ราคาหัวหอมเมียนมาดิ่งลง ในรอบ 3 สัปดาห์

ผู้ค้าส่งหัวหอมในตลาดบุเรงนอง ของเมียนมา เผย ในช่วงต้นปี 2566 ราคาหัวหอมยังคงมีแนวโน้มลดลง จากผลผลิตที่ออกมาสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2566 มีผลผลิตหัวหอมจากภูมิภาคต่างๆ จำนวน 210,000 visses (visses เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) โดยราคาหัวในเมืองมยินยาน อยู่ที่ 1,700-2,300 จัตต่อ visses ส่วนราคาหัวหอมในเมืองมิยธา อยู่ที่ 2,000-2,600 จัตต่อ visses ที่ผ่านมาในช่วงเดือนธันวาคม 2565 ผลผลิตหัวหอมช่วงฤดูมรสุมประมาณ 5 ล้านหัวถูกส่งไปยังเมืองมยินจาน และเมืองปะโคะกู ซึ่งเป็นศูนย์กลางการซื้อ-ขายหัวหอมของประเทศ ส่งผลให้ราคาหัวหอมลดลงจาก 3,500 จัตต่อ visses เหลือ 1,950-2,100 จัตต่อ visses ในวันที่ 2 มกราคม 2566

ที่มา:  https://www.gnlm.com.mm/onion-price-heads-for-three-week-fall/#article-title

ราคาหัวหอมตลาดปะโคะกู พุ่งแตะ 3,000 จัตต่อปอนด์

สัปดาห์สุดท้ายของเดือนส.ค.2565 ราคาหัวหอม ณ ตลาดปะโคะกู เขตมะกเว ของเมียนมา พุ่งแตะแตะระดับ 3,000 จัตต่อปอนด์ ขณะที่สัปดาห์แรกของเดือน ราคาอยุ่ที่ 1,700 จัตต่อปอนด์ ส่วนสัปดาห์ที่สองราคาขยับขึ้นเป็น 2,000 จัตต่อปอนด์ สาเหตุเกิดจากบางพื้นที่ประสบปัญหาไม่สามารถเพาะปลูกได้ ส่งผลให้ผลผลิตจึงต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้ ในปี 2562 ราคาหัวหอมอยู่ที่ประมาณ 3,000 จัตต่อปอนด์ และตั้งแต่ปี 2563 ถึงกลางปี ​​2565 ราคาดิ่งลงเหลือประมาณ 1,000 จัตต่อปอนด์

 

ที่มา: https://news-eleven.com/article/236144

 

หัวหอมราคาดิ่ง กระทบเกษตรกรแบกต้นทุนอ่วมหนัก

เกษตรกรในอำเภอปหวิ่น-พยู เขตมะกเว ทำการปลูกหัวหอมตลอดทั้งปีโดยใช้นำจากชลประทานและน้ำบาดาล แม้จะให้ผลผลิตสูงแต่ก็ได้รับผลกระทบจากราคาลดลง ปัจจุบันผลผลิตหัวหอมอยู่ที่ประมาณ 3,000-4,000 viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ต่อเอเคอร์ เมื่อปีก่อนราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-2,000 จัตต่อ viss แต่ในปัจจุบันราคาดิ่งลงเหลือ 300-400 จัตต่อ viss ทำให้รายได้ไม่สามารถครอบคลุมต้นทุนที่พุ่งไปถึง 1 ล้านต่อเอเคอร์ อีกทั้งตลาดหัวหอมยังคงซบเซา เนื่องจากความต้องต่างประเทศลดลง ซึ่งก่อนหน้าในปี 2562 ราคาหัวหอมพุ่งไปถึง 4,000 จัตต่อ viss กระตุ้นให้เกษตรเพิ่มปริมาณการปลูก แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดค้าขายหัวหอมเสียหายอย่างหนัก ทั้งนี้หัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มาเกว ย่างกุ้ง รัฐเนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-market-fallout-hits-growers/#article-title

ราคาหัวหอมช่วงฤดูหนาวของเมืองเจาะบะด้อง ร่วงหนัก !

แม้ว่าฤดูเพาะปลูกต้นหอมในช่วงฤดูหนาวของเมืองเจาะบะด้อง  เขตมัณฑะเลย์ ราคามีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ เกษตรกรยังจำเป็นต้องขายในราคาปกติเพื่อไม่ให้ขาดทุน ทั้งนี้เกษตรกรและผู้ค้าหัวหอมได้รับผลกระทบจากตลาดเนื่องจากขาดความต้องการจากต่างประเทศและสถานการณ์การแพร่ระบาดของของ COVID-19 และยังเผชิญกับต้นทุนการปลูกที่สูงขึ้นถึง 2 ล้านจัตต่อเอเคอร์ ปัจจุบันมีราคาเพียง 300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ดังนั้นเกษตรกรจึงดิ้นรนหาทุนสำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลหน้า ในช่วงต้นปี 2563 หัวหอมราคาอยู่ที่ 1,200-1,300 จัตต่อ viss และความต้องการที่สูงขึ้นของตลาดต่างประเทศส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทำให้มีการขยายการเพาะปลูก แต่หลังจากนั้นราคาดิ่งลงอย่างมากในช่วงวิกฤต COVID-19 ขณะที่ตลาดการส่งออกหลัก คือ บังคลาเทศและอินเดีย โดยหัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง รัฐเนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-prices-in-bear-market-even-when-winter-growing-season-starts/#article-title

ราคาหัวหอมในจังหวัดมี่นบู้ ยังทรงตัว แม้ผลผลิตตกต่ำ

ศูนย์ค้าส่ง No (4) ของจังหวัดมี่นบู้ เขตมะกเว เผยราคาหัวหอมยังทรงตัวที่ 250 และ 300 จัตต่อ Viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ส่วนใหญ่หัวหอมจะถูกขนส่งไปยังรัฐยะไข่มากที่สุดที่ด้วยราคา 400 หรือ 500 จัตต่อ Viss ขณะที่ราคาขายปลีกในตลาดของตำบลมี่นบู้ อยู่ที่ 800 และ 900 จัตต่อ Viss แม้ราคาจะไม่สูงมากนักและยังทรงตัวแต่ความต้องการและผลผลิตยังอยู่ในระดับต่ำ จังหวัดมี่นบู้มีศูนย์ขายส่งหัวหอมประมาณ 10 แห่ง โดยราคาซื้อจะอยู่ที่ 250/300 จัตต่อ Viss ขณะที่ราคาขายอยู่ที่ 400/500 จัตต่อ Viss ส่วนราคาขายส่งคือ 800/900 จัตต่อ Viss

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-prices-stable-despite-low-production-in-minbu-township/

ราคาหัวหอมในเมียนมา ลดลงฮวบกว่า 200-300 จัตต่อ viss

ราคาหัวหอมของเมียนมาได้ลดลงมากกว่า 200-300 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม) ขึ้นอยู่กับพันธ์และขนาด ราคาที่ตลาดหัวหอมเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ราคาอยู่ระหว่าง 950-1,100 จัตต่อ viss เจากการสั่งซื้อของบังกลาเทศ อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ราคาลดลงเหลือ 600-780 จัตต่อ viss  เนื่องจากไม่สามารถส่งออกไปจีนได้จากการปิดด่านในช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด และคุณภาพของหัวหอมที่ส่งออกเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาลดลง ผู้ค้าคาดการณ์ว่าตลาดหัวหอมของเมียนมามีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากจะมีการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น บังคลาเทศ เวียดนาม และไทยผ่านเส้นทางชายแดน ซึ่งแต่ก่อนมักจะนำเข้าจากอินเดีย แต่ตอนนี้อินเดียได้ระงับการส่งออก เนื่องจากพื้นที่ปลูกหัวหอมได้รับผลกระทบจากฤดูฝน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-price-falls-by-over-k200-k300-per-viss/