‘เวียดนาม’ เผยกิจการไม่พร้อมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

สมาพันธ์แรงงานเวียดนาม (VGCL) ได้เสนอให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 7% ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. แต่คนวงในจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอฉบับนี้ คุณ Bạch Thăng Long รองผู้อำนวยการบริษัท Garment 10 Corp. กล่าวว่าไตรมาสที่ 1 การแพร่ระบาดของเชื้อโรคส่งผลกระทบทางลบต่อการเงินของบริษัท ในขณะที่ต้นทุนเงินเดือนพนักงานที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้กิจการของธุรกิจขนาดเล็กได้รับภาระสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงแนะให้เลื่อนค่าแรงขั้นต่ำจนถึงปี 2566 โดยค่าแรงขั้นต่ำควรปรับเพิ่มขึ้น เพื่อจัดการกับเงินเฟ้อเท่านั้น ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดค่าจ้างแรงงานของเวียดนาม จะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 12 เม.ย. เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อเสนอครั้งนี้ต่อไป

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1172358/firms-not-ready-for-higher-minimum-wages.html

ค่าแรงขั้นต่ำไม่เหมาะสมทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในสปป.ลาว

สหพันธ์แรงงานลาว (LFTU) เรียกร้องให้ภาคธุรกิจต่างๆ รวมถึงโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า จ่ายค่าแรงขั้นต่ำให้คนงานเพิ่มขึ้นจาก 1,100,000 กีบเป็น 1,500,000 กีบต่อเดือนในปีนี้ สหพันธ์ฯ กังวลว่าลาวจะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ หากบริษัทไม่จ่ายค่าแรงขั้นต่ำที่สูงขึ้น โดยที่คนจำนวนมากจะแห่ไปทำงานที่ไทย ค่าครองชีพในประเทศลาวสูงขึ้นและค่าแรงขั้นต่ำไม่ตรงกับความต้องการพื้นฐานของคนงาน ในขณะเดียวกัน นายจ้างในประเทศไทยมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้นและเสนอค่าจ้างที่เหมาะสม บริษัทในลาวประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานและขาดข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น กระบวนการจัดหางานอย่างไม่เป็นทางการและการขาดการคุ้มครองการจ้างงาน ในขณะเดียวกัน ยังขาดตัวบ่งชี้ตลาดงานเกี่ยวกับโอกาสในการจ้างงานและการว่างงาน ส่วนใหญ่มีทักษะและสามารถหาเงินได้ในประเทศไทย ซึ่งค่าแรงขั้นต่ำจะสูงกว่าในลาว สถิติจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมระบุว่ามีแรงงานกว่า 246,000 คน เดินทางกลับจากไทยไปยังลาวตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ เมื่อมีการเลิกจ้างคนจำนวนมาก แต่มีแรงงานมีฝีมือ 150,000 คน เดินทางกลับประเทศไทยในเดือนมกราคมปีนี้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Low63.php

ค่าแรงขั้นต่ำเมียนมาเริ่มบังคับใช้พฤศจิกายนนี้

ค่าจ้างขั้นต่ำรายวันคาดจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน จากรายงานในวันที่ 18 มิถุนายนของสมาชิกของคณะกรรมการระดับชาติ สมาพันธ์สหภาพแรงงานในเมียนมาและสหพันธ์แรงงานอาคารและไม้แห่งเมียนมากล่าวว่าภูมิภาคและรัฐส่วนใหญ่ในประเทศได้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับค่าแรงขั้นต่ำใหม่ กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำปี 2556 กำหนดให้มีการทบทวนค่าจ้างพื้นฐานทุก ๆ สองปี การปรับปรุงล่าสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ 4,800 จัต ซึ่งการกำหนดค่าจ้างใหม่ควรจะตั้งถูกกำหนดในเดือนพฤษภาคม แต่ล่าช้าออกไปเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 หากไม่มีการคัดค้านภายใน 60 วัน อัตรานั้นจะมีผลบังคับในเดือนพฤศจิกายนนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-myanmar-daily-minimum-wage-likely-november.html