การค้าชายแดนเมียนมาทะลุ 6.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 19 มกราคม

Daw Cho Thet Mu รองผู้อำนวยการกรมการค้า กระทรวงพาณิชย์เมียนมา กล่าวว่า การค้าชายแดนของเมียนมากับประเทศเพื่อนบ้านมีมูลค่า 6.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 19 มกราคม 2567 ในปีงบประมาณปัจจุบัน 2566-2567 นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 4.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 2.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้เมียนมาดำเนินการค้าชายแดนกับจีน ไทย อินเดีย และบังคลาเทศ โดยส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้ ประมง และสินค้าอื่นๆ เป็นหลัก ในขณะที่นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน และสินค้าขั้นกลาง อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ตั้งเป้าที่จะบรรลุเป้าหมายทางการค้าที่ 32.5 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2566-2567 ซึ่งประกอบด้วยการส่งออก 16.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/border-trade-crosses-us6-52-bln-as-of-19-january/

การส่งออกของเมียนมาร์มีมูลค่า 266 ล้านเหรียญสหรัฐในสัปดาห์ที่สามของเดือนธันวาคม 2566

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เผยว่ามูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์อยู่ที่ 266 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์ที่สามของเดือนธันวาคม เมียนมาร์มีการส่งออกสินค้าไปยัง ปากีสถาน ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม แคนาดา สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยผ่านเส้นทางทางทะเล ซึ่งอุปสงค์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปลายปี นอกจากนี้ การส่งออกเครื่องแต่งกายสำเร็จรูปที่ผลิตแบบตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการค้าผ่านด่านชายแดนกัมปติของเมียนมาร์กับประเทศจีนมีมูลค่ารวม 21.381 ล้านดอลลาร์ในเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม ชายแดนกัมปติมีเป้าหมายทางการค้าเดิมที่ 18.5 ล้านดอลลาร์ในเดือนธันวาคม ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 16 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้ามูลค่า 2.5 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่การค้าชายแดนกัมปติ ณ สัปดาห์ที่สามของเดือนธันวาคม เกินเป้าหมายทางการค้าของเดือนนี้ ซึ่งมีมูลค่าการค้ามากกว่า 21 ล้านดอลลาร์ มีการส่งออกมูลค่า 19.029 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้ามูลค่า 2.352 ล้านดอลลาร์ โดยส่งออกสินค้ากล้วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แตงโม ฟักทอง ยางพารา พริก และข้าว Emata เป็นหลัก และมีการนำเข้าวัสดุก่อสร้าง สินค้าทุน และสินค้าขั้นกลาง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-export-bags-us266m-in-third-week-of-dec-2023/

เขตการค้าเมียวดีมีมูลค่าการค้ากว่า 8.985 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 18 วันของเดือนธันวาคม

ตามรายงานสถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมถึง 18 ธันวาคม เขตการค้าเมียวดีสามารถส่งออกมูลค่า 1.976 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 7.009 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมมูลค่าการค้า 8.985 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี ตามการรายงานของกระทรวงฯ พื้นที่การค้าข้ามพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ (เมียนมาร์-ไทย) ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการตรวจสอบสินค้าเพื่อความสะดวกในการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าประมงผัก หัวหอม และพริก ที่เน่าเสียง่าย และปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารของไทยมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้ความต้องการเพิ่มขึ้น ตลอดจนการส่งออกวัตถุดิบอาหาร ทั้งนี้ ในบรรดาสินค้าส่งออกทั้งหมดของเมียนมาร์ พริก หัวหอม และผลิตภัณฑ์ CMP เป็นสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด ด้านสินค้านำเข้ามากที่สุด ได้แก่อะไหล่รถจักรยานยนต์ กระดาษพิมพ์ สบู่ วัสดุเหล็กและเหล็กกล้า แบตเตอรี่แห้ง ชุดผ้าฝ้าย ยางและท่อยาง เครื่องจักรและอุปกรณ์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myawaddy-trade-zone-made-us8-985million-trade-over-18-days-of-december/

ค้าชายแดนผ่านแดนหดตัว เหตุเศรษฐกิจลาวตกต่ำ-เมียนมาสู้รบ

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่าการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน เดือนตุลาคม 2566 มีมูลค่า 139,695 ล้านบาท ลดลง 5.85% แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 70,042 ล้านบาท ลดลง 14.55% และการนำเข้ามูลค่า 69,653 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.90% โดยไทยได้ดุลการค้า มูลค่า 389 ล้านบาท หากแยกเป็นการค้าชายแดนกับ 4 ประเทศ มาเลเซีย สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนมามีมูลค่า 74,778 ล้านบาท ลดลง 14.50% แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 46,223 ล้านบาท ลดลง 15.43% และนำเข้ามูลค่า 28,555 ล้านบาท ลดลง 12.95% ได้ดุลการค้า 17,667 ล้านบาท ส่วนการค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 จีน สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศอื่นๆ มีมูลค่า 64,917 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.6% แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 23,820 ล้านบาท ลดลง 12.80% และนำเข้ามูลค่า 41,098 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.34% ขาดดุลการค้า 17,278 ล้านบาท ทั้งนี้ การค้าชายแดนเดือนตุลาคม 2566 ที่หดตัว เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านยังมีความเปราะบาง ไม่ว่าจะเป็น สปป.ลาว ที่อัตราเงินเฟ้อสูงและค่าเงินกีบยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง สถานการณ์การสู้รบในเมียนมา ส่งผลต่อการส่งออกของไทยไปยังทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งมากกว่า 80% เป็นการค้าชายแดน โดยการส่งออกชายแดนไป สปป.ลาว และเมียนมา หดตัว 14.5% และ 9.9% ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกผ่านแดนไปจีนขยายตัว 9% ขยายตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน สินค้าที่ขยายตัวสูง เช่นทุเรียนสด เพิ่ม 162.8% ไม้แปรรูป เพิ่ม 131.7% และยาง T.S.N.R. เพิ่ม 48.7%

อย่างไรก็ดี การค้าชายแดนและผ่านแดนช่วง 10 เดือนของปี 2566 (มกราคม-ตุลาคม) มีมูลค่า 1,451,068 ล้านบาท ลดลง 2.62% แบ่งเป็นการส่งออก มูลค่า 825,248 ล้านบาท ลดลง 3.26% นำเข้า มูลค่า 625,820 ล้านบาท ลดลง 1.75% ได้ดุลการค้า มูลค่า 199,427 ล้านบาท หากแยกเป็นการค้าชายแดน มีมูลค่า 776,182 ล้านบาท ลดลง 12.49% แบ่งเป็นการส่งออก มูลค่า 485,443 ล้านบาท ลดลง 10.57% นำเข้า มูลค่า 290,739 ล้านบาท ลดลง 15.53% ได้ดุลการค้า มูลค่า 194,703 ล้านบาท และการค้าผ่านแดน มูลค่า 674,886 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.92% แบ่งเป็นการส่งออก มูลค่า 339,805 ล้านบาท เพิ่มขึ้น9.53% นำเข้า มูลค่า 335,081 ล้านบาท เพิ่มขึ้น14.44% ได้ดุลการค้า 4,724 ล้านบาท

ที่มา : (เว็บไซต์แนวหน้า) : https://www.naewna.com/business/774985

ชายแดนหม่องตออำนวยความสะดวกด้านการเกษตร การประมง และสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไปยังบังกลาเทศ

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาร์ขนส่งผลิตผลทางการเกษตร การประมง และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปไปยังบังกลาเทศผ่านชายแดนหม่องตอ ในปัจจุบัน สินค้าส่วนใหญ่จะถูกส่งไปยังชายแดนโดยใช้เส้นทางซิตตะเวย์-อังวะ-หม่องดอ จากนั้นจึงส่งออกไปยังบังคลาเทศผ่านเขตเศรษฐกิจกันยินชอง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1 ถึง 21 พฤศจิกายน เมียนมาร์ส่งออกถั่วหมากจำนวน 38.25 ตัน มูลค่า 0.06 ล้านเหรียญสหรัฐ ลูกเนียง 27 ตัน 0.008 ล้านเหรียญสหรัฐ ขิงสด 110 ตัน 0.022 ล้านเหรียญสหรัฐ มะม่วง 7 ตัน 0.003 ล้านเหรียญสหรัฐ ปลายี่สก 101.3 ตัน 0.128 ล้านเหรียญสหรัฐ และปลาตากแห้งตัวเล็ก 45.5 ตัน 0.029 ล้านเหรียญสหรัฐ ปลาแอนโชวี่แห้ง 46 ตัน 0.017 ล้านเหรียญสหรัฐ ปลากระโห้ 1.54 ตัน 0.002 ล้านเหรียญสหรัฐ พุทราแช่อิ่มแพ็ค 22 ตัน 0.007 ล้านเหรียญสหรัฐ ยาหม่องสมุนไพร Tun Shwe Wah 9 ตัน 0.005 ล้านเหรียญสหรัฐ และทานาคา 13 ตัน บรรจุ 0.007 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปยังบังกลาเทศโดยผ่าน ชายแดนเมืองหม่องตอ อย่างไรก็ดี มูลค่าการค้าข้ามพรมแดนผ่านชายแดนเมืองหม่องตอของเมียนมาร์กับบังกลาเทศตั้งเป้าไว้ที่ 1.53 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้ามูลค่า 0.03 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่การค้าที่แท้จริงมีมูลค่า 0.286 ล้านเหรียญสหรัฐ เฉพาะการส่งออก คิดเป็นร้อยละ 18.69 ของเป้าหมายการค้า

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/maungtaw-border-facilitates-agri-fisheries-and-industrial-export-products-to-bangladesh/

การค้าชายแดนจีน-เมียนมาร์ทะลุ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา

กระทรวงการต่างประเทศเมียนมาร์ เผยสถิติมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาร์และจีนเพิ่มขึ้น กว่า 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่เดือนเมษายน-ตุลาคม) ของปีการเงินปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 จากเดิม 1.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2565-2566 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าการค้าชายแดนจีน-เมียนมาร์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 708.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้  อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ทำการค้าข้ามพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนผ่านทางด่านชายแดนมูเซ, ลแวแจ, ชินฉ่วยฮ่อ, กัมปติ และ เชียงตุง โดยมูลค่าการค้าชายแดนของแต่ละด่านอยู่ที่ 1.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, 703.123 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, 63.823 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, 41.093 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 4.992 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ ซึ่งมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์ประมง แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ในขณะที่สินค้านำเข้าหลักได้แก่ สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sino-myanmar-border-trade-surpasses-us2-2-bln-in-past-7-months/#article-title

เส้นทางส่งออก พะโม-ลแวแจ สร้างความเสียหายให้กับการขนส่งแตงโมไปยังประเทศจีน

เส้นทางส่งออกแตงโมของเมียนมาร์ไปยังจีนได้เปลี่ยนมาใช้เส้นทางมัณฑะเลย์-รัฐฉาน (เหนือ) -เชียงตุง-เมืองลา ท่ามกลางปัญหาการค้าที่ชายแดนมูเซ ซึ่งการปิดชายแดนมูเซ ส่งผลให้ผู้ส่งออกแตงโมบางรายต้องย้ายไปยังเส้นทางพะโม-ลแวแจ อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 2021 เกิดข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 ทำให้การส่งออกแตงโมและแตงไทยของเมียนมาร์ไปยังจีนยากขึ้น เนื่องจากระเบียบศุลกากรจีนเข้มงวดมากขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในจีน ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งและเกิดความเสียหายต่อคุณภาพแตงโม ในขณะที่จีนซึ่งถือเป็นตลาดหลักของเมียนมาร์ในการส่งออกแตงโมง จากรายงานเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีเพียงรถบรรทุกนับเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 คันเท่านั้นที่ สามารถข้ามไปเพื่อส่งสินค้าได้ ส่งผลให้แตงโมถูกจำหน่ายหมดคลังทางฝั่งจีน ในขณะที่รถบรรทุกมากกว่า 500 คันเข้าคิวรอขนส่งในฝั่งเมียนมาร์ ทำให้ผู้ค้าของเมียนมาร์จำเป็นต้องคำนึงถึงเวลาในการจัดส่ง ราคา และความสามารถในการทำกำไร เนื่องจากแตงโมเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่าย ขณะเดียวกันก็พยายามสำรวจตลาดใหม่นอกเหนือจากประเทศจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/bhamo-lweje-export-route-damages-watermelon-shipments-to-china/

การค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์ สร้างรายได้ 3 พันล้านดอลลาร์ใน 7 เดือน

ในช่วงเจ็ดเดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงตุลาคม) ของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 มูลค่าการค้าชายแดนของเมียนมาร์กับประเทศไทยมีมูลค่า 3.034 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตัวเลขมูลค่าการค้าชายแดนดังกล่าวลดลงจากเดิม 3.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งบ่งชี้ว่าลดลงอย่างมากที่ 125.558 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ เมียนมาร์ดำเนินการค้าข้ามพรมแดนกับไทยผ่านทางด่านท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง มะริด ทิกิ และมอต่อง ซึ่งด่านชายแดนทิกิ เป็นด่านที่มีมูลค่าการค้ามากที่สุดอยู่ที่ 1,889 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ที่ชายแดนเมียวดีมีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 882.303 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ท่าขี้เหล็ก 94.397 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มะริด 68.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เกาะสอง 89.226 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และที่มอต่อง 10.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ดำเนินการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านจีน ไทย บังคลาเทศ และอินเดีย โดยมีสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ การประมง แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ในขณะที่สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-border-trade-earns-us3-bln-in-7-months/

มูลค่าการค้าชายแดนเมียวดี มีมูลค่ารวม 74.643 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม

เมียนมารายงาน มูลค่าการค้าชายแดน ระหว่างวันที่ 1-27 ตุลาคม 2566 ผ่านชายแดนเมียวดีกับไทยมีมูลค่ารวม 74.643 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 17.594 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 57.049 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้าส่งออก ได้แก่ พริก กะหล่ำปลี หัวหอม ถั่วหมากแห้ง ถั่วดำ กรัมดำ มะยมแห้ง ปู กุ้ง ปลาสับ ปลาแอนโชวี่ ปลาฮิลซา และผลิตภัณฑ์ปลาอื่นๆ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ผลิตแบบ CMP วัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นที่ต้องการมากในตลาดของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมี อาหารสัตว์ จักรยาน เสื้อผ้า เครื่องเขียน ชิ้นส่วนรถยนต์ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ชิ้นส่วนจักรยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง วัตถุดิบ CMP ยา รองเท้า ผลไม้ต่างๆ ของใช้ในครัวเรือน สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าอุตสาหกรรม เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมง เป็นต้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myawady-border-trade-value-totals-us74-643-mln-in-oct/

นายกฯ หนุนศุลกากรหนองคาย One Stop Service ดันส่งออกชายแดน-จีน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างเป็นประธานการประชุมติดตามประเด็นปัญหาการส่งออก ขั้นตอนพิธีศุลกากร การค้าชายแดนและการพัฒนา One Stop Service ระหว่างราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ สำนักงานศุลกากร จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยนายเศรษฐา ระบุว่า ตนต้องการให้จังหวัดได้พัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อผลักดันศูนย์ให้บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service :OSS) ทำให้การบริการภาครัฐรวมอยู่ในระบบเดียว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับความต้องการและส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีน หากจังหวัดหนองคายดำเนินการเป็นจังหวัดแรก ที่รวมบริการทั้งหมด เพื่อขยายตัวอย่างไปจังหวัดต่างๆ สำหรับไทย-จีนมีความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งจากการพูดคุยหารือนักลงทุนประเทศจีนมีความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งสินค้าเกษตร ขอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเร่งประสานงานให้เกิดความร่วมมือ นำนักลงทุนมาลงทุนในประเทศไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยปัจจุบันจุดผ่อนปรนจังหวัดหนองคายมีด่านชายแดนริมโขงอยู่ 4 จุด ซึ่งค่อนข้างแออัดหลังจากสถานการณ์โควิดปรับตัวดีขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงเปิดไม่ครบทุกจุด ด้านมูลค่าการค้า ณ จุดผ่านแดนอยู่ที่ประมาณ 400-500 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับ สปป.ลาว มาโดยตลอด

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-1425864