เรือคอนเทนเนอร์กว่า 600 ลำมามาถึงและมีการค้าขายที่ท่าเรือย่างกุ้งในปี 2566

การท่าเรือเมียนมาร์ (MPA) ระบุว่า ในปี 2566 ตลอดทั้งปีมีเรือมากกว่า 600 ลำเดินทางมาถึงท่าเทียบเรือระหว่างประเทศย่างกุ้งเพื่อทำการค้า โดย MPA ได้ขยายการเดินทางตู้คอนเทนเนอร์มากขึ้นเพื่อตอบสนองข้อกำหนดในการส่งออกและนำเข้า ทั้งนี้ เรือขาเข้าตลอดทั้งปี 2566 ตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม มีเรือเข้าเทียบท่าทั้งสิ้น รวม 629 ลำ ซึ่งประกอบด้วย สายการเดินเรือระหว่างประเทศ ได้แก่ Sealand Maersk Asia, SITC, MSC, Samudera, Ever Green, PIL, BLPL, RCL, Land and Sea, CMA-CGM, COSCO, IAL, ONE, Ti2 Container และ BAY เป็นต้น อย่างไรก็ดี การท่าเรือเมียนมาร์ ได้แจ้งให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าของเมียนมาร์ทราบว่ามีเรือ 49 ลำจะเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือย่างกุ้งในเดือนมกราคม 2567 นอกจากนี้ ท่าเรือย่างกุ้งให้บริการด้วยท่าเทียบเรือ 27 ท่าซึ่ง สามารถรองรับเรือที่ มีความยาวได้ถึง 200 เมตรและมีน้ำหนัก 3,000 ตัน ท่าเรือติลาวามีท่าเทียบเรือ 19 ท่าซึ่งสามารถ รองรับเรือที่ มีความยาวสูงสุด 250 เมตรและน้ำหนัก 3,500 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-600-container-ships-arrive-and-trade-at-yangon-port-in-2023/#article-title

เรือคอนเทนเนอร์จำนวน 50 ลำมีกำหนดเทียบท่าในเดือนพฤศจิกายน

การท่าเรือเมียนมาระบุว่า เรือคอนเทนเนอร์ทั้งหมด 50 ลำ มีกำหนดจะมาถึงในเดือนพฤศจิกายนที่ท่าเรือย่างกุ้ง ในปีนี้ท่าเรือย่างกุ้งรองรับเรือคอนเทนเนอร์ไปแล้วทั้งหมด 620 ลำ โดยมีเรือคอนเทนเนอร์ที่เดินทางมาถึงท่าเรือย่างกุ้ง 52 ลำ ในเดือนมกราคม 51 ลำ ในเดือนกุมภาพันธ์ 55 ลำ ในเดือนมีนาคม 50 ลำ ในเดือนเมษายน 56 ลำ ในเดือนพฤษภาคม 57 ลำ ในเดือนมิถุนายน 53 ลำ ในเดือนกรกฎาคม 54 ลำ ในเดือนสิงหาคม 53 ลำ ในเดือนกันยายน และ 49 ลำ ในเดือนตุลาคม ซึ่งการค้าทางทะเลถือเป็นร้อยละ 75 ของการค้าต่างประเทศของเมียนมา ทั้งนี้ ตามคำแถลงของการท่าเรือเมียนมาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565 หลังจากพบช่องทางเดินเรือใหม่ (Kings Bank Channel) ที่เข้าถึงแม่น้ำย่างกุ้งตอนใน และมีการเร่งดำเนินงานขยายร่องน้ำ ทำให้ท่าเรือสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ได้แล้ว โดยมีเรือคอนเทนเนอร์ (LOA 185.99 เมตร, Beam 35.25 เมตร, 29,232 GRT และ 2,698 TEU) SITC Shipping Line จากฮ่องกงเข้าเทียบท่าที่ท่าเทียบเรือ Asia World Port เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ซี่งนับเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดที่ท่าเรือ (Asia World Port Terminal : AWPT) รองรับ โดยก่อนหน้านี้ เรือขนาดใหญ่ประสบปัญหาไม่สามารถแล่นในแม่น้ำย่างกุ้งได้ ทำให้ร่องน้ำถูกขยายออกไปไกลถึง 10 เมตร เพื่อให้เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่สามารถเข้าสู่ท่าเรือทีละวาได้

อย่างไรก็ดี ชายฝั่งของเมียนมามีความยาว 2,228 กิโลเมตร (1,260 ไมล์ทะเล) รวมถึงแนวชายฝั่งยะไข่ (713 กิโลเมตร) พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (437 กิโลเมตร) และแนวชายฝั่งตะนาวศรี (1,078 กิโลเมตร) ซึ่งทอดยาวจากชายแดนบังกลาเทศตอนเหนือไปจนถึงพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีท่าเรือตามแนวชายฝั่งทั้งหมด 10 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือย่างกุ้ง ท่าเรือน้ำลึกทีละวา ท่าเรือน้ำลึกเจ้าผิวก์ ท่าเรือซิตตเว ท่าเรือตานต่วย ท่าเรือปะเตง ท่าเรือมะละแหม่ง ท่าเรือน้ำลึกทวาย ท่าเรือเมก และท่าเรือก้อตาว (เกาะสอง) อย่างไรก็ตาม ท่าเรือย่างกุ้ง รวมทั้งท่าเทียบเรือน้ำลึกทีละวาเป็นท่าเรือระหว่างประเทศเพียงแห่งเดียว และท่าเรือที่เหลือใน 8 เมือง ถูกกำหนดให้เป็นท่าเรือภายในประเทศเท่านั้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fifty-container-vessels-scheduled-to-call-in-november/#article-title