สปป.ลาว-เวียดนามร่วมมือเพื่อช่วยธุรกิจในสปป.ลาว

สปป.ลาวและเวียดนามได้รับอนุญาตให้เริ่มต้นเส้นทางการบินใหม่ระหว่างประเทศในขณะเดียวกันได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศเวียดนามเหงียนบาหังเป็นประธานการสัมมนาชุมชนธุรกิจชาวเวียดนามที่อยู่ในลาวเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม โดยมีจุดประสงค์ในการหารือแนวทางแก้ปัญหาอุปสรรคที่ธุรกิจเผชิญจากการระบาดของโรค COVID-19 ในที่ประชุมยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน การแบ่งปันข้อมูลที่หลากหลายและประสบการณ์โดยละเอียดในหมู่ชุมชนธุรกิจในช่วงเวลานี้ นอกจากนี้ธุรกิจต้องเริ่มปลี่ยนวิธีการจัดการกิจกรรมทางธุรกิจโดยใช้ประโยชน์จากการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 รวมถึงตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต สำหรับระยะกลางและระยะยาวที่สปป.ลาวจะมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งตามทางเดินเหนือ – ใต้และตะวันออก – ตะวันตกเสร็จสิน เพื่อเชื่อมต่อจีน สปป.ลาว เวียดนามและไทยจะเปิดโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ มากมายซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นวางรากฐานที่แข็งแกร่งของภาคธุรกิจ เพื่อความสามารถด้านการแข่งขันของธุรกิจในอนาคต

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/mutual-support-needed-to-help-vietnamese-firms-in-laos-remove-hurdles-416010.vov

นักลงทุนชาวเวียดนามในสปป.ลาวหารือถึงมาตรการรับมือกับ COVID-19

เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศเวียดนามกล่าวในการประชุมร่วมกับสมาคมธุรกิจเวียดนามเพื่อความร่วมมือและการลงทุนในประเทศสปป.ลาว (BACI) เมื่อวันอาทิตย์ที่เวียงจันทน์ เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการรับมือกับการระบาดของ COVID-19 ซึ่งเศรษฐกิจสปป.ลาวชะลอตัวลงด้วยความเสี่ยงของการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและหนี้สาธารณะอันเนื่องมาจากผลกระทบของไวรัส อีกทั้งรัฐบาลสปป.ลาวได้ใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อกระตุ้นการลงทุนการผลิตและธุรกิจเพื่อสนับสนุน บริษัทต่างๆ ประเทศกำลังเร่งปฏิรูปและการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนต่างประเทศธุรกิจการเงินและการธนาคาร นอกจากนี้โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญบางโครงการเกือบจะแล้วเสร็จ การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานจะสร้างโอกาสที่สำคัญสำหรับองค์กรต่างๆกระตุ้นให้บริษัทเวียดนามเตรียมพร้อมที่จะรับโอกาสดังกล่าว อีกทั้งยังเรียกร้องให้บริษัทเวียดนามในสปป.ลาวปรับปรุงรูปแบบการจัดการองค์กรและใช้โซลูชันออนไลน์เพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และพัฒนาแผนการลงทุนและการผลิตหลังการระบาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเวียดนามมีโครงการในสปป.ลาว 413 โครงการด้วยทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 4.22 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/749526/vietnamese-investors-in-laos-discuss-measures-to-cope-with-covid-19.html

ไทยร่วงเบอร์ 1 ในการจัดหาผักผลไม้ไปยังเวียดนาม

สมาคมผักผลไม้แห่งเวียดนาม (Vinafruit) เปิดเผยว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามนำเข้าผักผลไม้รวมที่ 583 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสหรัฐอเมริกา จีน ออสเตรเลีย เมียนมาและไทย เป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ทั้งนี้ เลขาธิการสมาคมผักผลไม้แห่งเวียดนาม กล่าวว่าการส่งออกผักและผลไม้กำลังเผชิญกับช่วงเวลาอันยากลำบาก ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องกระตุ้นการบริโภคในประเทศ จากการที่ผักมีราคาถูกกว่ามาก ด้วยเหตุนี้เอง คนเวียดนามส่วนใหญ่หันมาบริโภคในประเทศเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน เวียดนามส่งออกไปยังไทยเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ ร้อยละ 233 มูลค่าราว 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามเกินดุลการค้ามากกว่า 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ จากข้อมูลข้างต้น เป็นผลมาจากความพยายามในการผลักดันขยายตลาด เพื่อชดเชยการส่งออกผักผลไม้ที่ลดลงไปจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนไทยในเวียดนาม ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล (Central Group) ที่มีการนำเข้าผักเวียดนามไปไทยเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/thailand-beaten-out-of-no1-in-fruit-and-vegetable-supply-to-vietnam-22295.html

เวียดนามเปิดตัวเลขเดือนม.ค.-มิ.ย. มียอดเกินดุลการค้า 5.46 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าพิษโควิด-19

ในช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย. ปี 2563 เวียดนามมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศสูงถึง 240 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 122.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าที่ 117.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เดือนมิ.ย. เวียดนามมียอดเกินดุลการค้า 1.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน คาดว่ามียอดส่งออก 18.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีมูลค่า 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกัน ยอดส่งออกเสื้อผ้าลดลงร้อยละ 13 สู่ระดับ 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ จีนยังคงเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 34.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เวียดนามขาดดุลการค้าที่ 15.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา : https://vietreader.com/business/5246-vietnams-jan-june-trade-surplus-seen-expanding-to-546bln-despite-virus.html

สมาคมยานยนต์เวียดนามเผยตลาดยานยนต์ในประเทศกลับมาฟื้นตัว

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) ระบุว่าในเดือนมิ.ย. สมาชิกของสมาคมฯ มียอดขายยานพาหนะ 24,002 คัน ลดลง 13% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยรถยนต์ส่วนบุคคลมียอดขายมากที่สุดจำนวน 17,584 คัน เพิ่มขึ้น 35% รองลงมารถที่มีวัตถุประสงค์พิเศษจำนวน 309 คัน เพิ่มขึ้น 18% และรถเชิงพาณิชย์จำนวน 6,109 คัน เพิ่มขึ้น 5% ซึ่งทางสมาคมฯ มองว่าสถานการณ์ปัจจุบัน ตลาดรถยนต์กำลังส่งสัญญาการฟื้นตัว หลังหมดโควิด ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สมาชิกของสมาคมฯ ระบุว่ายอดขายยานพาหนะ 107,183 คัน ลดลง 31% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยยอดขายรถยนต์ทุกประเภทลดลง โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์ที่มีวัตถุประสงค์พิเศษลดลงหนัก 40% อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่าตัวเลขยอดขายดังกล่าวไม่ได้แสดงถึงภาพรวมของตลาดรถยนต์ในประเทศทั้งหมด เนื่องจากยังไม่ได้รวมยอดขายของแบรนด์ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมฯ ได้แก่ Audi, Jaguar Land Rover, Mercedes-Benz, Subaru, Volkswagen, Volvo และ TC Motor เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/automobile-market-on-recovering-track-vama/178435.vnp

เวียดนามลงทุนไปต่างประเทศพุ่ง ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563

จากรายงานทางสถิติของกรมการลงทุนต่างชาติ ภายใต้กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ระบุว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามมีการลงทุนไปต่างประเทศ มูลค่า 222.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งในเดือนมิ.ย. โครงการลงทุนในต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติ 10 โครงการ ยอดการลงทุนในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 2.5 เท่า ทั้งนี้ เยอรมนีเป็นแหล่งการลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 92.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 41.6% ของเงินลงทุนทั้งหมด รองลงมาเมียนมา สปป.ลาว สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ ตามลำดับ โดยสาขาอุตสาหกรรมที่เวียดนามลงทุนไปต่างประเทศมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 137.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (61.9% ของเงินลงทุนทั้งหมด) รองลงมาภาคการค้าปลีกค้าส่ง บริการจัดเลี้ยงที่พักและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตามลำดับ นอกจากนี้ ธุรกิจเวียดนามควรพัฒนากลยุทธ์ด้านการลงทุนระยะกลางและระยะยาว ในขณะเดียวกัน ส่งเสริมความเชื่อมโยงกับองค์กรต่างชาติและพึงระวัง รวมถึงประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันงประเทยบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน63 อย่างมาก

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-investments-abroad-surged-in-first-half-of-2020-22265.html

Vietnam Economic Factsheet : May.2563

เศรษฐกิจเวียดนาม ประจำเดือนพฤษภาคม 2563

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต

  • พื้นที่การเกษตรกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IPI)
  • ยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ด้านการใช้จ่าย

  • ยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคล
  • การใช้จ่ายภาครัฐบาลรวม
  • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่, ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์
  • การค้าระหว่างประเทศ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
  • ทุนสำรองระหว่างประเทศ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด

ภาคการเงิน

  • ปริมาณเงินความหมายกว้าง (M2)
  • อัตราแลกเปลี่ยน
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • สินเชื่อในประเทศ

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data

INFOGRAPHIC : GRDP นครโฮจิมินห์โต 1.02 ในช่วงครึ่งแรกของปี 63

สำนักงานสถิตินครโฮจิมินห์ เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค (Gross Regional Domestic Product : GRDP) ในนครโฮจิมินห์ ขยายตัวชะลอ 1.02% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hcm-city-grdp-rises-102-in-h1/178337.vnp