ผู้ค้าแตงโมรัฐฉาน ขอความช่วยเหลือเมื่อใกล้ฤดูเก็บเกี่ยว

เมื่อใกล้ถึงฤดูเก็บเกี่ยวแตงโมรัฐบาลของรัฐฉานได้รับการร้องขอจากผู้ค้าผลไม้ในพื้นที่ให้เจรจากับมณฑลยูนนานของจีนเพื่อป้องกันความล่าช้าที่เกิดจากการขนส่งของรถบรรทุกและข้อจำกัดในการเดินทาง พ่อค้าชาวเมียนมาส่งออกแตงโมและ Mukmelon ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเมษายนที่ Wanding Fruit Square ของเมืองจีน ตอนนี้การทำธุรกรรมต้องผ่านทางโทรศัพท์ แต่ไม่สามารถขายสินค้าของตนได้หากไม่มีการประชุมแบบเห็นหน้ากัน ก่อนที่ Covid-17 จะระบาด มีรถบรรทุก 200 ถึง 700 คันข้ามพรมแดนทุกวัน แต่คาดว่าจะลดลงเหลือ 200 ถึง 300 คันต่อวันในฤดูกาลนี้ ทั้งนี้ยังเรียกร้องให้กับยูนนานเพื่ออนุญาตให้ตัวแทนสองถึงห้าคนจากเขตการค้าในเมืองมูเซทำงานที่ตลาดผลไม้ในยูนนานเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้รถบรรทุกควรได้รับการตรวจสอบเนื่องจากบรรทุกสินค้าที่เน่าเสียง่าย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/shan-traders-seek-help-melon-season-nears.html

พาณิชย์เมียนมาคาดภาคการค้าขยายตัว 109.73%

กระทรวงพาณิชย์ เผยเมียนมามีรายได้จากการค้าเกินเป้าหมายสำหรับปีงบประมาณ 2562-2563 ปริมาณการค้ามีมูลค่า 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่ 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐและเทียบกับ 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณที่แล้ว โดยในปีนี้ได้ร่วมมือกับสมาคมผู้ผลิตและส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมาเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดผลไม้ในท้องถิ่นในช่วง COVID-19 นอกจากนี้ยังจัดตั้ง Myanmar Online Expo Park และจัดงาน Myanmar International Expo of Organic and Natural Products ทางออนไลน์ในเดือนสิงหาคม ปีงบประมาณนี้มีการส่งออกมีมูลค่าประมาณ 17,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 18.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2561-2562 โดยการส่งออกพบว่าเพิ่มขึ้น 851 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การค้าต่างประเทศขยายตัวกว่า 10%  ส่วนใหญ่ โดยภาคการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าและสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่การนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลา งวัสดุเสื้อผ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งอุปสงค์จากต่างประเทศมีแนวโน้มเชิงบวก ตัวอย่างเช่น ความต้องการหัวหอมจากบังกลาเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ด้านการส่งออก ความต้องการสินค้าอื่น ๆ เช่น น้ำผึ้งและกาแฟมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งน้ำผึ้งสามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (EU) ส่วนความต้องการกาแฟจากต่างประเทศก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยมีการถูกส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และยุโรป ในช่วงห้าปีที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกกาแฟเพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่าคิดเป็นมูลค่ากว่า 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้จาก 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 และเมียนมายังเริ่มส่งออกเบียร์ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว Carlsberg Myanmar ได้เริ่มส่งออกเบียร์ Tuborg Beer ไปยังจีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/trade-sector-exceeds-10973pc-estimates-minister-commerce.html

เมียนมาซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา 20 ล้านจัต ในช่วงมรสุม

จากข้อมูลของกรมกิจการผู้บริโภคภายใต้กระทรวงพาณิชย์ รัฐบาลเมียนมารับซื้อข้าวเปลือกมรสุมมูลค่า 20 ล้านจัตในปีงบประมาณ 2563-2564  โดยข้าวเปลือกจะรับซื้อจาก 10 เมืองในเขตย่างกุ้ง 26 เมืองในอิระวดี 28 เมืองในเขตพะโค 7 เมืองในเขตทานินธารี และ 5 เมืองในรัฐยะไข่ ซึ่งคณะกรรมการจัดการผลิตผลทางการเกษตร (APMC) ที่นำโดยกระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดราคา 520,000 จัต สำหรับทุกๆ 100 ตะกร้าเป็นราคาสำหรับเกษตรกรในช่วงมรสุมและฤดูร้อนซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน เช่น มีความชื้น 14% และไม่มีส่วนผสมของแกลบ ฝุ่น ทราย และหิน ปัจจุบันราคาตลาดอยู่ที่ประมาณ 500,000 จัตต่อ 100 ตะกร้าในช่วงมรสุม แม้ว่าราคาข้าวเปลือกแห้งจะสูงกว่า 500,000 จัต แต่ข้าวเปลือกที่เพิ่งเก็บเกี่ยวได้จะมีราคาต่ำกว่า 500,000 จัต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-buy-k20-million-worth-monsoon-paddy-farmers.html

COVID-19 กระทบอสังหาริมทรัพย์เมียนมาหยุดนิ่ง

นาย U Nay Min Thu กรรมการผู้จัดการของ iMyanmarHouse.com เผย แม้ก่อนหน้านี้ตลาดอสังหาฯ จะไม่แข็งแกร่งมากนัก แต่ก็เริ่มฟื้นตัวก่อนที่จะมีการกลับมาของ COVID-19 แม้จะสามารถควบคุมการระบาดได้ แต่ก็ต้องใช้เวลานานกว่าตลาดจะฟื้นตัว ในช่วงเดือนที่ผ่านมาผู้ซื้อบ้านไม่สามารถขนย้ายหรือเลือกดูอสังหาริมทรัพย์ได้เพราะข้อจำกัดในการเดินทาง ทั้งค่าธรรมเนียมการเช่ายังลดลง ไม่เฉพาะพาร์ทเมนท์เท่านั้นแต่ยังรวมถึงร้านค้าด้วย ทั้งนี้คาดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะกลับสู่ภาวะปกติในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 หากอัตราการติดเชื้อสามารถควบคุมได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งตลาดอสังหาริมทรัพย์มากกว่าร้อยละ 90 ถูกระงับทั้งการขายและการเช่า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/real-estate-market-standstill.html

เมียนมาส่งออกหยกมากกว่า 2,000 ตัน รายได้ทะลุ 420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมียนมามีรายได้กว่า 420 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกหยกเกือบ 2,000 ตันในปีงบประมาณ 2562-2563 มากกว่า 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออก 410 ตันเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ปีนี้เส่งออก 1,964.488 ตันมูลค่า 420.036 ล้านเดอลลาร์สหรัฐฯ ปีที่แล้วมีรายได้ 356.876 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกหยก 1,548.452 ตัน ในช่วง 56 เดือนที่ผ่านมามีรายได้มากกว่า 2,496 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกหยกรวมถึงสูงเป็นประวัติการณ์กว่า 971 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560-2561

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-proposes-oil-refinery-expand-presence-myanmar-energy.html

เงินจัตแข็งค่ากระทบส่งออก ถือเป็นโอกาสการนำเข้าของเมียนมา

สมาชิกคณะกรรมการของสมาพันธ์ข้าวเมียนมาเผย การส่งออกของเมียนมาได้รับแรงกดดันจากการที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงซึ่งส่งผลให้การส่งออกที่สำคัญเช่นข้าวมีราคาแพงขึ้นในตลาดต่างประเทศ เงินจัตแข็งค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่ปี 61โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมลดลงแหลือ 1,300 จัตต่อดอลลาร์ แม้ว่าธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) จะซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อพยายามรักษาเสถียรภาพ ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้จำกัดการส่งออกข้าวเพื่อให้มีปริมาณสำรองเพียงพอสำหรับในประเทศในกรณีฉุกเฉินในช่วง COVID-19 แต่ถูกยกเลิกเนื่องจากฤดูเก็บเกี่ยวใหม่ใกล้เข้ามา จากข้อมูลจนถึงวันที่ 11 กันยายนระหว่างปีงบประมาณ 62-63 มีการส่งออกข้าวและปลายข้าวกว่า 2.5 ล้านตันไปยังกว่า 60 ประเทศ สร้างรายได้มากกว่า 774 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในทางกลับกันเงินจัตที่แข็งค่าสามารถเพิ่มการนำเข้าสินค้าสำคัญ เช่น ข้าวโพด เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังจีนและไทยเป็นจำนวนมากและขณะนี้ยังขาดแคลนสินค้าภายในประเทศซึ่งใช้เป็นอาหารสัตว์ เมื่อเดือนที่ผ่านมาผู้ค้าและผู้เพาะพันธุ์ปศุสัตว์ได้ขอใบอนุญาตนำเข้าข้าวโพด แต่ได้รับการคัดค้านจากเกษตรกรในพื้นที่ซึ่งกลัวว่าจะมีผลผลิตมากเกินไปหากไม่มีการควบคุม โดยทั่วไปแล้วจะมีข้าวโพดส่วนเกินในตลาดในประเทศแต่หลังจากส่งออกมากกว่า 2 ล้านตันในปีงบประมาณ 61-63  จึงมีความเป็นไปได้ที่จะต้องหันมานำเข้าแทน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/stronger-kyat-threatens-exports-presents-import-opportunities.html