ครัวเรือนกังวลค่าครองชีพสูง วอนรัฐตรึงราคาสินค้า-ขอคนละครึ่งเฟส5

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่าความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลให้ระดับราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทั้งสองประเทศเป็นผู้ผลิตและส่งออกอยู่ในระดับสูง ส่งผลภาวะดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) มี.ค. 65 ปัจจุบันขยับลงอยู่ที่ 33.4 จาก 33.9 ในเดือนก.พ.65 ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนใน 3 เดือนข้างหน้ายังอยู่ในระดับต่ำที่ 36.1 จาก 36.0 ในเดือนก.พ. 65 แม้อัตราการเลิกจ้างในเดือนมี.ค. 65 ปรับลดลงแต่การลดเวลาการทำงานล่วงเวลา (OT) และการชะลอรับพนักงานใหม่ยังปรับสูงขึ้น เมื่อสอบถามครัวเรือนถึงมาตรการภาครัฐว่าควรออกมาในรูปแบบใดพบว่า ส่วนมาก อยากให้ตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็น (39.2%) ขณะที่ 23.9% อยากให้ต่อมาตรการคนละครึ่งระยะที่ 5 หลังมาตรการคนละครึ่งระยะที่ 4 จะหมดลงในวันที่ 30 เมษายน 2565

ที่มา: https://www.naewna.com/business/647079

สมาคมผู้ค้าปลีกวอนรัฐคุมโอมิครอนให้อยู่หมัด เร่งมาตรการลดค่าครองชีพประชาชน

นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ปัจจุบันโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนกำลังระบาดทั่วโลก ซึ่งจากการศึกษาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโอมิครอนพบว่า โอกาสของการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่าโควิดสายพันธุ์อื่นๆ โดยไทยเองก็ได้มีการแพร่กระจายไปยัง 47 จังหวัดทั่วประเทศไทย ดังนั้นการทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อของโอมิครอนลดลง เราต้องใช้ระบบป้องกันแบบปูพรม หรือ Innate Immunity เพิ่มความช่วยเหลือให้ SMEs ไทยมีสภาพคล่อง และการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมร่วมมือกับภาครัฐชู 5 แนวทางปฏิบัติพลิกฟื้นเศรษฐกิจ 1. สนับสนุนพื้นที่จุดฉีดวัคซีนทั่วประเทศ 2. ยกระดับมาตรฐานสาธารณสุข 3. ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย โดยเร่งผลักดันให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่านแฟลตฟอร์ม Digital Supplychain Finance 4. ตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค 5. เร่งการลงทุนในประเทศ

ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics

/2279500