สปป.ลาว-เวียดนามกระชับความสัมพันธ์การค้ามากกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้จะมีการระบาด Covid-19

มูลค่าการส่งออกของสปป.ลาวไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นในปี 63 แม้ว่าจะมีการระบาด Covid-19 ก็ตาม โดยในปี 62 มูลค่าการส่งออกจากสปป.ลาวไปเวียดนามในช่วง 9 เดือนแรกอยู่ที่ 757.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 758 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงจาก 458 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วง 9 เดือนของปี 62 เหลือ 410 ล้านเหรียญสหรัฐใน 9 เดือนของปี 63 ในขณะเดียวกันทั้งสองฝ่ายจะเพิ่มความพยายามในการส่งเสริมการค้าทวิภาคีในปี 63 โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 10-15% สินค้าหลักที่ส่งออกไปยังเวียดนาม ได้แก่ น้ำดื่ม แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากไม้และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่นยางพารา กาแฟ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ข้าวและวัว ด้านการนำเข้า จะเน้นกลุ่มสำคัญ เช่น ปิโตรเลียม ปุ๋ย เหล็ก เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้างและชิ้นส่วนอะไหล่ เวียดนามยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 3ของสปป.ลาวและนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 3 ในสปป.ลาว รองจากไทยและจีน ธุรกิจของเวียดนามได้ลงทุนในโครงการ 413 โครงการในสปป.ลาวมูลค่ารวม 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เหมืองแร่ การขนส่ง สวนป่าอุตสาหกรรม และบริการซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาของทั้งสองประเทศ รัฐบาลสปป.ลาวหวังว่าการนำเข้าและการส่งออกรวมกันของประเทศจะบรรลุเป้าหมายในแผน โดยรัฐบาลสปป.ลาวได้ตั้งเป้าหมายการค้ารวมไว้ที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 63 และเนื่องจากวิกฤต Covid-19 มีการแก้ไขเป็น 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/11/07/laos-and-vietnam-strengthen-ties-more-than-us12bil-in-trade-agreements-despite-pandemi

ประเทศกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง-จีน ยกย่องผลสำเร็จของความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (MLC)

ผู้นำของประเทศลุ่มน้ำโขงและจีนกล่าวว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับความสำเร็จของความร่วมมือในช่วงสองปีที่ผ่านมาซึ่งช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคนในภูมิภาค การประเมินดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมสุดยอดความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (MLC) ครั้งที่สามซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายในกรอบ MLC (2018-2022) ตลอดจนการดำเนินโครงการผ่านกองทุนพิเศษ MLC ที่จีนสนับสนุนด้วยเงิน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่ง ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สปป.ลาวถือเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้อย่างมากจากการเกิดขึ้นของหลายโครงการในสปป.ลาวที่ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาชนบทและการลดความยากจน ในการประชุมผู้นำยังได้มีการหารือในหัวข้อที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในการปราบปราม COVID-19 และแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการระบาดใหญ่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mekong_164.php

จีนบริจาคเวชภัณฑ์แพทย์ต่อต้านการแพร่ระบาด COVID-19 แก่สปป.ลาว

รัฐบาลจีนได้บริจาคชุดเวชภัณฑ์ต่อต้านการแพร่ระบาด COVID-19 โดยขนส่งจากเมืองคุนหมิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเมื่อเช้าวันศุกร์มุ่งหน้าไปยังสปป.ลาว ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วย รถพยาบาล เครื่องเครื่องช่วยหายใจและเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด Hu Baoguo รองนายกเทศมนตรีเมืองคุนหมิงกล่าวว่า “นครเวียงจันทน์และภาคส่วนต่างๆของสังคมได้บริจาคเวชภัณฑ์มูลค่า 261,000 หยวน (37,500 เหรียญสหรัฐ) ให้แก่คุนหมิงนับตั้งแต่มีรายงานการแพร่ระบาดครั้งแรกในจังหวัดเราจะจดจำและรักมิตรภาพของความทุกข์ยากที่มีร่วมกันนี้ตลอดไปและหวังว่าเวชภัณฑ์จะสามารถช่วยงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของสปป.ลาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ” การช่วยเหลือของจีนมีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สปป.ลาวเผชิญกับการแพรระบาดของ COVID-19 ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่พบการระบาดครั้งแรกของสปป.ลาวรัฐบาลจีนได้ส่งทีมแพทย์เพื่อช่วยในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสปป.ลาวและบริจาควัสดุป้องกันการระบาดมูลค่า 4.17 ล้านหยวน

ที่มา: https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/08/09/china039s-kunming-donates-anti-pandemic-supplies-to-laos

การลงนาม ASSET เพื่อระบบอาหารและการเกษตรที่ยั่งยืนของสปป.ลาว

การลงนามข้อตกลงในการจัดหาเงินทุนของโครงการ Agroecology and Safe Food System Transitions (ASSET) เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ในเวียงจันทน์ จากความร่วมมือหลากหลายองค์กรระดับโลกและภูมิภาคไม่ว่าจะเป็น Group For Research and Technology Exchanges (GRET) และ French Agricultural Research and International Cooperation Organization (CIRAD) พันธมิตรระดับชาติยุโรปและนานาชาติ 27 ประเทศรวมถึงกระทรวงเกษตรของสปป.ลาว  โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ” agroecology” เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของระบบอาหารและการเกษตรไปสู่ระบบที่ยั่งยืนมากขึ้น ความโดดเด่นของโครงการ ASSET คือได้รับการออกแบบโดยใช้วิธีการแบบบูรณาการเพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตรและระบบอาหารที่หลากหลายผ่าน 3 ด้าน ได้แก่ ประการแรก เทคโนโลยี – เศรษฐกิจ,การเมือง,สังคม การบูรณาการทั้ง 3 ด้านจะทำให้เกิดการเปลี่ยนไปสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินการของ AFD ปัจจุบันในบริบทที่เกิดวิกฤตการณ์ COVID-19  การพัฒนาแนวทางแก้ไขเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคจึงมีความสำคัญมากขึ้นแต่สิ่งสำคัญที่ต้องควบคู่ไปด้วยกันคือการรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่หลากหลายอย่างยั่งยืน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Regional152.php

ข้อพิพาทระหว่างแรงงาน-ภาคธุรกิจ

คุณพงษ์ชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแรงงานและสวัสดิแถลงการณ์การถึงข้อพิพาทระหว่างแรงงานและภาคธุรกิจต่างๆในปัจจับนซึ่งมีหลายองค์กรที่ขัดคำสั่งประกาศภาครัฐเรื่องการยังคงต้องจ่ายค่าจ้างแก่แรงงานและหากธุรกิจไหนมีปัยหาด้านการเงินให้ติดธนาคารกลางเพื่อเป็นตัวกลางในการช่วยเหลือทั้ง 2 ฝ่าย สภาอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของการประเมินว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจะสูญเสียรายได้กว่า 350 ล้าน $ จากแพร่ระบาดของ COVID-19 ตลอดจนการปิดพรมแดนทั่วประเทศไม่ได้มีการเดินทางต่างประเทศเข้ามาในสปป.ลาว ผลที่ตามมาคือการตกงานของแรงงานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวนอกจากนี้ธุรกิจอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันโดยกว่าร้อยละ 97 เป็น SMEs คิดเป็น 16% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจอย่างรุนแรงหากภาคธุรกิจต้องปิดตัวไปรวมถึงการตกงานของแรงงานในภาคธุรกิจต่างๆ

ที่มา : https://lao.voanews.com/a/outbreak-of-covid-19-caused-more-dispute-of-workers-layoff-in-laos/5452839.html