รัฐบาลสปป.ลาวให้คำมั่นที่จะลดภาระหนี้

รัฐบาลตั้งใจที่จะลดการขาดดุลการคลังให้เหลือเฉลี่ยร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ทุกปีตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2568 คำมั่นสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลพยายามลดหนี้สาธารณะเพื่อให้ประเทศสามารถปรับปรุงสภาพคล่องทางการเงินได้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ทำให้ภาระหนี้สาธารณะของสปป.ลาวเพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดความท้าทายสำหรับประเทศเล็ก ๆ ในการชำระหนี้ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมารัฐบาลได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการวิเคราะห์โครงการลงทุนให้มีประสิทธิภาพส่งผลให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 อย่างไรก็ตามรายจ่ายก็เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ส่งผลให้ขาดดุลงบประมาณประจำปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.73 การขาดดุลการคลังแบบเรื้อรังทำให้รัฐบาลต้องออกพันธบัตรและกู้ยืมมากขึ้นจากแหล่งต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนงบประมาณรวมถึงมาตรการด่านอื่นๆ เช่น การแปลงหนี้เป็นทุนการขายทรัพย์สินของรัฐและการขายหุ้นในรัฐวิสาหกิจเพื่อหวังว่าจะจัดการกับภาระผูกพันทางการเงินของประเทศ เป็นต้นนักเศรษฐศาสตร์แนะนำให้รัฐบาลดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและช่วยเหลือภาคเอกชนโดยเฉพาะ SMEs ในการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกซึ่งจะเป็นช่องทางรายได้อีกทางของรัฐบาล

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt20.php

รัฐบาลสปป.ลาวประกาศลดโครงการที่ได้รับทุนเพื่อลดภาระหนี้

งบประมาณส่วนสำคัญที่จัดสรรให้สำหรับโครงการที่ได้รับทุนจากรัฐจะถูกตัดในปีหน้าเพื่อให้รัฐบาลสามารถรักษาสภาพคล่องทางการเงินได้ แต่โครงที่ยังมีความจำเป็นอย่างโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลดความยากจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาฝีมือแรงงาน โครงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และโครงการพัฒนาสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกจะยังได้รับการสนับสนุนต่อไป Mr. Sonexay Siphandone รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนกล่าวว่า “เราต้องจำกัดจำนวนโครงการใหม่เพื่อลดการก่อหนี้เรื้อรังและช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเงินที่เกิดขึ้นจากโครงการที่ผ่านมา” สิ่งนี้ก่อให้เกิดความกังวลภายในรัฐสภาเกี่ยวกับเป้าหมายต่างๆที่รัฐบาลจะต้องบรรลุในช่วง 5 ปีข้างหน้าเนื่องจากงบประมาณที่ลดลงสำหรับโครงการซึ่งเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของรับบาลสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt217.php

รัฐบาลสปป.ลาวประกาศแผนรับมือกับภาระหนี้

รัฐบาลได้ประกาศว่าจะจัดการและแก้ไขหนี้สาธารณะในรูปแบบต่างๆเพื่อบรรเทาความตึงเครียดทางการเงินของประเทศซึ่งรัฐบาลจะไม่รับเงินกู้จากต่างประเทศอีกต่อไป เป็นหนึ่งวิธีในการแก้ไขปัญหาการขาดดุลการคลัง เงินกู้ยืมจะถูกนำไปชำระคืนเงินต้นของเงินกู้ที่มีอยู่ จะบริหารหนี้สาธารณะให้เป็นไปตามกฎหมายพร้อมทั้งพยายามลดการขาดดุลการคลังและมองหาวิธีอื่น ๆ ในการลดภาระหนี้ การเคลื่อนไหวเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มชื่อเสียงของประเทศและสร้างความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนต่างชาติและผู้บริจาคที่มีศักยภาพ อีกทั้งหนี้บริษัทเอกชนที่ดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ จะพยายามระดมเงินทุนจากแหล่งต่างๆเพื่อชำระคืน โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลหรือโอนหนี้เหล่านี้ไปยังธนาคารพาณิชย์ ภายในสิ้นปีนี้หนี้ของรัฐบาลจำนวน 578.35 พันล้านกีบจะถูกโอนไปยังธนาคารพาณิชย์ สิ่งนี้จะช่วยให้องค์กรเอกชนสามารถรักษาสภาพคล่องทางการเงินและเอาชนะอุปสรรคทางเศรษฐกิจได้ รัฐบาลได้พยายามปรับโครงสร้างการชำระหนี้ให้กับหุ้นส่วนการพัฒนาเนื่องจากเป็นนโยบายของประชาคมระหว่างประเทศที่จะลดหรือยกหนี้บางส่วนที่ประเทศกำลังพัฒนาเป็นหนี้ นอกจากนี้ได้จัดทำแผนระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวเพื่อจัดการกับหนี้สินและภาระผูกพันโดยพยายามลดการขาดดุลการคลังในแต่ละปี ตามรายงานของ Lao Economic Monitor ของธนาคารโลกที่เผยแพร่ในเดือนมิ.ย. หนี้สาธารณะคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65 ถึง 68% ของ GDP ในปี 63 ทำให้สปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาหนี้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt212.php

การขาดรายได้ในช่วง COVID-19 จะเพิ่มภาระหนี้แก่สปป.ลาว

รายได้ในประเทศคาดว่าจะลดลงอีกจากร้อยละ 13.5 ในปี 2019 เป็นร้อยละ 10.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2020 ตามรายงานของธนาคารโลก ดังนั้นการขาดดุลการคลังคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 7.6 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 5.1 ของ GDP ในปี 2019 ซึ่งจะส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศท่ามกลางวิกฤต COVID -19 นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลธิ์ได้สั่งการกระทรวงการคลังให้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับรายได้ประชาชาติให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาทางการเงินของประเทศกระทรวงการคลังมีแนวทางในการเพิ่มรายได้โดยจะมีการเพิ่มค่าธรรมเนียมจากโครงการสัมปทานต่างๆ รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆ อย่างไรก็ตามการขาดดุลงบประมาณคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากผลกระทบที่ยาวนานของการแพร่ระบาดของ COVID -19 ต่อธุรกิจต่างๆ และจะทำให้สปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงในการชำระหนี้ในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Projected197.php