5 อาการน่าเป็นห่วง 4 มิติท้าทาย ของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “การเมือง การคลัง พลังนำประเทศ” จัดโดยสมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ให้มุมมองแง่คิดที่น่าสนใจ ที่ผู้เขียนขออนุญาตสรุปมา ณ ที่นี้ 5 อาการน่าเป็นห่วงของประเทศไทย อาการแรก “ศักยภาพเศรษฐกิจถดถอย” อาการที่สอง “ความเหลื่อมล้ำสุดโต่ง” อาการที่สาม “การก้าวสู่สังคมคนชราเต็มรูปแบบ” อาการที่สี่ “เทคโนโลยีป่วนโลก” อาการสุดท้าย “การเมืองในม่านหมอก” 4 มิติ การเมือง-การคลังกับการพัฒนาเพื่ออนาคต มิติแรก ประเทศไทยที่เท่าเทียม มิติที่สอง ประเทศไทยที่แข่งขันได้ มิติที่สาม ประเทศไทยที่ทันสมัย โปร่งใส และเป็นธรรม มุ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรมการเมืองและสังคมที่เสรีเปิดกว้าง เป็นรากฐานสำคัญ มิติที่สี่ ประเทศไทยที่ยั่งยืน ท่านสรุปไว้ว่า มองไปในอนาคต ประเทศไทยจะเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างที่ท้าทายในหลายมิติ แต่การเมือง-การคลังที่มีศักยภาพจะเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่นและมั่นคง โดยมิติสำคัญที่รัฐบาลควรดำเนินการหรือคำนึงถึง คือ 1.สร้างความเท่าเทียมในสังคม 2.เพิ่มศักยภาพของประเทศในทุกระดับ 3.ปรับกลไกภาครัฐให้ทันสมัย เปิดกว้าง เป็นธรรม และ 4.มีกรอบการดำเนินการด้านการคลังที่คำนึงถึงคนเจเนอเรชันต่อไปอย่างยั่งยืน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/854237

ฮานอยยังคงเป็นเป้าหมายของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 62

กรุงฮานอยยังคงเป็นผู้นำเป้าหมายของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ด้วยมูลค่าอยู่ที่ 6.85 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะของเงินทุนและการซื้อหุ้น โดยโครงการที่น่าสนใจ คือ โครงการเมืองอัจฉริยะในเขตดงอันห์ (Dong Anh) เป็นการร่วมทุนหรือกิจการร่วมการค้าระหว่างกลุ่ม BRG Group และ Sumitomo Corporation ของประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับบริษัทฮ่องกง BeerCo Limited ในการเข้าถือหุ้นบริษัทเวียดนามเบฟเวอเรจ จำกัด ด้วยเม็ดเงินทุนกว่า 3.85 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ จากข้อมูลของหน่วยงานการลงทุนและการวางแผนเวียดนาม (DPI) ระบุว่าเงินทุน FDI ส่วนใหญ่ไหลเข้าในภาคอสังหาริมทรัพย์, อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป, การค้าและบริการ, โทรคมนาคม และระบบสารสนเทศ ซึ่งในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เมืองหลวงมีโครงการ FDI ที่ได้รับอนุญาตกว่า 91 โครงการ ด้วยมูลค่า 468 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมถึงโครงการต่างประเทศ 72 โครงการ และกิจการร่วมค้า 19 แห่ง นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดที่เข้ามาลงทุนในกรุงฮานอย รองลงมาสิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ตามลำดับ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hanoi-remains-top-fdi-destination-in-10-months-406118.vov