เวียดนามเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนน้ำตาลไทย

กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม เรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด 42.99% พร้อมกับตอบโต้การอุดหนุน 4.65% สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่มีต้นกำหนดจากประเทศไทย สิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากได้รับผลการสอบสวนเบื้องต้นที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 ก.พ. ส่งผลให้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าตัดสินใจกำหนดอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและดแทนการเก็บภาษีชั่วคราว สำหรับผลิตภัณฑ์อ้อยที่มาจากประเทศไทย ทั้งนี้ ผลการสอบสวน ระบุว่าผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่นำเข้าจากตลาดไทย ทั้งน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์และน้ำตาลทรายไม่ขัดสี ได้รับการอุดหนุนและทุ่มตลาด 47.64% ประเด็นดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากธุรกิจไทยจัดส่งน้ำตาล 1.3 ล้านตันไปยังตลาดเวียดนามในปีที่แล้ว พุ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 330.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-imposes-anti-dumping-and-anti-subsidy-tax-on-thai-sugar-866580.vov

เวียดนามเผยกระทรวงฯ โต้ทุ่มตลาด จ่อเก็บภาษีน้ำตาลจากไทย

กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (MoIT) อนุมัติเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดน้ำตาลของไทยในอัตรา 33.88% อัตราภาษีดังกล่าวจะได้รับการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่เป็นธรรม การตัดสินใจเรียกเก็บภาษีเกิดขึ้นหลังจากกระทรวงฯ เปิดการสอบสวนในเดือนกันยายน 2563 เพื่อพิจารณา หากว่าน้ำตาลที่นำเข้าจากไทยนั้น ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลหรือไม่ ซึ่งต่อมาพบว่าธุรกิจไทยส่งออกน้ำตาลไปยังเวียดนามราว 1.3 ล้านตัน พุ่ง 330.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลเสียหายต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลของเวียดนาม ทำให้โรงงานแปรรูปน้ำตาลจำนวนมากต้องปิดกิจการชั่วคราวและปลดพนักงาน โดยทางกระทรวงฯ ระบุว่ามีคนตกงานมากถึง 3,300 คน และเกษตรกรกว่า 93,000 คนที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว ดังนั้น ทางกระทรวงฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จะทำการตรวจสอบข้อมูลและหารือ คาดว่าผลการสอบสวนจะสิ้นสุดในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ministry-imposes-antidumping-tax-on-sugar-from-thailand/196207.vnp

เมียนมาคาดราคาน้ำตาลพุ่งตามราคาตลาดโลก

ผู้ค้าน้ำตาลในเมียนมาคาดราคาน้ำตลาดจะสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเนื่องจากความต้องการทั่วโลกที่สูงขึ้นและการระบาดของ COVID-19 ทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักนำไปสู่การขาดแคลนในบางส่วนของโลกรวมถึงจีน เมียนพยายามมานานหลายปีจะต้องการจะเพิ่มการผลิตน้ำตาล แต่ก่อนหน้ามีข้อกำหนดทางศุลกากรที่เข้มงวดการส่งออกน้ำตาลไปยังจีนจึงหยุดชะงักไปเมื่อต้นปี ขณะเดียวกันชาวไร่อ้อยในพื้นที่ก็ต้องลดการผลิตลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สต๊อกน้ำตาลก่อนหน้านี้ที่เมืองชายแดนมูเซถูกขายจนหมด นอกจากนี้ยังมีความต้องการน้ำเชื่อมบางส่วนจากจีนด้วยเช่นกัน ซึ่งปริมาณสำรองน้ำตาลทั่วโลกกำลังลดลงและราคาสูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาได้หารือกับโรงงานน้ำตาลไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมเกี่ยวกับการกำหนดราคาขั้นต่ำอ้อยก่อนสิ้นเดือนนี้ก่อนฤดูการหีบอ้อยจะเริ่มขึ้น ปัจจุบันราคาอ้อยอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 42,000 จัตต่อตัน ในอนาคตอาจจะไม่ต่ำกว่า 40,000 จัตต่อตันซึ่งหนุนราคาท้องถิ่นให้สูงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อสต็อกในท้องถิ่นลดลงและพื้นที่เพาะปลูกลดลงราคาอ้อยและน้ำตาลอาจเพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า ก่อนหน้านี้เมียนมาส่งออกน้ำตาลทรายดิบไปยังจีนแต่เนื่องจากข้อจำกัดการนำเข้าและการปราบปรามการค้าที่ผิดกฎหมายทำให้ชาวไร่ค่อยๆ เลิกปลูกอ้อยมากขึ้น ในความเป็นจริงคนวงในคาดการณ์การหดตัวของพื้นที่เพาะในปีงบประมาณ 63-64 เหลือเพียง 350,000 เอเคอร์ลดลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับ 7 ปีที่แล้วและต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะเดียวกันก็มีนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เนื่องจากโรงงานน้ำตาลมีเพียง 2 แห่งจาก 29 แห่งที่สามารถผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ปีงบประมาณ 62-63 มีการนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์มากกว่า 57,000 ตันซึ่งน้อยกว่าก่อนหน้านี้ประมาณร้อยละ 40-50 เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นและข้อจำกัดของรัฐบาลเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-anticipates-higher-sugar-prices-demand-rises.html

น้ำตาลเมียนมาล้นตลาดทำราคาตกต่ำในรอบ 10 ปี

สมาคมผู้ประกอบการน้ำตาลและอ้อยของเมียนมาเผยปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไปทำให้ราคาตกต่ำในรอบ 10 ปี เนื่องจากขณะนี้น้ำตาลสำหรับการส่งออกยังคงค้างอยู่ในประเทศเป็นจำนวนมาก ตามการคาดการณ์อาจมีสินค้าคงเหลือในประเทศ 150,000 ถึง 200,000 ตันและราคาอยู่ระหว่าง 840-860 จัตต่อ viss ซึ่งต่ำที่สุดในรอบทศวรรษ การบริโภคลดลงอย่างมากเพราะไม่มีงานเทศกาลหรืองานอีเว้นท์ในช่วง COVID-19 เนื่องจากผู้คนจับจ่ายน้อยลงจึงส่งผลกระทบต่อตลาดขนมและเครื่องดื่มที่ทำจากน้ำตาลซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำตาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะนี้เมียนมากำลังพยายามจะทำทุกทางเพื่อการส่งออกไปยังจีน แม้พื้นที่เพาะปลูกอ้อยจะลดลงแต่ผู้ค้าคาดว่าราคาจะยังคงลดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเป็นผลมาจากปริมาณที่มากเกินไปและการบริโภคที่ลดลง ขณะนี้มีไร่อ้อยในเมียนมาไม่ถึง 50,000 เอเคอร์และลดลงจากหน้านี้ที่มีประมาณ 460,000 เอเคอร์ ซึ่งถูกทดแทนโดยถั่วชนิดต่าง ๆ  เนื่องจากสินค้าคงเหลือมีจำนวนมากเกษตรกรจึงขอจำกัดการนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศ ทั้งนี้ความต้องการและพื้นที่ปลูกอ้อยที่ลดลงยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลต่อไปตามห่วงโซ่คุณค่า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/sugar-glut-myanmar-leads-prices-10-year-low.html

เวียดนามส่งเสริมตลาดน้ำตาลในประเทศ

คุณ Tran Tuan Anh รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าขอให้หน่วยงานทุกภาคส่วน ดำเนินมาตรการเกี่ยวกับการเยียวยาทางการค้าระหว่างประเทศและส่งเสริมการตลาดแก่ผลิตภัณฑ์น้ำตาล ในขณะเดียวกัน ทางหน่วยงานจะสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้า การส่งออกและการผลิตที่อาศัยข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมธุรกิจในการป้องกันทางการค้า ทั้งนี้ ในปีนี้ กรมการนำเข้า-ส่งออก ยื่นกฤษฎีกาให้กับรัฐบาล ภายใต้ “185/2013 / ND-CP” ในการลงโทษสำหรับการละเมิดกิจกรรมทางการค้า การผลิตที่เกี่ยวข้องกับสินค้าลอกเลียนแบบหรือสินค้าต้องห้ามและการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เป็นต้น นอกจากนี้ เวียดนามสามารถผลิตอ้อยอยู่ที่ 7.3 ล้านตัน และผลผลิตรวมประมาณ 769,000 ตัน ในปี 2562-2563

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-promotes-measures-to-manage-local-sugar-market-417510.vov

ผลผลิตน้ำตาลเมียนมาต่ำสุดในรอบ 7 ปี

รองประธานสมาคมผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยเมียนมากล่าวว่าการผลิตอ้อยในเมียนมาคาดว่าจะลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี ในปีงบประมาณ 2563-2564 จากความต้องการของตลาดโลกที่ลดลง เมียนมาส่งออกน้ำตาลดิบที่ไม่ผ่านการกลั่นไปยังจีน อย่างไรก็ตามจีนได้เพิ่มภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 85 และปราบปรามผู้ค้าที่ผิดกฎหมายตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งนำไปสู่อุปทานส่วนเกินในปัจจุบัน เป็นผลให้การส่งออกน้ำตาลได้ลดลงในช่วงสองปีที่ผ่านมา ในอนาคตคาดว่าเกษตรกรจะลดการปลูกอ้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีงบประมาณ 2553-2564 ที่ลดลงเหลือเพียง 350,000 เอเคอร์ หรือลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเจ็ดปีที่ผ่านมาและเป็นสถิติต่ำที่สุด นอกเหนือจากประเทศจีนแล้วมีเพียงไม่กี่ประเทศที่นำเข้าน้ำตาล ส่วนใหญ่ที่ผลิตได้ในตอนนี้จึงถูกนำไปใช้ในการบริโภคภายในประเทศ เมื่อพื้นที่เพาะปลูกลดลงโรงงานจะปิดตัวลงอย่างช้า ๆ และอาจต้องนำเข้าน้ำตาลเพื่อบริโภคแทนเนื่องจากชาวไร่อ้อยจะไม่ปลูกถ้าไม่ทำกำไร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-sugar-production-hit-lowest-level-seven-years.html

อุตสาหกรรมน้ำตาลเวียดนาม ดิ่งลงอย่างมาก

จากข้อมูลของสมาคมอ้อยและน้ำตาลเวียดนาม (VSSA) เปิดเผยว่าปัจจุบันเวียดนามมีจำนวนธุรกิจน้ำตาลกว่า 40 แห่ง และในช่วงปี 2560-2561 มีโรงงานผลิตน้ำตาลทั้งประเทศจำนวน 37 โรงงาน ผลผลิตน้ำตาลรวมทั้งสิ้น 1.47 ล้านตัน ขณะเดียวกัน ในปี 2561-2562 มีผลผลิตน้ำตาล 1.17 ล้านตัน สำหรับพื้นที่ปลูกอ้อมในประเทศลดลงร้อยละ 30-60 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบในการป้อนเข้าสู่โรงงาน ประกอบกับเกษตรกรเลิกปลูกอ้อย เพราะว่ายิ่งเกษตรกรเพาะปลูกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งขาดทุนมากเท่านั้น จึงหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมน้ำตาลเวียดนามได้รับความกดดันจากการฉ้อโกงทางการค้าและการลักลอบนำเข้าจากประเทศไทย ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลเวียดนามอย่างมาก และเป็นเวลายาวนาน โดย 1 ใน 3 ของโรงงานได้ปิดตัวลง และพื้นที่ไร่อ้อยหลายแห่งถูกทิ้งไว้ ซึ่งผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลต้องการแรงสนับสนุนจากภาครัฐบาลมากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบสินค้า และการปลอมแปลง เพื่อที่ว่าเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสินค้าต่างประเทศในตลาดเวียดนามได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-sugar-industry-in-serious-decline-406612.vov