ก.เกษตรฯ เวียดนาม ยืนยันเนื้อหมูไม่ขาดตลาดในช่วงเทศกาลเต็ด

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าจะไม่มีปัญหาจากการขาดแคลนเนื้อหมูตั้งแต่วันนี้จนถึงเทศกาลเต็ด (วันปีใหม่จันทรคติ) เนื่องจากผลผลิตมีจำนวนมากจากการที่ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่ 16 ราย มีสัดส่วนครึ่งหนึ่งของผลผลิตเนื้อหมูทั้งประเทศที่สามารถจัดจำหน่ายไปสู่ตลาดได้ รวมถึงยังรักษาระดับผลผลิตได้ อย่างไรก็ดี ผลผลิตที่มีจำนวนมากดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวลดลงราว 60,000 ดองต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ มองว่าความต้องการเนื้อหมูอาจเพิ่มขึ้นในช่วงใกล้เทศกาลเต็ด ซึ่งจะทำให้ราคาเนื้อหมูเพิ่มสูงขึ้น แต่คาดการณ์ว่าจะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเท่าไรนัก นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ขอความร่วมมือกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในหัวเมืองต่างๆ ให้ทำการติดตามตามสถานการณ์ของตลาดอย่างใกล้ชิด รวมถึงแนะนำเกษตรกรดูแลฝูงสัตว์อย่างเหมาะสมและหาแนวทางในการช่วยลดต้นทุนการผลิต เพื่อประกันกำไรของเกษตรกร

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1403545/no-shortage-of-pork-for-tet-holidays-ministry.html

‘เวียดนาม’ เผยผลผลิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 4.75 ล้านตัน พุ่งสูงกว่า 4.17%

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเวียดนามในปีนี้ อยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 4.17% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยผลผลิตที่ทำรายได้ส่วนใหญ่มาจากปลาสวาย (Tra fish) มีปริมาณ 1.5 ล้านตัน ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาจดำเนินต่อเนื่องในอีกปีหน้า ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจขนส่ง การผลิตและกิจกรรมการทำประมง ตลอดจนทำให้บริษัทแปรรูปมีแนวโน้มประสบปัญหาจากการขาดแคลนวัตถุดิบในไตรมาสแรกของปีหน้า ดังนั้น ทางกระทรวงเกษตรจึงสั่งให้หน่วยงานท้องถิ่นเร่งการทำฟาร์ม เพื่อให้แน่ใจว่ามีวัตถุดิบเพียงพอต่อการแปรรูปในปี 2565
ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/aquaculture-output-grows-417-percent-to-475-million-tonnes/219799.vnp

ราคาเนื้อหมูตกต่ำ เหตุเวียดนามนำเข้าเพิ่มขึ้น

นาย Le Xuan Huy รองผู้อำนวยการทั่วไปของบริษัท CP Livestock Joint Stock Company กล่าวว่าราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวลดลง เนื่องมาจากการนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งหมูแช่แข็งและหมูมีชีวิต รวมถึงความต้องการที่ลดลง ขณะที่กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามนำเข้าเนื้อหมูมากกว่า 93,248 ตัน ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากแคนาดา เยอรมนี โปแลนด์ บราซิล สหรัฐฯ สเปนและรัสเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 223 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 อีกทั้ง กระทรวงฯยังได้อนุมัติให้นำเข้ากีบหมูจากไทยในชาวงกลางเดือนมิ.ย. และเมื่อเดือนสิ.ค. มีบริษัท 36 แห่งได้จดทะเบียนให้กักสุกรไว้มากกว่า 4.7 ล้านตัวจากไทยไปยังเวียดนาม นอกจากนี้ รองประธานสมาคมปศุสัตว์ด่งนาย กล่าวว่าราคาสุกรมีชีวิตในภาคใต้ ราคาอยู่ที่ราว 70,000 ด่องต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตาม สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาเนื้อหมูลดลง เป็นเพราะอยู่ในช่วงเดือนวูลาน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หลายๆครอบครัวไม่ทานเนื้อสัตว์ (ศาสนา)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pork-prices-fall-as-vietnam-increases-imports/188824.vnp

เวียดนามส่งออกผักผลไม้ไตรมาสแรก 836 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่ามูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ อยู่ที่ 836 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์สำคัญที่มีมูลค่าลดลง ได้แก่ แก้วมังกร กล้วย ลำไย แตงโม ทุเรียนและเห็ดหอม เป็นต้น จีนยังคงเป็นผู้นำเข้าผักและผลไม้รายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม ด้วยมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 29.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในขณะเดียวกัน ตลาดอื่นๆ ยังมีการเติบโตเล็กน้อยตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคม อาทิ อินโดนีเซีย ไทย สปป.ลาว รัสเซียและกัมพูชา ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่าในปี 2562 ภาคอุตสาหกรรมผักผลไม้เผชิญกับความลำบาก เนื่องจากจีนมีข้อกำหนดที่เข็มงวดในการนำเข้าหลายอย่างจากเวียดนาม ผ่านการกักตุนสินค้าและการตรวจสอบย้อนกลับ อย่างไรก็ตาม หลายตลาดยังมีการเติบโตที่ดีอยู่ อาทิ อาเซียน สหรัฐฯและสหภาพยุโรป

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fruit-vegetable-exports-reach-836-million-usd-in-q1/171613.vnp

ผู้ประกอบการในประเทศร่วมลงนามกับอุตสาหกรรมปศุสัตว์

อุตสาหกรรมปศุสัตว์เวียดนามคาดว่าจะดึงดูดผู้ผลิตที่มีความเชี่ยวชาญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยข้อตกลงความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในประเทศที่มีศักยภาพจะช่วยให้อุตสาหกรรมฯ สามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันได้ ด้วยความร่วมมือและห่วงโซ่อุปทานระหว่างผู้ผลิต โรงฆ่าสัตว์และร้านค้าปลีก ทั้งนี้ จากกรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์รวมอยู่ที่ประมาณ 5.14 ล้านตันในปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 4.1 ซึ่งเนื้อหมูเป็นสินค้าที่จำเป็นและมีสัดส่วนของโครงสร้างการบริโภคขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามผลผลิตเนื้อหมูลดลงราว 380,000 ในปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9-10 เมื่อเทียบกับปี 61 ส่งผลให้ตลาดอาหารในประเทศอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ทางผู้เชี่ยวชาญมองว่าการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานสำหรับสินค้าปศุสัตว์และความร่วมมือของผู้ประกอบการในประเทศ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาและความยั่งยืนต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่ต้องเผชิญกับการนำเข้าเนื้อสัตว์ด้วยข้อตกลงการค้าเสรีรูปแบบใหม่

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/591526/domestic-companies-sign-deals-in-livestock-industry.html