LAO Airlines ลดเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางประเทศจีน

สายการบินสปป.ลาวระงับเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยัง 5 เมืองในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดหลักของสายการบิน Mr .Bounma ประธานกรรมการบริหาร LAO Airlines กล่าวว่าผู้ประกอบการทัวร์จีนส่งจดหมายถึง Lao Airlines เพื่อขอให้ระงับเที่ยวบินเช่าเหมาลำหลังจากที่พวกเขาได้รับคำแนะนำให้ยกเลิกทัวร์ขาออกจากจีนมายังลาว เนื่องจากแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าที่รุนแรงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม LAO Airlines ไม่ได้ยกเลิกเส้นจากจีนทุกเส้นทางเนื่องจากจีนไม่ได้ขอให้สปป.ลาวระงับในบางเส้นทางและสปป.ลาวก็เห็นด้วยกับคำร้องขอดังกล่าว อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายอย่างมากแก่สปป.ลาวจากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลง ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักโดยปี62มีจำนวนคนจีนมาเที่ยวมากถึง 4.9 ล้านคน ทำให้การท่องเที่ยวในปีที่ผ่านมาเติบโตและเป็นปัจจัยที่สำคัญตัวหนึ่งที่ค่อยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสปป.ลาวให้เติบโต ดังนั้นการเกิดสถานการณ์ในปัจจุบันส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของสปป.ลาวในปีนี้อย่างแน่นอน นั้นจึงเป็นทำให้รัฐบาลต้องกระตือรือร้นเพื่อแก้ปัญหาและวางแนวทางใหม่สำหรับการกระตุ้นการท่องเที่ยว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_Airlines_23.php

ญี่ปุ่นลงทุนโดยตรงไปยังกัมพูชาสูงถึง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา

ในระหว่างปี 2537-2562 กัมพูชาได้รับโครงการลงทุนจากญี่ปุ่นกว่า 137 โครงการ มูลค่ารวม 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐภายใต้กรอบการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่น โดยผู้ช่วยปลัดกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์จัดงานสัมมนาเรื่อง “การได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีค่าผ่านการเชื่อมโยง MSME” ณ กรุงพนมเปญเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งโครงการลงทุนยังคงดำเนินต่อไปโดยมุ่งเน้นไปที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเกษตร อาหารแปรรูป โรงแรม การท่องเที่ยว โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าและอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อีกจำนวน 1,799 แห่ง ที่ญี่ปุ่นลงทุนในด้าน โดยธุรกิจจากญี่ปุ่นมีชื่อเสียงด้านคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าท้องถิ่นสร้างงานและช่วยปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของคนงานกัมพูชาซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งจำนวนบริษัทญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในกัมพูชาเพิ่มขึ้นทุกปี โดยการตัดสินใจลงทุนและขยายการดำเนินงานในกัมพูชาเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่งของรัฐบาลกัมพูชาและมีสภาพแวดล้อมการลงทุนที่ดี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50686389/japans-foreign-direct-investment-in-cambodia-peaks-2-5-billion-in-last-15-years

กัมพูชามีเขตเศรษฐกิจพิเศษรวม 54 เขตทั่วประเทศ

ในปี 2562 กัมพูชามีเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) รวม 54 เขต ตามรายงานจากสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชา ซึ่งในปีที่แล้วได้มีการส่งออกสินค้าจากเขตเศรษฐกิจพิเศษของกัมพูชาอยู่ที่ 2,688 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษในกรุงพนมเปญครอบคลุมพื้นที่ 353 เฮกเตอร์ มีบริษัทลงทุนกว่า 121 แห่ง รวมถึงสร้างงานให้กับชุมชนอีกกว่า 21,717 ตำแหน่งให้กับชาวกัมพูชา โดยการส่งออกจากเขตเศรษฐกิจพิเศษในกรุงพนมเปญมีมูลค่าอยู่ที่ 518 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 ตามตัวเลขที่มีการรายงานของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งบริษัท ส่วนใหญ่ที่ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษกรุงพนมเปญมาจากประเทศไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น เบลเยียม ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์ โดยรัฐบาลกำลังดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมเขตเศรษฐกิจพิเศษและการลงทุน ซึ่งกฎหมายใหม่นี้จะดึงดูดการลงทุนในประเทศโดยจัดให้มีสิ่งจูงใจเพิ่มความโปร่งใสและส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50686294/cambodia-has-54-special-economic-zones-more-to-come

ทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่เวียดนามในเดือนม.ค. สูงสุดในรอบ 4 ปี

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ามีบริษัทจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 8,276 ราย ในช่วงเดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่เงินทุนจดทะเบียนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 76.8 คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 276 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าตัวเลขดังกล่าวมีอัตราขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจำนวนผู้ประกอบการใหม่ลดลงในช่วงเดือนม.ค.นั้น เป็นผลมาจากอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของประเทศ ขณะที่ เม็ดเงินทุนต่างประเทศพุ่งสูงขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากบริษัทจดทะเบียนใหม่ในสาขาอุตสาหกรรมการเงิน ด้วยเงินทุนราว 144 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (53.9% ของเงินทุนจะเทียนรวม) ทั้งนี้ จำนวนบริษัทที่หยุดกิจการในเดือนม.ค. 11,702 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนบริษัทที่ล้มละลายมีอยู่ประมาณ 1,621 ราย ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ จำนวนบริษัทจดทะเบียนใหม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ กิจการเหมืองแร่ กิจการรถจักรยานยนต์และรถยนต์ รวมไปถึงกิจการค้าบริการ อย่างไรก็ตาม อีก 5 อุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ กิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าน้ำ, สารสนเทศและโทรคมนาคม, วิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและให้คำปรึกษา, การศึกษาและการฝึกอบรม และบริการรับจัดเลี้ยงและที่พัก เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/591583/registered-capital-of-new-enterprises-in-january-hits-four-year-high.html

ยอดลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนามสูงขึ้น 179%

จากรายงานของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MIP) เปิดเผยว่าในช่วง 20 วันแรกของปีนี้ ยอดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) อยู่ที่ 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 179.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับเม็ดเงินลงทุน 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น มาจากโครงการลงทุนต่างชาติใหม่จำนวนกว่า 258 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 454.1 และ 14.2 ตามลำดับ ขณะที่ เงินทุนส่วนที่เหลือจะเข้าไปสู่โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนและการเข้าซื้อหุ้นเวียดนามจากบริษัทต่างชาติ เป็นต้น สิงคโปร์ยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่า 4.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็น 90.9% ของเงินลงทุนทั้งหมดจากต่างชาติ) โดยเมื่อปีที่แล้ว กลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในอันดับที่ 3 ของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ตามมาด้วยเกาหลีใต้อยู่ในอันดับที่ 1 (7.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และฮ่องกงอยู่ในอันดับที่ 2 (7.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ ในปี 2563 เวียดนามจะดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 38.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าสูงสุดในรอบ 10 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/january-fdi-surges-179-percent/167896.vnp