‘H&M’ เร่งสอบโรงงานในเมียนมา หลังเผชิญแรงกดดัน

เอช แอนด์ เอ็ม (H&M) แบรนด์สินค้าแฟชั่นชั้นนำของสวีเดน และผู้ค้าปลีกสินค้าแฟชั่นรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรายงานว่ากำลังตรวจสอบ 20 รายที่ถูกละเมิดสิทธิแรงงานในโรงงานผลิตเสื้อผ้าในเมียนมา โดยกลุ่มรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนในอังกฤษ และศูนย์ธุรกิจกับทรัพยากรสิทธิมนุษยชน (BHRRC) ได้ติดตามคดีละเมิดสิทธิแรงงานในโรงงานผลิตเสื้อผ้าในเมียนมา ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2565 – ก.พ. 2566 ทั้งหมดอยู่ที่ 156 ราย เพิ่มขึ้นจาก 56 รายในปีที่แล้ว แสดงให้เห็นถึงการลดทอนของสิทธิแรงงานในเมียนมาตั้งแต่มีการรัฐประหารในเดือน ก.พ. 2564 โดยเฉพาะข้อกล่าวหาการลดค่าจ้างและการโกงค่าจ้างที่รายงานมากที่สุด รองลงมาการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมและการถูกบังคับให้ทำงานล่วงเวลา

ที่มา : https://www.todayonline.com/world/hm-probes-alleged-myanmar-factory-abuses-pressure-intensifies-2234581

การเติบโตที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของเมียนมา

เมียนมามีศักยภาพในการเติบโตสูงในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องนุ่งห่ม บริษัทวิจัยจากลอนดอน Fitch Solutions เผยความเสี่ยงและอุตสาหกรรมของประเทศในเอเชียอย่างเวียดนาม, บังคลาเทศ, กัมพูชาและเมียนมาจะยังคงเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในการผลิตสิ่งทอของภูมิภาค โดยมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากประชากรขนาดใหญ่และแรงงานหนุ่มสาวส่วนใหญ่ ต้นทุนแรงงานต่ำในประเทศเหล่านี้พร้อมกับได้รับจากโซ่อุปทานทั่วโลกที่กำลังจะมาจีน เมียนมามีค่าแรงต่ำที่สุดในภาคการผลิตเครื่องนุ่งห่มแม้ว่าจะเปรียบเทียบกับผู้เล่นระดับภูมิภาคอย่างกัมพูชา เวียดนาม และลาว ในปี 2561 ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของเมียนมาก็อยู่ในระดับเดียวกัน หรือต่ำกว่าบังคลาเทศซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีค่าแรงต่ำที่สุดในโลก แต่ความเสี่ยงของการถอน GSP ของสหภาพยุโรปต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐยะไข่ เนื่องจากว่า 60% ของการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปในปัจจุบันจะส่งผลลบต่ออุตสาหกรรมในระยะเวลาอันใกล้นี้ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเวียดนามและบังคลาเทศได้ครองส่วนแบ่งการตลาดส่งออกเสื้อผ้าโลกและกลายเป็นผู้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่อันดับสองและสามรองจากจีน เมื่อจีนเพิ่มวัตถุดิบในห่วงโซ่คุณค่าและผลักดันการผลิตในระดับต่ำถึงระดับกลางทำให้เวียดนามและบังคลาเทศได้กลายเป็นผู้รับผลประโยชน์ที่สำคัญ อย่างไรก็ตามสัดส่วนการส่งออกสิ่งทอระดับโลกของเมียนมายังคงต่ำมากเพียง 1% ในปี 2562 แม้จะเพิ่มขึ้นจาก 0.1%  ในปี 2553 ซึ่งยังเป็นรองกัมพูชาเพียงเล็กน้อยที่ 1.4% และบังคลาเทศที่ 6.1% Fitch Solutions มองว่าเมียนมาจะเป็นแบบเดียวกับ บังคลาเทศ เวียดนาม และกัมพูชามีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของการผลิตในอุตสาหกรรม จากการใกล้ชิดกับแหล่งวัตถุดิบในประเทศจีนและอินเดีย แหล่งแรงงานที่มีต้นทุนต่ำขนาดใหญ่เชื่อมโยงการค้ากับจีนและส่วนอื่น ๆ ของโลกและที่สำคัญที่สุดคือการสนับสนุนทางเศรษฐกิจของจีน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/strong-growth-continue-myanmars-garment-industry.htm