ธนาคารกลางสปป.ลาวเรียกร้องสถาบันการเงินให้ขยายกำหนดเวลาชำระคืนเงินกู้

ธนาคารแห่งสปป. ลาวกำลังขอให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินบรรเทาภาระให้กับเจ้าของธุรกิจและคนงานที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 โดยขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ของลูกหนี้ รวมถึงสถานบันการเงินนอกระบบต้องพิจารณาระงับหรือขยายกำหนดเวลาการคืนหนี้ที่กู้ยืมมา แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 การช่วยเหลือดังกล่าวจะทำผ่านธนาคารพาณิชย์ในส่วนของธนาคารกลางจะอนุญาตให้ลดข้อกำหนดการสำรองสกุลเงินต่างประเทศจาก 5% เป็น 4%เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นก็จะสอดรับกับนโยบายที่ธนาคารกลางข้อความร่วมมือในการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารและการปล่อยสินเชื่อแก่ SME เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นการลงทุนเพื่อบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจของสปป.ลาวในสถานการณ์ปัจจุบัน 

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Banks96.php

เกษตรกรเลี่ยงชำระเงินกู้ตั้งแต่ปี 55

เกษตรกรที่เป็นหนี้เงินกู้ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรของเมียนมา (MADB) จำนวน 200 พันล้านจัต ยังไม่ได้ชำระตั้งแต่ปี 55 ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดอิรวดี พะโค และย่างกุ้ง ปัจจุบันการออมลดลงต่ำมากขณะที่สินเชื่อเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบพบว่ามีเงินฝาก 77 พันล้านจัต แต่เงินกู้ยืมรวมทั้งสิ้น 1.7 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 61-62 เหตุผลหนึ่งที่เกษตรกรเลี่ยงการชำระคือ การชำระหนี้เจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า MADB ที่มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 8% ขณะเดียวกันสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ยากที่จะรักษาคุณภาพและผลผลิตไม่คงที่ ซึ่งส่งผลให้รายได้ผันผวนตลอดหลายปี และการขาดแรงงานรุ่นใหม่ๆ ที่หลั่งไหลไปทำงานในต่างประเทศแทน MADB ได้ขยายการชำระคืนเงินกู้ในเดือน ต.ค. – ธ.ค. ปีที่แล้วจนถึงเดือน มิ.ย. – ก.ย. ที่ผ่านมา ทั้งการที่ธนาคารปล่อยเงินกู้มากขึ้น เช่น เกตรกรผู้ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 จัต จาก 100,000 จัต ขณะเดียวกันเกษตรกรที่ปลูกพืชอื่น ๆ สามารถกู้เพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 100,000 จัต ปัจจุบัน MADB ให้สินเชื่อแก่เกษตรกรตาม 3 ฤดูการเพาะปลูกหลัก ได้แก่ มรสุม ก่อนมรสุม และฤดูหนาว

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/farmers-have-shirked-loan-repayments-2012.html