เวียดนามตั้งเป้าหมายเจาะตลาดฮาลาล
จากข้อมูลของงานส่งเสริมการลงทุนและการค้า (ITPC) ณ นครโฮจิมินห์ ระบุว่าหากเวียดนามไม่ทำการค้าในกลุ่มตลาดฮาลาล จะเสียมูลค่าการส่งออกไปกว่า 23.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งทางผู้อำนวยการศูนย์การค้าและการลงทุน มองว่าตราสินค้าที่ได้รับรองตามมาตรฐานฮาลาลนั้น จะแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของชาวมุสลิมในการบริโภคผลิตภัณฑ์ได้ นับว่ามีส่วนสำคัญในการปกป้องผู้บริโภค เพราะไม่เพียงแต่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางศาสนา แต่ยังสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารที่เข็มงวดของชาวมุสลิม ผ่านการรับรองจากเครื่องหมายรับรองฮาลาล จากสถิติประชากร ระบุว่าชาวมุสลิมทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 1.8 พันล้านคนทั่วโลก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 ของประชากรโลก ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มประชากรชาวมุสลิมอยู่ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทำให้ประเด็นดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เวียดนามได้เปิดโอกาสในการขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการส่งออกไปยังต่างประเทศ รวมไปถึงเวียดนามมีข้อได้เปรียบในด้านวัตถุดิบ ในการผลิตสินค้าฮาลาล เช่น กาแฟ ข้าว อาหารทะเล เครื่องเทศ ถั่ว ผัก เป็นต้น และได้ยอมรับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้ การเติบโตของร้านอาหารและโรงแรม จึงเป็นไปตามมาตรฐานฮาลาล
จังหวัดหล่างเซินเวียดนามตั้งเป้าการลงทุน 3.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
จากคำแถลงการณ์ของรองประธานคณะกรรมการประจำจังหวัด ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ณ กรุงฮานอย เปิดเผยว่าเขตจังหวัดหล่างเซิน (Lang Son) ในชายแดนภาคเหนือ ได้มีการลงนามข้อตกลงการลงทุน ด้วยโครงการมากกว่า 100 โครงการ และเงินทุนประมาณ 3.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจังหวัดดังกล่าว ได้นำเสนอโครงการ 37 โครงการที่ต้องการเงินทุนจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ในช่วงตั้งแต่ปี 2562-2568 และสามารถแบ่งประเภทของอุตสาหกรรม ดังนี้ การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน 8 โครงการ, การค้าและการท่องเที่ยว 9 โครงการ และภาคเกสรกรรม ป้าไม้ ประมง 9 โครงการ รวมไปถึงมุ่งเน้นในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้แก่นักลงทุน ให้โปร่งใสมากขึ้นและมีเสถียรภาพ ซึ่งเขตพื้นที่จังหวัดจะดำเนินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเร่งปฏิรูปการบริหารท้องถิ่น นอกจากนี้ ในช่วงปี 2554-2561 เศรษฐกิจท้องถิ่นมีการขยายตัวร้อยละ 8-9 หากจำแนกอุตสาหกรรม พบว่าภาคการเกษตร ป่าไม้ มีสัดส่วนร้อยละ 20.3, ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้างร้อยละ 19.7 และภาคบริการร้อยละ 49.78 เป็นต้น ในขณะที่ จังหวัดดังกล่าวได้ตั้งเป้าหมายในการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมในภูมิภาคร้อยละ 8-9 ในปี 2563 และรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 2,600-2,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ผู้ประกอบการเวียดนามเข้าร่วมประชุมการค้า อินเดีย-CLMV
คณะผู้แทนธุรกิจเวียดนามจะเข้าร่วมการประชุมครั้งแรก อินเดีย-CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และอินเดีย) ซึ่งในเดือนหน้า จะมีการจัดประชุมในนครเจนไน (Chennai City) โดยเป้าหมายของการประชุมครั้งนี้ คือ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอินเดียและกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Act East ของรัฐบาลอินเดีย เพื่อส่งเสริมการร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงกลุ่ม CLMV ในขณะที่ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) จะนำคณะผู้ประกอบการเวียดนาม 15 ราย ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อเรียนรู้การต่อยอดการค้าระหว่างประเทศระหว่างประเทศ (เวียดนาม CLMV อินเดีย) ตามความต้องการ และข้อเรียกร้อง และมาตรฐานของตลาด ซึ่งผู้ประกอบการเวียดนามจะทำธุรกิจในลักษณะผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ (B2B) ในการเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV และอินเดีย นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-18 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรม ITC Grand Chola, นครเจนไน, รัฐทมิฬนาฑู
เวียดนามเผยมูลค่าการส่งออกสิ่งทอเพิ่มขึ้น 7% ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562
จากข้อมูลของสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกโดยรวมสิ่งทอ เส้นใย และเสื้อผ้าของเวียดนามอยู่ที่ 25.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รวมไปถึงสัดส่วนของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ร้อยละ 60.6 โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มใช้เงินในการนำเข้า ด้วยมูลค่า 14.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และผลผลิตวัสดุที่ใช้ในการทำเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และอุตสาหกรรมดังกล่าวเกินดุลการค้า 10.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน และทำให้ราคาสินค้าแปรรูปของเวียดนามสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้และจีน รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อยอดคำสั่งส่งออกของผู้ประกอบการในประเทศ ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาโซลูชั่นในการผลิตสินค้าและการดำเนินธุรกิจ แต่ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศเกาหลีใต้ และไต้หวันในเวียดนาม ได้รับประโยชน์จากสงครามการค้า เนื่องมาจากธุรกิจของประเทศดังกล่าว มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองที่อยู่ภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน โดยจากข้อมูลของหนังสือพิมพ์ Dau Tu (Investment) ระบุว่า ผู้ประกอบการสิ่งทอฯ ของเกาหลีใต้ในเวียดนาม ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากสงครามการค้า ด้วยจำนวนธุรกิจกว่า 143 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามไปยังสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอีกประเด็นอีกอย่าง คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอของเวียดนามยังขาดวัสดุในการป้อนเข้าโรงงาน ซึ่งจำเป็นต้องนำเข้าฝ้ายทั้งหมด และร้อยละ 80 ในการนำเข้าผ้า และวัสดุอื่นๆ จากจีน และอินเดีย ดังนั้น ต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการในประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับบริษัทจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-s-textile-export-value-up-almost-7-pct-in-eight-months/160559.vnp
เวียดนามเผยราคาส่งออกกาแฟร่วงตามสภาพเศรษฐกิจโลก
จากรายงานของหน่วยงานด้านการเกษตรแปรรูปและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรเวียดนาม (The Agro Processing and Market Development Authority) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 ปริมาณการส่งออกกาแฟของเวียดนามอยู่ที่ 1.17 ตัน คิดเป็นมูลค่าราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.8 และ 21.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ ซึ่งเยอรมันและสหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้นำเข้ากาแฟรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 13.7 และ 9 ตามลำดับ อันที่จริงแล้ว ราคากาแฟของเวียดนามที่ลดลง เป็นผลมาจากแนวโน้มของราคากาแฟทั่วโลกลดลง นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกาแฟ ระบุว่าธุรกิจกาแฟเวียดนามได้ทำการส่งออกไปยัง 80 ประเทศ ด้วยมูลค่ารวมมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 14 และร้อยละ 10.4 ของมูลค่าการส่งออกกาแฟทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ส่งออกส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะเป็นเมล็ดกาแฟ (Coffee beaens) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90 ดังนั้น กำไรที่ได้มาจะไม่ได้สามารถเทียบกับยอดมูลค่าการส่งออกได้ รวมไปถึงทางหน่วยงานฯ มองว่าราคากาแฟในช่วงระยะสั้นนั้นจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากผลผลิตกาแฟลดลงในประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ และใยระยะกลาง-ยาว จะมีความต้องการกาแฟเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการผลักดันการนำเข้ากาแฟมากขึ้น
ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/535429/coffee-export-prices-plummet.html#a5vyTodulqym1mml.97
ธุรกิจก่อสร้างในเวียดนามมีทิศทางการดำเนินงานเป็นบวก ในช่วงไตรมาสที่ 3
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 ผู้ประกอบการด้านการก่อสร้างส่วนใหญ่ร้อยละ 40.9 มองว่าผลประกอบการอยู่ในระดับทรงตัว/ไม่เปลี่ยนแปลง รองลงมาร้อยละ 36.4 ธุรกิจอยู่ในช่วงยากลำบาก และร้อยละ 22.7 ธุรกิจอยู่ในระดับดีมาก ตามลำดับ ซึ่งเป็นการสำรวจธุรกิจกว่า 5,500 แห่ง ที่อยู่ในภาคการก่อสร้าง และจากการสำรวจร้อยละ 66 ของกลุ่มรัฐวิสาหกิจมองว่าสถานการณ์ธุรกิจดีขึ้น ในช่วงกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายน เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว นอกจากนี้ ผลของการสำรวจชี้ให้เห็นว่าธุรกิจส่วนใหญ่ร้อยละ 51.3 มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และร้อยละ 48.7 ต้นทุนการผลิตยังคงไม่เปลี่ยนแปลงหรือลดลง สำหรับความต้องการจ้างงาน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 81.5 ธุรกิจยังคงไม่ต้องการเพิ่มพนักงาน และร้อยละ 18.5 ธุรกิจต้องการพนักงานน้อยลง และทางสำนักงานฯ แนะนำให้ธนาคารพาณิชย์ช่วยลดขั้นตอนการปล่อยสินเชื่อ ลดระยะเวลาในการอนุมัติสินเชื่อ และเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการเข้าถึงเงินทุน
ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/construction-firms-optimistic-about-business-performance-in-q3/160483.vnp