครั้ง

โรงแรมและรีสอร์ตประมาณ 10% ที่ชายหาดยอดนิยมอย่างหาดงาปาลีได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดใหม่แต่กระแสตอบรับของจำนวนนักท่องเที่ยวกลับน่าผิดหวัง แม้จะพยายามดำเนินการตามมาตรการป้องกัน COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬา โดยผู้ที่เดินทางด้วยเครื่องบินไม่จำเป็นต้องได้รับการกักตัว แต่จะกักตัวเฉพาะผู้ที่เดินทางด้วยรถยนต์ ซึ่งจากรายงานยังพบว่าบางโรงแรมและรีสอร์ตมีจำนวนผู้เข้าพักเป็นตัวเลขแค่สองหลักเท่านั้น สำหรับสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาติให้กลับมาเปิดอีกครั้งมีเพียง 5 แห่ง จาก 60 แห่ง และต้องปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน COVID-19 ได้แก่ Amazing Ngapali Resort Hotel, AZ Family Resort Hotel, Royal Linthar Lodge, Kyaw Myanmar Lodge และ Htein Linn Thar Guest House อย่างไรก็ตาม  Amazing Ngapali Resort ถูกสั่งปิดบริการเมื่อไม่นานหลังจากตรวจพบผลเป็นพบเชื้อ COVID-19 และกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 22 มกราคม 64 ที่ผ่านมา จากรายงานของคณะกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวพบว่ามีโรงแรมอีกสิบแห่งได้ยื่นขออนุญาตเปิดให้บริการใหม่อีกครั้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/ngapali-hotels-open-poor-response.html

เมียนมาเดินหน้าตั้งศูนย์ตลาดสินค้าเกษตร ในเนปยีดอ

กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทาน มีแผนที่จะจัดตั้งศูนย์ตลาดสินค้าเกษตรในเนปิดอว์เพื่อพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรของประเทศ มีกำหนดเปิดทำการในวันที่ 20 มกราคม 64 ซึ่งจะได้รับการพัฒนาโดยความร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของสาธารณรัฐเกาหลี โดยได้รับการจัดสรรเงินทุนจำนวน 8.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรในท้องถิ่นเป็นอย่างมา ซึ่งโครงการนี้จะให้ความสำคัญกับธุรกิจหลังการเก็บเกี่ยวเป็นหลัก โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือการพัฒนาตลาดการเกษตรของเมียนมา โดยเมียนมาหวังว่าจะสร้างผลประโยชน์ร่วมกันทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคนำไปสู่การยกระดับครองชีพของเกษตรกรให้สูงขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-set-agri-market-centre-nay-pyi-taw.html

3 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64 เมียนมานำเข้าสินค้าทุนกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมานำเข้าสินค้าทุนมูลค่ากว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 63-64 ลดลงกว่า 510 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ณ ปัจจุบันมีการนำเข้าสินค้าทุนมูลค่า 1.475 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปีบัญชีก่อนหน้าคือ 1.993 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของคณะกรรมการการลงทุนและกำกับดูแลบริษัท (DICA) เมียนมามีการลงทุนจากต่างประเทศมากกว่า 25.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ปีงบประมาณ 59-60 ถึงปี 63 ส่วนใหญ่จะลงทุนใน 11 ภาคธุรกิจ เช่น การผลิต การขนส่งและการสื่อสาร การพัฒนาที่อยู่อาศัย พลังงาน การโรงแรมและการท่องเที่ยว ปศุสัตว์และประมง น้ำมันและก๊าซ การเกษตร เหมืองแร่และการบริการ โดยภาคการผลิตมีการลงทุนมากที่สุดมีการลงทุนกว่า 6.289 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากธุรกิจจำนวน 719 แห่งคิดเป็นสัดส่วนกว่า 26% ของการลงทุนทั้งหมด ทั้งนี้ธุรกิจ 29 แห่งลงทุน 6.135 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในการขนส่งและการสื่อสารซึ่งคิดเป็น 25% -ของการลงทุน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/over-14bn-worths-of-capital-goods-imported-in-over-three-months

แรงงานก่อสร้าง บ. โยมา ลุกฮือประท้วง หลังถูกลดเงินเดือน

แรงงานหลายร้อยคนจากโครงการก่อสร้าง Yoma Central มูลค่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในใจกลางเมืองย่างกุ้ง ได้มีการประท้วงเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาภายหลังจากได้รับแจ้งว่าในเดือนนี้ถูกลดค่าจ้างและบางรายไม่ได้เงินชดเชยจากประกันสังคม การประท้วงเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่และลากยาวไปจนถึงบ่าย โดยมีการปิดกั้นถนนและการจราจรเริ่มติดขัดในพื้นที่ โครงการโยมาเซ็นทรัลเป็นโครงการพัฒนาแบบผสมผสานที่ เรียกว่า “มิกซ์ยูส” (mixed-use) ซึ่งประกอบด้วยที่พักอาศัยระดับหรู โรงแรมระดับ 5 ดาว เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ และสำนักงาน โครงการนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาภายในสำนักงานใหญ่ Myanma Railways เป็นการร่วมทุนระหว่าง Yoma Strategic Holdings จากสิงคโปร์และ Dragages Singapore คนงานได้ร่วมกันประท้วงเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วเมื่อโควิด -19 ระบาดครั้งแรกในเมียนมาเพื่อเรียกร้องที่ไม่ได้รับค่าจ้างในช่วงวันหยุดเทศกาลตะจาน (Thingyan)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yoma-central-workers-protest-over-salary-cuts.html