คาด อีคอมเมิร์ซ ไทยปี 63 โต 7.48 แสนล้านบาท

เปิดแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยปี 63 ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งอาเซียน เติบโตกว่า 7.48 แสนล้านบาท ผลพวงห้างร้านใช้ชื้อขายรับส่งสินค้าผ่านบริการออนไลน์  รายงานข่าวจากสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เปิดเผยภาพรวมและแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัลที่สำคัญในปี 63 ของไทย ว่า ในปีนี้ธุรกิจการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ (อี-คอมเมิร์ซ) จะเป็นกลุ่มธุรกิจดิจิทัลที่มาแรงและมีการเติบโตสูง คิดเป็นมูลค่า 748,000 ล้านบาท เป็นอันดับ 1 ของมูลค่าธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ในภูมิภาคอาเซียน โดยใน 60-62 ที่ผ่านมา มีการประมาณอัตราการเติบโตเฉลี่ยของตลาดอยู่ที่ 20-30% กลุ่มธุรกิจที่เติบโต คือ ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์อาหาร และธุรกิจด้านเครื่องสำอางและอาหารเสริม เป็นผลมาจากการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีด้านการซื้อขายและรับส่งสินค้าผ่านบริการออนไลน์ เช่น ไลน์แมน และแกร็ป โดยเฉพาะไลน์แมน พบว่า มียอดการใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 300% และมีผู้ใช้บริการ 1.5 ล้านคนต่อเดือนภายในระยะเวลา 2 ปี ส่วนอุตสาหกรรมดิจิทัลที่ถูกผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็วมาก คือ อุตสาหกรรมโทรทัศน์ ที่มูลค่าลดลงจาก 115,000 ล้านบาท ในปี 57 เหลือเพียง 57,000 ล้านบาทในปี 61 ที่ผ่านมา และยังสูญเสียผู้รับชมจนกระทั่งมีการคืนใบอนุญาตดิจิทัลทีวี ซึ่งเป็นผลมาจากการทดแทนของเน็ตฟลิกซ์ และยูทูป ที่เริ่มลงทุนให้บริการและผลิตเนื้อหาสำหรับประเทศไทย ชณะที่อุตสาหกรรมการเงิน ก็ได้รับผลกระทบ ด้วยระบบการชำระเงินดิจิทัล จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทยปี 62 ระบุว่า จำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์ลดลงจาก 7,016 สาขาในปี 59 เหลืออยู่ที่ 6,534 สาขาในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/751386

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภาคชนบทได้รับทุนสนับสนุน

ตลาดเกิดใหม่เมียนมา (EME- พม่า) มีบริษัทอีคอมเมิร์ซสำหรับร้านค้าปลีกในชนบทที่ตั้งอยู่ในย่างกุ้ง โดยมีตัวเลขการลงทุนรวมหกหลักแต่ยังไม่เป็นที่เปิดเผย Ezay ก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคมเริ่มต้นด้วยการให้บริการแพลตฟอร์มมือถือสำหรับลูกค้าที่จะซื้อหุ้นใหม่จากผู้ค้าส่งรวมถึงจัดส่งสินค้าออนไลน์ แทนที่จะมาร้านค้าด้วยตัวเอง เพื่อเชื่อมโยงผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกผ่านแพลตฟอร์มมือถือ ทำให้การส่งมอบสินค้าสู่ร้านค้าปลีกทำได้ง่ายขึ้น สามารถแก้ปัญหานี้ในชนบททั่วประเทศ ผลตอบรับเป็นไปในเชิงบวกจากผู้ค้าปลีกว่ามีความสะดวกสบาย การจัดส่งและราคาไม่ต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับออฟไลน์มากนัก บริษัทวางแผนขยายธุรกิจในเมียนมาให้เร็วมากกว่านี้ และพัฒนาด้านซัพพลายเชนการค้าปลีกและสร้างความพึงพอใจของลูกค้า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเมียนมายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นที่มีมูลค่าตลาด 6 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามการช็อปปิ้งออนไลน์บนโซเชียลมีเดียนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมากขึ้นเนื่องจากบัญชี Facebook มีมากกว่า 85% ของปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดของประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/rural-e-commerce-startup-secures-funding.html

บริษัทอีคอมเมิร์ซ “เซนโด” ระดมทุนไปกว่า 61 ล้านเหรียญสหรัฐ

เซนโด (Sendo) เป็นผู้ให้บริการด้านไอทีใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยการมุ่งเน้นไปยังเมืองใหญ่ในระดับ “Tier 2” ประกอบกับเป็นแหล่งตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ที่มีผู้เยี่ยมชนมากที่สุดในอันดับที่ 2 ของอีคอมเมิรซ์ในเวียดนาม ด้วยการระดมแหล่งเงินทุนในระดับ “Series C” ไปกว่า 61 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจากการแถลงข่าวของบริษัทเซนโด ในวันพุธที่ผ่านมา เปิดเผยว่าการลงทุนดังกล่าว มาจากผู้ถือหุ้นรายเดิมและนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงกองทุนอินโดนีเซีย EV Growth และกลุ่มเครือธนาคารกสิกรไทย ซึ่งการระดมทุนในครั้งนี้ จะนำมาขยายแพลตฟอร์มแบบบูรณาการ รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 3/2562 เซนโดแซงหน้าคู่แข่งอย่าง Tiki ที่อยู่ในอันดับที่ 2 ของตลาดอีคอมเมิรซ์เวียดนามที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุด ขณะที่ ช้อปปี้ (Shopee) ยังคงขึ้นแท่นผู้นำในประเทศอยู่

https://english.vov.vn/economy/ecommerce-firm-sendo-nets-61-mln-in-latest-funding-round-406468.vovที่มา :

การแข่งขันของธุรกิจขนส่งสินค้า “อีคอมเมิร์ซเวียดนาม” มีภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ‘ช้อปปี้’ (Shopee) ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวแพ็กเกจการให้บริการชุดใหญ่ อย่างไม่คาดถึง ด้วยลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าผ่านบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ และเลือกบริการขนส่งสินค้าแกร็บ (Grab) ซึ่งจะได้รับการบริการจัดส่งฟรี และได้รับสิทธิพิเศษของมูลค่าสินค้าสูงถึง 200,000 ด่อง ทั้งนี้ แพ็กเกจและโปรโมชั่นดังกล่าว จะสามารถใช้เฉพาะในเขตของนครโฮจิมินห์และฮานอยเท่านั้น และระยะเวลาในการส่งมอบภายใน 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ในปี 2561 จากรายงานของบริษัท Google และ Temasek ระบุว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามมีอัตราการเติบโต (CAGR) ร้อยละ 35 ต่อปี ในช่วงปี 2558-2561 คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (คำนวณเฉพาะมูลค่าของ B2C เท่านั้น) ประกอบกับคนเวียดนามมีความต้องการสินค้าและความใจร้อนสูงมาก โดยทาง MoIT คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามจะมีมูลค่าราว 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ecommerce-delivery-battle-in-vietnam-becomes-more-costly-406314.vov

“ตลาดอี-คอมเมิร์ซเวียดนาม” มีโอกาสติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากรายงานของฟอรั่มตลาดออนไลน์ ณ กรุงฮานอย ในวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา เปิดเผยว่าตามรายงาน E-Business Index 2019 ที่ร่างโดยสมาคมอี-คอมเมิร์ซเวียดนาม ระบุว่าในปี 2561 ขนาดตลาดอี-คอมเมิร์ซเวียดนาม มีมูลค่ากว่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าภายในปี 2558-2561 จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 25 ต่อปี (CAGR) ด้วยมูลค่าของตลาดอี-คอมเมิร์ซจะพุ่งสูงขึ้นราว 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2568 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่ในรูปแบบนี้จะอยู่ในบริเวณเมืองใหญ่ ได้แก่ นครโฮจิมินห์ ฮานอย บิ่นห์เยือง และด่งนาย เป็นต้น นอกจากนี้ ต้องส่งเสริมผู้ประกอบการท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาทางด้านการทำธุรกิจในโลกออนไลน์ เพื่อให้สามารถแข่งขันธุรกิจได้ณ 1.5 ล้านคัน ลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-ecommerce-market-may-rank-third-in-southeast-asia/157865.vnp