กระทรวงการต่างประเทศหารือเกี่ยวกับแผนการท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก

กระทรวงการต่างประเทศเริ่มการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งที่ 14 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและอนุมัติแผนการทำงานใหม่เพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่าการประชุมกำลังพยายามวิเคราะห์สถานการณ์โลกซึ่งอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงหารือและอนุมัติแผนการทำงานใหม่เกี่ยวกับการต่างประเทศในปี 63-65 ซึ่งในปัจจุบันสปป.ลาวมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 143 ประเทศโดยมีสถานทูตและสำนักงานต่างประเทศ 40 แห่งทั่วโลก ในจำนวนนี้มีสถานทูต 26 แห่ง สำนักงานตัวแทนถาวร 3 แห่ง สำนักงานกงสุล 10 แห่งและสำนักงานกงสุลทั่วไป 1 แห่ง อีกทั้งเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาได้จัดการประชุมกับนักธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองภาคส่วนในการระดมการลงทุนจากต่างประเทศในสปป.ลาว อีกทั้งยังจัดให้มีการประชุมระดับเทคนิคโดยหวังว่าจะปรับปรุงการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ กับสถานทูตสปป.ลาวในต่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการตามนโยบายต่างประเทศมีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Foreign_affairs_269.php

สปป.ลาวปรับปรุงคุณภาพของการรวบรวมข้อมูลแรงงาน

สปป.ลาวหวังที่จะเพิ่มคุณภาพของข้อมูลทั้งแรงงานท้องถิ่นและแรงงานต่างชาติในประเทศ เช่นเดียวกับแรงงานสปป.ลาวที่ทำงานในต่างประเทศ ซึ่งบันทึกความเข้าใจ ได้รับการลงนาม Big Data technology ระหว่าง Department of Planning และ Technology Computer and Electronics Institute ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสปป.ลาวและบริษัทจากเกาหลีใต้ POSCO International Corporation และ PentaGate Company Limited  เป็นโอกาสดีในการพัฒนาและเรียนรู้ระบบการจัดการแรงงาน จะช่วยยกระดับการพัฒนาความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลแรงงานจากทุกภาคส่วนและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบจำนวนที่แน่นอนของแรงงานต่างชาติในประเทศรวมถึงแรงงานสปป.ลาวที่ทำงานในต่างประเทศ นอกเหนือจากการดำเนินโครงการศึกษาความเป็นไปได้ สามารถใช้ Big Data technology เพื่อสร้างระบบการจัดการแรงงานต่างชาติและช่วยจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการรวมทั้งกำหนดเวลาสำหรับการศึกษา ทั้งนี้การศึกษาความเป็นไปได้จะใช้เวลาประมาณ 5 เดือนในการตรวจสอบว่าข้อมูลขนาดใหญ่นั้นเหมาะสมและจะเป็นประโยชน์ต่อระบบการจัดการแรงงาน

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-12/12/c_138625963.htm

สำนักงานสถิติสปป.ลาววิจัยการเติบโตของประชากรวัยหนุ่มสาว

สำนักงานสถิติ สปป.ลาวกำลังทำการวิจัยเพื่อประเมินอัตราการเติบโตของประชากรเยาวชนในช่วงปี 58-78 เพื่อเป็นข้อมูลอันมีค่าที่จะช่วยในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการสำรวจในปี 58 เปิดเผยว่าประชากรสปป.ลาวประกอบด้วยวัยคนหนุ่มสาวมากกว่าครึ่งหนึ่ง การสำรวจสำมะโนประชากรและเคหะครั้งที่ 4 ในปี 58 แสดงให้เห็นว่าร้อยละ 60 ของประชากรสปป.ลาวอายุต่ำกว่า 25 ปีในขณะที่ผู้ที่มีอายุระหว่าง 10 – 24 ปีถึงร้อยละ 31 ตอนนี้ 1 ใน 3 ของประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองและประชากรส่วนใหญ่ยังคงอาศัยอยู่ในชนบท ทั้งนี้ สปป.ลาวจะดำเนินการสำรวจสำมะโนประชากรประชากรในปี 63 โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบอายุเพื่อให้ข้อมูลที่ทันสมัย อย่างไรก็ตามประชากรวัยหนุ่มสาวจะนำไปสู่โอกาสและความท้าทายสำหรับภาคสาธารณสุข การศึกษา สวัสดิการและแรงงาน โดยจะทำการวิจัยทั้งในเรื่องการเติบโตและการเปลี่ยนแปลง เช่น อัตราการเกิดการตายและการย้ายถิ่นฐาน เพื่อกำหนดแผนและนโยบายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาของรัฐบาล จากการสำรวจสำมะโนประชากรและเคหะ ครั้งที่ 4 ในปี 58 พบว่ามีประชากรทั้งหมด 6,492,228 คน เพิ่มขึ้น 5,621,982 คนจากปี 48 ซึ่ง 3,237,458 เป็นเพศหญิง

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-12/11/c_138622972.htm

สปป.ลาวกระตุ้นการลงทุนด้านโภชนาการอย่างต่อเนื่อง

สปป.ลาวจะยังคงส่งเสริมการลงทุนด้านโภชนาการในระดับท้องถิ่นเพื่อสร้างชุมชนที่สามารถผลิตอาหารและวัตถุดิบได้อย่างยั่งยืนและคนในชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่า แม้ว่าสถานการณ์การขาดสารอาหารจะดีขึ้น แต่การลงทุนด้านโภชนาการสำหรับชุมชนท้องถิ่นยังคงมีต่อเนื่องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานการขาดแคลนลดลงจาก 44% ปัจจุบันอยู่ที่ 33%แต่ยังมีในอีกหลายแขวงยังขาดการสนับสนุนทำให้การเปลี่ยนดังกล่าวยังไม่น่าพอใจมากนัก เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกล่าวว่าสาระสำคัญของงานโภชนาการในปีนี้คือ ‘การลงทุนด้านโภชนาการเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์การเจริญเติบโตและความเจริญรุ่งเรือง’ ความสำคัญของการลงทุนด้านโภชนาการที่เพิ่มขึ้นในภาคส่วนต่าง ๆโดยเฉพาะที่สำคัญคือภาครัฐจะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับรัฐบาลสปป.ลาวที่จะบรรลุเป้าหมายด้านโภชนาการที่ยั่งยืนที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่และความยั่งยืนของชาติในภายภาคหน้า

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_DPM267.php

รัฐบาลสปป.ลาวระบุถึงข้อจำกัดในการทำธุรกิจของญี่ปุ่นในสปป.ลาว

ตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนจากสปป.ลาวและญี่ปุ่นได้ร่วมประชุมประจำปีครั้งที่ 13 โดยมีวัตถุประสงค์หารือและแก้ปัญหากฎเกณฑ์การลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในสปป.ลาว โดยในที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นที่เผชิญในสปป.ลาว จุดมุ่งหมายในหัวข้อดังกล่าวเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและดึงดูดนักลงทุนญี่ปุ่นมายังสปป.ลาวโดยหาวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะสำหรับแต่ละประเด็นที่แตกต่างกัน โดยก่อนหน้านี้ในการประชุมครั้งที่ 12 ช่วยให้เข้าใจปัญหาของญี่ปุ่นทำให้ได้รับการแก้ไขในหลายประเด็น โดยรัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศเพื่อเป็นตัวกลางในการเจรจาของบริษัทญี่ปุ่นกับบริษัทในสปป.ลาวและยังมีการกำหนดกฎเกณฑ์ด้านภาษีที่เป็นประโยชน์มากขึ้นแก่บริษัทญี่ปุ่น ซึ่งในการประชุมครั้งนี้เป้าหมายก็ยังคงเป็นการแก้ไขในประเด็นอื่นๆต่อไปเพื่อกระตุ้นการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในโครงการต่างๆมูลค่า 203 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการที่ญี่ปุ่นลงทุนมีส่วนทำให้เกิดการจ้างงานและการแบ่งปันเทคโนโลยีการผลิตและความรู้ด้านการจัดการทำให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาวและการพัฒนาประเทศในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Public.php

NA สนับสนุนวาระการพัฒนาประเทศ

 ในช่วง 20 วันที่ผ่านมา สภาแห่งชาติ (NA) ร่วมกับรัฐบาลสปป.ลาวในการพิจารณาและอนุมัติกฎหมายใหม่ 8 ฉบับและฉบับปรับปรุงใหม่ 10 ฉบับรวมถึงพิจารณาอนุมัติการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนงบประมาณปี 62 และ 63 อีกด้วยนอกจากนี้ในที่ประชุม NA ได้ให้คำแนะนำและมาตรการต่าง ๆ แก่รัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขรวมถึงแผนการพัฒนาประเทศ โดย NA จะตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายและการแก้ปัญหาและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้สัมปทานที่ดิน การพัฒนาทักษะการเข้าเมืองรวมถึงการสร้างงาน โดยขอให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายที่ได้รับการอนุมัติใหม่อย่างเข้มงวด ในภายภาคหน้าจะมีการตรวจสอบจากองค์กรอิสระร่วมกับ NA ถึงความคืบหน้าในการแก้ไข้ปัญหาต่างๆรวมถึงประเมินและติดตามผลของวาระพัฒนาประเทศต่อไปเพื่อให้แนวทางในการพัฒนาประเทศเป็นไปตามกรอบแผนงานที่วางไว้   

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_closes_265.php