เหมืองแร่ภูเบี้ยบรรลุเป้าหมายผลิตแร่ทองแดง 1 ล้านตัน

Phu Bia Mining (PBM) บริษัทเหมืองแร่ชั้นนำในประเทศลาว เผยข้อมูลผลผลิตทองแดงที่ผลิตได้ในเหมืองแร่ของตน โดยสามารถผลิตทองแดงเข้มข้นได้ 1 ล้านตัน บุคลากรซึ่งประกอบด้วยพนักงานสัญชาติลาวกว่า 93% และเกือบ 50% ของรายได้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับจากการทำงานในเหมืองแร่แห่งนี้ สามารถสร้างรายได้ให้กับประชากรในท้องถิ่นได้มากกว่า 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การจ่ายเงินโดยตรงของบริษัทจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านค่าสัมปทาน ภาษีกำไร ภาษีเงินเดือน ภาษีถนน ค่าบริการนำเข้า การสนับสนุนและเงินปันผลได้ช่วยในการพัฒนาแขวงไชยสมบูรณ์และเศรษฐกิจของ สปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_64_PhuBia_y24.php

สปป.ลาว กำหนดเป้าหมาย ‘แผนพัฒนาพลังงานและเหมืองแร่ระยะ 5 ปี’

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ สปป.ลาว กล่าวในการประชุมสามัญสมัยสามัญครั้งที่ 6 ถึงข้อมูลการออกใบอนุญาตให้กับบริษัทขุดแร่หายาก จำนวน 15 บริษัทที่ถือใบอนุญาตแบบไม่เร่งด่วนสำหรับขั้นตอนการสำรวจ และอีกจำนวน 13 บริษัท มีใบอนุญาตสำหรับการดำเนินการขุด แต่ใน 13 บริษัท มีเพียง 3 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตในการขายแร่ปริมาณ 19,500 ตัน โดย 5,409 ตัน มีสิทธิ์ส่งออกไปยังจีนได้ นอกจากนี้ มีเพียง 4 ใน 15 บริษัท ที่ได้รับใบอนุญาตแบบไม่เร่งด่วนเท่านั้นที่เสร็จสิ้นการประเมินและสำรวจทรัพยากรเบื้องต้น เพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้ กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ได้ร่างแผนงานที่ครอบคลุม โดยกำหนดเป้าหมาย 6 ประการสำหรับแผนพัฒนาพลังงานและเหมืองแร่ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564-2568) โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการสร้างข้อมูลทางธรณีวิทยาขั้นพื้นฐาน การกำหนดนโยบายแร่ การพัฒนากลไกการบริหาร การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของรัฐวิสาหกิจการพัฒนาแร่ และการบูรณาการการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเติบโตสีเขียวเข้าไปในแผนฯ นอกจากนี้ กระทรวงกำลังพิจารณาที่จะรวมกฎหมายดังกล่าวเข้ากับกฎหมายฉบับปรับปรุงใหม่ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในต้นปี 2567

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/11/10/laos-sets-targets-in-5-year-energy-mines-development-plan/

รัฐบาล สปป.ลาว สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลการบริหารจัดการเหมืองแร่

นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการร่างยุทธศาสตร์ด้านโลหะหายากและแร่ธาตุอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการจัดการเหมืองแร่ใน สปป.ลาว อย่างเหมาะสม ซึ่ง ดร.Sonexay Siphandone ได้กล่าวไว้ในระหว่างการประชุมประจำเดือนร่วมกับคณะรัฐมนตรี ณ เวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 28-29 กันยายน ที่ผ่านมา โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของโลหะหายากซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ ที่ปัจจุบันมีความต้องการของตลาดที่สูงขึ้น ซึ่งคำว่าแรร์เอิร์ธหมายถึงกลุ่มธาตุ 17 ชนิด ที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนสำคัญในโทรศัพท์มือถือ ฮาร์ดไดรฟ์ และรถไฟ อีกทั้งยังมีความสำคัญต่อเทคโนโลยีสีเขียวด้วย รวมถึงอุตสาหกรรมต่างๆ รัฐบาลจึงเน้นย้ำถึงความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่า สปป.ลาว จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการขุดแร่หายากภายในประเทศ โดยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สมาชิกสภาแห่งชาติได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินการขุดแร่ใน สปป.ลาว ที่มีการจัดการอย่างไม่ถูกต้องส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางด้านรายรับของรัฐบาล

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_191_Govt_y23.php

เมียนมาอนุญาติทำเหมืองแร่ 1,250 บล็อก

รัฐบาลได้อนุญาตให้ขุดบล็อกเพื่อทำเหมืองแร่ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็กจำนวน 1,250 แห่งในภูมิภาคและรัฐต่างๆ จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ตามรายงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากจำนวนทั้งหมด 112 บล็อกในรัฐคะฉิ่น, 18 ในรัฐกะยา,  46 บล็อกในรัฐกะเหรี่ยง, 4 บล็อกในรัฐชิน, 230 บล็อกในเขตสกาย, 86 บล็อกในเขตตะนาวศรี, 3 บล็อกในเนปยีดอ, 7 บล็อกในเขตพะโคะ, 53 บล็อกในเขตมะกเว, 333 บล็อกในเขตมัณฑะเลย์, 24 บล็อกในรัฐมน, 1 บล็อกในรัฐยะไข่, 143บล็อก ในรัฐฉาน(ใต้), 95 บล็อกในรัฐฉาน (เหนือ), 92 บล็อกในรัฐฉาน (ตะวันออก) และ 3 บล็อกในภูมิภาคอิรวดี ในสามเดือนของปีงบประมาณ 2562-2563 มีการสกัดโลหะ 151.84 ตันจากบล็อกเหมืองแร่ดีบุกและทังสเตนในรัฐและภูมิภาค โดยเขตตะนาวศรีผลิตได้จำนวนมากที่สุด

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/1250-mining-blocks-approved-in-regions-states-till-february

อุตสาหกรรมพลังงานและเหมืองแร่ยังสำคัญต่อเศรษฐกิจสปป.ลาวในปี 63

คณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวกล่าวว่ารัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานและเหมืองแร่เนื่องจากยังเป็นภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสปป.ลาวในปัจจุบันและในอนาคต ดร.ภูเพชรรองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการธุรกิจกล่าวว่าภาคพลังงานและเหมืองแร่เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุดสำหรับสปป.ลาวในช่วงที่เศรษฐกิจผันผวน โดยสปป.ลาวมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำมากถึง 73 แห่ง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 9,531MW และสร้างรายได้มากกว่า 5 หมื่นล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ในปี 62 มีการส่งออกมากถึง 6,000 เมกะวัตต์และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติมอีก 12 แห่งดังนั้นรัฐบาลควรมุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายส่งเสริมการขายต่อไปเพื่อดึงดูดการลงทุนในประเทศและต่างประเทศควบคู่ไปกับการตรวจสอบความปลอดภัยการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำและต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดร.ภูเพชรยังกล่าวเพิ่มเติมว่าบรรยากาศที่ดีสำหรับการดำเนินธุรกิจจะดีขึ้นในปีนี้หากเศรษฐกิจมหภาคมีการจัดการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการลงทุน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/energy-and-mines-remain-key-boosters-lao-economy-2020-economist-111531