สปป.ลาวหวังว่าจะจุดประกายการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าในปีหน้า

สปป.ลาวคาดว่าจะนำเข้ายานพาหนะไฟฟ้าในปีหน้า เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้น้อยที่สุด การนำเข้ายานพาหนะไฟฟ้าจะเป็นไปตามคำสั่งของรัฐบาล วิสาหกิจไฟฟ้าสปป.ลาวและ บริษัท อีวีลาว จำกัด กำลังทดสอบการติดตั้งสถานีชาร์จ จะติดตั้ง 20 สถานีในเวียงจันทน์ในปีนี้ สถานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ สนามบินนานาชาติวัตไต สถานีขนส่งสะพานมิตรภาพลาว – ไทยแห่งแรกและหน่วยงานราชการต่างๆ การทดสอบกำลังดำเนินการเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการดำเนินงานระหว่างรถยนต์ไฟฟ้าและเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงมาตรการด้านความปลอดภัยและเพื่อยืนยันคุณภาพของยานพาหนะ ที่ผ่านมาสปป.ลาวนำเข้าเชื้อเพลิงจำนวนมากเป็นประจำทุกปี ซึ่งทำให้เกิดการขาดดุลการค้าเป็นจำนวนมากในช่วงหลายปี ในปี 59 นำเข้าน้ำมันเกือบ 2,000 ล้านลิตรคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐและเพิ่มขึ้นเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว การทดสอบระบบชาร์จสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าเป็นส่วนสำคัญของการเตรียมการระยะยาวเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาด อีกทั้งยังส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในภาคการขนส่ง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-hoping-spark-use-electric-vehicles-next-year-102441

กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้สนับสนุนทักษะด้านเทคนิคเพื่อปรับปรุงการผลิตในสปป.ลาว

กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ยังคงฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดทักษะด้านเทคนิคและปรับปรุงผลผลิตของเกษตรกรในท้องถิ่น มีคน 40 คนได้รับการฝึกฝนให้เป็นวิทยากรที่ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตร ห้วยซอน-ห้วยซั้ว หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสอนผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อช่วยเกษตรกรเพิ่มผลผลิตโดยการปรับปรุงเทคนิคการผลิตพืชผล เพื่อสร้างความมั่นใจด้านความมั่นคงด้านอาหารของชาติ ผ่านการทำฟาร์มที่สะอาดปลอดภัยและยั่งยืน สร้างศักยภาพการผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมและความทันสมัย และมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าถึงเกษตรกร 3-5 คนในแต่ละหมู่บ้าน คาดว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมาย 60-70% ของเป้าหมายภายในปี 63 และ 100% ภายในปี 68 หากเกษตรกรรู้มากขึ้นเกี่ยวกับเทคนิคการผลิตที่มีประสิทธิภาพจะช่วยหนุนจำนวนหมู่บ้านเกษตรกรรมแบบจำลอง กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้รายงานในแผนพัฒนา 5 ปีจนถึงปี 68 ที่คาดว่าภาคส่วนนี้จะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 3.4% นี่หมายถึงว่าภาคส่วนนี้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจของประเทศถึง 19%

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/agriculture-ministry-bolsters-technical-skills-improve-farm-production-laos-102301

ความไม่สมดุลของแรงงานเป็นสาเหตุของการว่างงานใน สปป.ลาว

ความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของแรงงานในบางภาคส่วนเป็นปัญหาที่ท้าทายสำหรับสปป.ลาวในความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ในปีนี้คาดว่าจะสูงถึง 4,400 คน แต่มีแรงงานเพียง 1,350 คนเท่านั้น  นอกจากนี้ภาคเกษตรกรรมของประเทศ ปีนี้มีความต้องการแรงงาน 2,500 คนในขณะที่มีเพียง 1,600 คนเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามบางอุตสาหกรรม เช่น การผลิตไฟฟ้า การจัดการน้ำ การเงินการประกันภัย การสื่อสารและการขนส่ง การจัดหาแรงงานเกินดุลสูงกว่าความต้องการ หนึ่งในปัญหาคือส่วนใหญ่ต้องการเรียนหลักสูตรการบริหารและการจัดการซึ่งมีจำนวนงานว่างน้อยที่สุด ซึ่งรัฐบาลสปป.ลาวได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการเว็บไซต์จ้างงานรายใหญ่ที่สุดของประเทศคือ 108 Job ในเดือนกรกฎาคม ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมกันพัฒนาระบบข้อมูลตลาดแรงงานเพื่ออัปโหลดตำแหน่งงานว่าง คือ www.lmi.molsv.gov.la และ 108.jobs ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทในสปป.ลาวที่มีตำแหน่งงานว่างในภาคต่าง ๆ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2019/08/19/labor-imbalance-causes-unemployment-in-laos/

สปป.ลาววางแผนการปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการค้าที่จุดผ่านแดน

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจะดำเนินการปรับปรุงหรือยกเลิกมาตรการและข้อบังคับที่ไม่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและนำเข้าเพื่อสนับสนุนการค้าข้ามพรมแดน โดยได้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยความสะดวกด้านการค้าครั้งที่ 2 เพื่อประเมินความสำเร็จที่ผ่านมาผ่านการปฏิรูปกฎระเบียบ และเพื่อหารือแผนการดำเนินการอำนวยความสะดวกด้านการค้าข้ามพรมแดนตั้งแต่ปีพ.ศ.60-65 ซึ่งกระทรวงได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้รับผิดชอบการค้าข้ามพรมแดน เป็นตัวบ่งชี้ที่ 8 จาก 10 ที่วัดโดยดัชนีความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ คาดว่าจะปรับปรุงและเร่งการประมวลผลเอกสารและลดค่าธรรมเนียมสำหรับเอกสารที่จำเป็นสำหรับการนำเข้าและส่งออกอย่างน้อย 50% ในปีนี้ การค้าข้ามพรมแดนของสปป.ลาวได้รับการจัดอันดับเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 124 ในปี 61 เป็น 76 ในปีนี้ บรรลุ 39% จาก 50% ของแผน ในการประชุมเดียวกัน World Bank นำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการรถไฟสปป.ลาว – จีนที่เสนอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งสปป.ลาวจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรถไฟ เมื่อรัฐบาลปรับปรุงการจัดการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่ง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-plans-regulatory-reforms-boost-trade-border-crossings-102230

รัฐบาลอินเดียหนุนการฝึกอบรมสำหรับนักเทคโนโลยีท้องถิ่น ในสปป.ลาว

รัฐบาลอินเดียให้การสนับสนุนหลักสูตรสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาและฝึกอบรมซอฟต์แวร์สปป.ลาว (CESDT) ของสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการมูลค่า 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการ CESDT ระหว่างปี พ.ศ. 60-62 เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (IICT) ภายใต้ระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และการสื่อสารของสปป.ลาวและศูนย์พัฒนาคอมพิวเตอร์ขั้นสูงแห่งอินเดีย (C-DAC) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คุณภาพสูงตามนโยบายการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลของรัฐบาลและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งสำหรับสปป.ลาวเป็นโครงการแรกที่อยู่ในโครงการความร่วมมืออาเซียน – อินเดีย แต่ละหลักสูตรจะใช้เวลาประมาณ 200 ถึง 320 ชั่วโมง โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับประกาศนียบัตร C-DAC หลักสูตรรวมถึงการทดสอบซอฟต์แวร์,เทคโนโลยีเว็บขั้นสูง,การเขียนโปรแกรม Android,การจัดการโครงการด้านไอที,การแฮ็กข้อมูลอย่างมีจริยธรรมและความปลอดภัยของข้อมูลและการบริหารระบบลีนุกซ์ที่จะต้องดำเนินการภายใต้โปรแกรม

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Indian_186.php