เกษตรกรเมืองซะไกง์ โอด ราคาแตงโม ดิ่งฮวบ

นาย U Wai Myint ผู้ปลูกแตงโมและรองประธานสมาคมผู้ส่งออกในเขตซะไกง์ เผย เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมและเมล่อนผิดหวังกับราคาที่ลดลง ปัญหาเกิดจากผลผลิตเกินความต้องการเพราะขายแตงโมต่อวันได้เพี่ยง 100 หรือ 200 ลูก แต่มีการประมาณขนส่งประมาณ 1,000 ลูกต่อวัน ดังนั้นรถบรรทุกจึงต้องจอดรอคิวที่ด่านชายแดนมูเซ (Muse 7 Mile และ 5 Mile) ทำให้ผลผลิตไม่สดใหม่และเน่าเสีย ซึ่งปีที่แล้วผลผลิตแตงโมและเมล่อนจากเขตซะไกง์เสียหายประมาณ 90% ดังนั้นปีนี้จึงลดลงอย่างมากเทียบกับปีที่แล้ว ด้านพื้นที่เพาะปลูกเขตซะไกง์ เติบโตขึ้นทุกปี พื้นที่แตงโมประมาณ 20,000 เอเคอร์และเมล่อน 40,000 เอเคอร์ ส่วนแหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ในเมืองช่องอู้ (Chaung-U) เขตซะไกง์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/growers-in-sagaing-frustrated-over-lower-prices-of-melons/

เกษตรกรบ้านเมาะ “ปลูกแตงโม” สร้างยอดขายกำไรงาม

เกษตรกรผู้ปลูกแตงโม (แตงโมยักษ์ไต้หวัน) เมืองบ้านเมาะ เขตสะกายมีรายได้จากยอดขายที่พุ่งขึ้น หลังการเพาะปลูกข้าวเกษตรกรบ้านเมาะใช้เวลาปลูกแตงโมงเป็นเวลา 100 วัน ราคาขายจะอยู่ระหว่าง 2,500 ถึง 4,000 จัตขึ้นอยู่กับขนาด สามารถทำกำไรได้ปีละ 1 ถึง 1.5 ล้านจัต นอกจากนี้การปลูกแบบปลอดสารเคมียังดึงดูดผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับการดำรงชีพและเศรษฐกิจและสังคมของคนในท้องถิ่น ขณะนี้รถบรรทุกแตงโมมากกว่า 1,000 คันติดอยู่ในเขตการค้า 105 ไมล์ในเมืองมูเซ รถบรรทุกกว่า 200 คันกำลังแล่นผ่านชายแดนเมียนมา-จีน ส่งผลให้ส่งผลให้แตงโมเกินความต้องการอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของระบบตลาด ซึ่งตลาดแตงโมพึ่งพาจีนเป็นหลัก ในเดือนธันวาคม 63 และมกราคม 64 เมียนมาได้ส่งแตงโมไร้เมล็ด 45 ตันไปยังตลาดดูไบ และมีแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ ในช่วงปีที่ผ่านมาเกษตรกรได้รับความเสียหายจากราคาที่ไม่แน่นอนและปัญหาการขนส่งจากการระบาดของ COVID-19 แตงโมและเมลอนจะเก็บเกี่ยวได้จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมยกเว้นรัฐกะยาและชิน เมียนมาส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันต่อปีและเมลอนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/1-april-2021/#article-title

ผู้ค้าแตงโมรัฐฉาน ขอความช่วยเหลือเมื่อใกล้ฤดูเก็บเกี่ยว

เมื่อใกล้ถึงฤดูเก็บเกี่ยวแตงโมรัฐบาลของรัฐฉานได้รับการร้องขอจากผู้ค้าผลไม้ในพื้นที่ให้เจรจากับมณฑลยูนนานของจีนเพื่อป้องกันความล่าช้าที่เกิดจากการขนส่งของรถบรรทุกและข้อจำกัดในการเดินทาง พ่อค้าชาวเมียนมาส่งออกแตงโมและ Mukmelon ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเมษายนที่ Wanding Fruit Square ของเมืองจีน ตอนนี้การทำธุรกรรมต้องผ่านทางโทรศัพท์ แต่ไม่สามารถขายสินค้าของตนได้หากไม่มีการประชุมแบบเห็นหน้ากัน ก่อนที่ Covid-17 จะระบาด มีรถบรรทุก 200 ถึง 700 คันข้ามพรมแดนทุกวัน แต่คาดว่าจะลดลงเหลือ 200 ถึง 300 คันต่อวันในฤดูกาลนี้ ทั้งนี้ยังเรียกร้องให้กับยูนนานเพื่ออนุญาตให้ตัวแทนสองถึงห้าคนจากเขตการค้าในเมืองมูเซทำงานที่ตลาดผลไม้ในยูนนานเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้รถบรรทุกควรได้รับการตรวจสอบเนื่องจากบรรทุกสินค้าที่เน่าเสียง่าย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/shan-traders-seek-help-melon-season-nears.html

แตงโมเมียนมาอ่วม หลังเจอพิษโคโรน่า เสียหายถึง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สมาคมผู้ผลิตและส่งออกแตงโมและเมล่อนของเมียนมาชี้ตัวเลขการสูญเสียการส่งออกในปีนี้เกือบ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (71,400 ล้านจัต) นอกจากการสูญเสียจากการส่งออกแล้วการเลิกส่งออกยังทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ในช่วงเวลาปกติรถบรรทุกประมาณ 500 ถึง 600 คันต่อวันข้ามชายแดนไปยังจีน แต่ตอนนี้มีเพียง 30 ถึง 40 ต่อวันเท่านั้นซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม ซึ่งผู้ปลูกบางรายกำลังส่งออกโดยการคาดเดาว่าจะดีขึ้น การระบาดของโรค coronavirus เมื่อเร็ว ๆ นี้ผลกระทบต่อการค้าระหว่างจีนและเมียนมาตามแนวชายแดนโดยเฉพาะอย่างยิ่งแตงโมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ซื้อแตงโมจากจีนเพิ่มขึ้นจาก 50 เป็นมากกว่า 200 ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาซึ่งบ่งชี้ว่าอาจกลับมาเป็นปกติ จากการคาดการณ์การส่งออกปีนี้ 800,000 ตัน แต่มียอดขายเพียง 300,000 ตันเท่านั้น การปิดชายแดนเพียงสองสัปดาห์ส่งผลให้การส่งออกลดลง 66.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับแตงโม 748,472 ตันในปีงบประมาณ 61-62 การส่งออกไปจีนสร้างรายได้ 77.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากผลไม้ทั้งหมด 804,024 ตันในปีงบประมาณ 60-61

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-watermelon-losses-reach-50m.html