‘การเติบโตทางเศรษฐกิจ สปป.ลาว’ ช่วงสองปีครึ่งที่ผ่านมาเติบโตได้ 4.03%

นายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว เผยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ปี 2564 ถึงกลางปี 2566 ขยายตัวได้ 4.03% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4% ทั้งนี้ รัฐบาลได้ปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจตลอดทั้งปี 2566 จากที่คาดการณ์ไว้ 4.5% ปรับลดเหลือขยายตัว 4.2% เนื่องจากผลกระทบของค่าเงินกีบที่อ่อนค่ารุนแรงและปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลให้ GDP ต่อหัวของประชากร สปป.ลาว ปีนี้มีแนวโน้มปรับลดลงมาอยู่ที่ 1,712 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม รัฐบาล สปป.ลาว มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้รายได้ต่อหัวของประชากรบรรลุเป้าหมายที่ระดับ 2,880 ดอลลาร์สหรัฐ ให้ได้ภายในปี 2568 นอกจากนี้ รัฐบาลมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความไม่มั่นคงทางการเงิน อัตราเงินเฟ้อที่สูง และอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน โดยได้สั่งให้ธนาคารกลางใช้กลไกทั้งหมดในลักษณะบูรณาการเพื่อรักษาปริมาณเงิน M2 ในวงกว้างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ เน้นการใช้สกุลเงินต่างประเทศกับการนำเข้าที่มีลำดับความสำคัญ ยกเลิกร้านแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและบริการแลกเปลี่ยนสกุลเงินทั่วไป ให้แลกเปลี่ยนได้เฉพาะกับธนาคารพาณิชย์

ที่มา : https://english.news.cn/20231101/5e4ef2c249474f61b71121209ad22634/c.html#:~:text=VIENTIANE%2C%20Nov.%201%20(Xinhua,Lao%20Prime%20Minister%20Sonexay%20Siphandone.

ปี 65 ภัยธรรมชาติกระทบต่อเศรษฐกิจสปป.ลาว เสียหายมากกว่า 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

นายคำวงษ์ พันธานุวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายช่วยเหลือสังคมและหัวหน้าสำนักเลขาธิการคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติ ของสปป.ลาว เปิดเผยว่า ตลอดปี 2565  มีภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งหมด 96 ครั้งที่เกิดขึ้นในสปป.ลาว สร้างเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 1.3 ล้านล้านกีบ (77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ) โดยภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายมากที่สุด คือ พายุโซนมู่หลาน พายุหมาอ๊อน และพายุโนรู ซึ่งสร้างความเสียหายครอบคลุมกว่า 16 จังหวัด ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา ความเสียหายของเมืองหลวงพระบางจากภัยธรรมชาติ มีการคาดการณ์ว่าอาจมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1 หมื่นล้านกีบ

ที่มา: https://laotiantimes.com/2023/02/20/natural-disasters-caused-losses-over-lak-1-trillion-in-2022/

ADB คาด เศรษฐกิจสปป.ลาว จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2566

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เชื่อว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีหน้า โดยได้รับการสนับสนุนจากการลงทุนใหม่และพลังงานหมุนเวียนและผลผลิตจากเหมืองแร่ที่สูงขึ้น ด้านกลุ่มทุนที่เตรียมเงินทุนมนการปล่อยกู้สำหรับโครงการ Monsoon Wind โครงการพลังงานลมขนาด 600 เมกะวัตต์ ซึ่งเมื่อเสร็จแล้วจะเป็นโครงการพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน” จากข้อมูลการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ ฉบับล่าสุด (Asian Development Outlook (ADO) ปี 2565 ADB ยังระบุด้วยอีกว่าอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวคาดว่าจะกระตุ้นการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคในปี 2566 ส่งผลให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นเป็น 5.5% อย่างไรก็ตาม ได้ปรับลดแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในปี 2565 เป็น 2.5% จากที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.4% และการเติบโตในปี 2566 เหลือ 3.5% จากที่คาดการณ์ไว้ 3.7% การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ปรับลดลงเพราะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ซบเซาและนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ และได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มมากถึง 17% ในปี 2565 จากราคาน้ำมันที่สูงและค้าเงินกีบที่อ่อนค่าลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 30.01% เพิ่มขึ้นเป็น 34% ในเดือนกันยายน จากรายงานของสำนักสถิติสปป.ลาว ค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และข้อจำกัดของปัจจัยการผลิตได้ลดโอกาสการเติบโตของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และการชะลอตัวของเศรษฐกิจในจีน ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจของสปป.ลาว ฟื้นตัวได้ช้า นอกจากนี้ ราคาปุ๋ย อาหารสัตว์ อาหารและเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกษตรกรและผู้ผลิตไม่สามารถที่จะผลิตสินค้าและบริการได้

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten202_ADB_Y22.php

เกษตร ท่องเที่ยว กุญแจสู่ความก้าวหน้าเศรษฐกิจสปป.ลาว

รายงานของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผย การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการเกษตรและการท่องเที่ยวจะช่วยฟื้นฟูหลังโควิด 19 และการเติบโตอย่างครอบคลุมในสปป.ลาว สปป. ลาวได้สนับสนุนประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศยังไม่ก้าวหน้า นางพรวันห์ อุทาวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่า  “การสร้างงานที่มีคุณภาพและประสิทธิผลเป็นหนึ่งในความสำคัญสูงสุดในวาระนโยบายของรัฐบาล การทำให้อุตสาหกรรมการเกษตรและการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญของการฟื้นตัวของเรา พร้อมกับกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการผนึกกำลังของภาคส่วนต่างๆ จะเป็นโอกาสในการเริ่มต้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและแก้ปัญหาความยากจนของสปป.ลาว” ทั้งนี้ในรายงานระบุว่าในปี 2562 การท่องเที่ยวในลาวสนับสนุนการเติบโตของปศุสัตว์และการประมง ธุรกิจการท่องเที่ยวอาจเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพืชผักและปศุสัตว์มีมูลค่ามากถึง 4.1 ล้านคนในปี 2561 คิดเป็น 12% ของจีดีพีของประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Agriculture_183_21.php

ธนาคารโลกรายงานผลสำรวจผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิดที่รุนแรงขึ้น

ผลสำรวจของธนาคารโลกจากจำนวนครัวเรือนที่สุ่มเลือก 2,000 ครัวเรือน ระบุว่า การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินต่อไปได้ทำให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวรุนแรงขึ้นในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้ เนื่องจากการจ้างงานลดลงอย่างรวดเร็ว และครัวเรือนและภาคธุรกิจต่างๆ ประสบกับรายได้ที่ลดลง ด้านธุรกิจภายในเดือนพฤษภาคม 2564 ธุรกิจ 5.5% ปิดถาวร ขณะที่ 33% ปิดชั่วคราว ในบรรดาธุรกิจต่างๆ ที่ยังเปิดดำเนินการอยู่ 65% พบว่ารายได้ลดลงจากมาตรการล็อกดาวน์ของภาครัฐ รายงานยังได้รายงานอีกว่า รายได้ที่ลดลงและการสูญเสียงานทำให้หลายครัวเรือนเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความยากจนท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและค่าครองชีพในสปป.ลาวที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Economic_173.php

กลยุทธ์การเติบโตเศรษฐกิจของสปป.ลาวในอนาคต

 แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวเริ่มต้นเมื่อมีการเปิดประเทศในช่วงต้นทศวรรษ  1990     สปป. ลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลทำให้การค้าชายแดนเป็นพื้นที่สำคัญของสปป.ลาวในการค้าโดยประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าที่สำคัญของสปป.ลาว ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาสปป.ลาวเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญของโลกถึง 2 ครั้งซึ่งสร้างส่งผลกระทบต่อสปป.ลาว รวมถึงผลกระทบต่อกลยุทธ์การเติบโตของประเทศซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนตามบริบทของโลกหรือวิกฤตที่กำลังเผชิญ ปัจจุบันสปป.ลาวกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจโลกรวมถึงสปป.ลาว ถึงแม้สถานการณ์ COVID-19  ของสปป.ลาวจะไม่ได้รุนแรงแต่ประเทศที่สปป.ลาวพึ่งพา ไทย จีน เกาหลี ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ด้วยหตุนี้ทำให้สปป.ลาวได้รับผลกระทบไปด้วย ตัวเลขการประมาณการเศรษฐกิจ พ.ศ. 2564-2568 ถูกปรับลดจากเฉลี่ยจะเติบโตที่ร้อยละ 8   จะเหลือเพียงเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4 ในอนาคตสปป.ลาวจะมีการดำเนินกลยุทธ์การเติบโตควบคู่ไปกับความมั่นคงเสถียรภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจให้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 

ที่มา : https://www.eastasiaforum.org/2021/01/15/what-next-for-laos-growth-strategy/

รัฐบาลสปป.ลาวมั่นใจเศรษฐกิจปีหน้าฟื้นตัว

รัฐบาลสปป.ลาวมองเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 4-4.5 ในปีหน้าแม้ยังไม่มีความแน่นอนจากการสถานการณ์ COVID-19 และปัญหาทางการเงินของสปป.ลาวที่กำลังเผชิญในปัจจุบัน เพื่อบรรเทาความตึงเครียด ด้านงบประมาณ รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการดึงดูดการลงทุนภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและความพยายามลดความยากจนตามเป้าหมายแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรัฐบาลยังมีพยายามเสริมสร้างการผลิตเชิงพาณิชย์ร่วมกับอุตสาหกรรมแปรรูปตลอดจนส่งเสริมการบริการตามทางรถไฟและระเบียงเศรษฐกิจอื่น ๆ นอกจากนี้รัฐบาลจะเปิดตัวระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการจัดเก็บรายได้และเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณรวมถึงการดูแลควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ เงินสำรองต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจเป้าหมายหลักประการหนึ่งของรัฐบาลในช่วงห้าปีข้างหน้าคือการติดตามการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมยั่งยืนและมีประสิทธิผล

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_219.php

สปป.ลาวเร่งขยายตัวเศรษฐกิจท่ามกลางการระบาด COVID-19

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมารัฐบาลสปป.ลาวได้มีมติอนุมัติมาตรการบรรเทาและกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากสปป.ลาวต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการตกต่ำทางเศรษฐกิจทั่วโลกซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ตามข้อมูลของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ก่อนหน้าการระบาด COVID-19 จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาเยือนสปป.ลาวในปี 2562 เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 14.4 สร้างรายได้ประมาณ 934 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  แต่จากผลกระทบ COVID-19 รายได้การท่องเที่ยวลดลง 350 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 2 ของ GDP ด้านโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลายโครงการยังคงมีความคืบหน้าตามแผนโดยเฉพาะโครงการที่สำคัญต่อการค้าและการท่องเที่ยวอย่างการก่อสร้างทางรถไฟจีน – สปป.ลาวเที่สร็จสมบูรณ์ไปแล้วกว่าร้อยละ 90 กำหนดแล้วเสร็จในปี 2564 ในขณะนี้รัฐบาลสปป.ลาวกำลังพัฒนา ในระหว่างนี้รัฐบาลพยายามบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจต่างๆรวมถึงเข้าช่วยเหลือประชาชนอย่างรวดเร็วทั้งด้านความมั่นคงด้านอาหารและระบบสาธารณสุข

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/10/19/laos-to-boost-economic-growth-amid-pandemic-over-60000-tested-for-covid-19

คาดการณ์เศรษฐกิจสปป.ลาวในปีนี้อยู่ในระดับปานกลาง

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป. ลาวคาดว่าจะอยู่ในระดับปานกลางในปี 62 และ 63 เนื่องจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 62 เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาน้อยลง การส่งออกไฟฟ้าซบเซา แม้ในภาคเกษตรจะฟื้นตัวเล็กน้อย ซึ่ง ADB คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะเติบโต 6.2% ในปี 62 และ 63 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อยที่ 6.5% ในเดือนเม.ย. 62 และ 63 ในช่วงสี่เดือนแรกของปี 62 การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในรูปดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปี 61 เนื่องจากการส่งออกไฟฟ้าขยายตัวเพียง 2.3% ซึ่งช้ากว่า 7.0% ในปีก่อนมาก สิ่งนี้บ่งชี้ว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมชะลอตัวในช่วงครึ่งแรกของปีและการหดตัวของผลผลิตเหมือง ในขณะเดียวกันการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวจาก 6.1% ในช่วงครึ่งแรกของปี 61 เป็น 5.0% ในช่วงเดียวกันของปีนี้ เงินกีบดูเหมือน overvalued อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.3% ในปี 62 และ 63 สูงกว่าการคาดการณ์ 2.0% ในเดือนเม.ย.ปีนี้ ภาวะการเงินและสินเชื่อยังคงตึงตัวในประเทศทั้งคู่ขยายตัว 3.9% และ 3.1% ตามลำดับในไตรมาสแรกของปี 62 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในอัตราร้อยละของจีดีพีคาดว่าจะอยู่ที่ 8.9% ในปี 62 และ 8.4% ในปี 63 จากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การนำเข้ามีแนวโน้มหดตัวที่ 9.5% ในปี 62 และ 10% ในปี 63 แม้ว่าสปป.ลาวจะคาดว่าการปรับปรุงดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลง แต่ทุนสำรองระหว่างประเทศขั้นต้นคาดว่าจะอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในเดือนธ.ค. 62 ซึ่งจะครอบคลุมการนำเข้าเพียงเดือนเดียว

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=48415