มุมมองการตัดสินใจของกัมพูชาเกี่ยวกับสิทธิพิเศษทางการค้า

การสูญเสียเอกสิทธิทางการค้าของสหภาพยุโรปอาจกระทบกระเทือนต่อสภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชา แต่ภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและรองเท้าจะยังคงได้รับสถานะการค้าพิเศษ (EBA) จากสหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญเป็นอันดับสองของประเทศและตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุด โดยรัฐบาลกัมพูชาและภาคธุรกิจด่างร่วมกันเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับการเพิกถอนสิทธิ บางรายกล่าวว่าโอกาสของการเปลี่ยนแปลงกำลังช่วยเร่งการยอมรับการปฏิรูปเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก ซึ่งหากมีการยกเลิกสิทธิอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมากที่สุดทำให้แรงงานเสี่ยงต่อการตกงานและอาจจะนำพาเศรษฐกิจให้เติบโตชะลอตัวลง โดยจากข้อมูลของตัวแทนการค้าของสหรัฐ (USTR) กล่าวว่าไม่ว่าจะมี EBA หรือไม่ก็ตามภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศก็จะยังคงแข่งขันได้ ซึ่งสหรัฐฯยังคงเป็นตลาดส่งออกเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาโดยมีมูลค่ารวม 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/1761524/cambodia-at-the-crossroads

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยวเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาว: ADB

รัฐบาลตั้งเป้าหมายว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมากขึ้นจนถึงสิ้นปีนี้ด้วยสิ่งจูงใจมากมายแคมเปญการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการขายและการอัปเดตนโยบาย การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการคาดการณ์ล่าสุดของ ADB  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 62 และ 63 ของประเทศยังคงอยู่ในระดับปานกลาง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสาธารณะของ ADB สปป.ลาว กล่าวว่าการท่องเที่ยวถือเป็นปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจการเจริญเติบโต องค์ประกอบสำคัญหลายอย่างจำเป็นสำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุน การรณรงค์การท่องเที่ยวและการควบคุมค่าธรรมเนียมแรกเข้าที่สถานที่ท่องเที่ยว สปป.ลาวมีศักยภาพสำหรับการท่องเที่ยวทางธรรมชาติวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ แต่เพื่อใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้รัฐบาลจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานส่งเสริมการท่องเที่ยวและจัดการค่าธรรมเนียมการเข้าชมเว็บไซต์ท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญที่สุดคือรัฐบาลต้องการแคมเปญการตลาดผ่านสื่อที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่มา : http://annx.asianews.network/content/infrastructure-development-tourism-key-economic-growth-laos-adb-105204

การประชุมเชิงปฏิบัติการในสปป.ลาวจัดการกับห่วงโซ่คุณค่าโลก บริการ และการเปิดเสรี ทางเศรษฐกิจ

เจ้าหน้าที่ของรัฐจากหลายองค์กรเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างศักยภาพในห่วงโซ่คุณค่าการผลิตทั่วโลก บริการและการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในอาเซียน การรวมตัวทางเศรษฐกิจ สปป.ลาวกับระบบระดับภูมิภาคและระดับโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้รัฐบาลมีโอกาสใหม่ ๆ รวมถึงเทคนิคและเทคโนโลยีที่ดีกว่าที่จำเป็นสำหรับการพัฒนา หัวข้อสำหรับการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงความสำคัญของการค้าบริการเพื่อการพัฒนา LDC, แนวโน้มที่เกิดขึ้นใหม่ในโลกาภิวัตน์, ห่วงโซ่คุณค่าการผลิตทั่วโลกและการค้าบริการในอาเซียนและเอเชียตะวันออก, การเปิดเสรีบริการและห่วงโซ่คุณค่าการผลิตทั่วโลก การเจริญเติบโตการพัฒนาทุนมนุษย์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม 4.0 ผู้เข้าร่วมยังได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนา SMEs และการเติบโตของการท่องเที่ยวบริการด้านการเกษตร การขนส่ง นโยบายการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การพัฒนาภาคบริการโลกาภิวัตน์และเขตการค้าเสรี ซึ่งศาสตราจารย์จากประเทศออสเตรเลียเป็นผู้นำเข้าร่วมกับกรณีศึกษาการอภิปรายกลุ่มแบบทดสอบและการนำเสนอกลุ่ม

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/workshop-laos-tackles-global-value-chains-services-economic-liberalisation-105283

อุตสาหกรรมเวียดนามเติบโตสูงที่สุด ในรอบ 4 ปี

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเติบโตร้อยละ 9.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา และดัชนีภาคอุตสาหกรรม (IIP) ยังคงอยู่ในระดับเติบโตอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 11.37 รองลงมาภาคการผลิตไฟฟ้าและจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 และภาคการจัดหาน้ำประปาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.43 ในขณะที่ ภาคการขุดเหมืองแร่ เริ่มส่งสัญญาขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 2.68  หลังจากหลายปีที่ผ่านมาลดลง เนื่องมาจากการใช้ถ่านหินที่เพิ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำคัญที่มีการเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็ก ปิโตรเลียม โทรทัศน์ และอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7968902-vietnam%E2%80%99s-industrial-growth-hits-four-year-high.html

เวียดนามคาดเกินดุลการค้า ในปี 2562

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 แม้ว่าสถานการณ์ตลาดทั่วโลกชะลอตัว จากการบริโภคและการนำเข้าที่ลดลง แต่สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามยังคงเกินดุลการค้าอยู่ที่ 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการส่งออกรวม 194.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกัน จากข้อมูลของ Trading Economics กล่าวว่าสถานการณ์การค้าเวียดนามในปีนี้ มีทิศทางที่เป็นบวก โดยเฉพาะอย่าง สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงผลของข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เช่น CPTPP และ EVFTA ล้วนส่งผลให้มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น และช่วยสร้างความมั่นใจต่อนักลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคอุตสาหกรรมและการแปรรูป นอกจากนี้ จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ระบุว่าหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักการส่งออกของเวียดนาม คือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ผลิตโดยธุรกิจ Samsung, LG และ Cannon เป็นต้น

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7969702-trade-surplus-expected-for-2019.html

มัณฑะเลย์ออกกฎเข้มควบคุมมอเตอร์ไซค์และรถสามล้อ

เจ้าหน้าที่ของเมืองมัณฑะเลย์บังคับใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดกับมอเตอร์ไซด์และรถสามล้อ ในขณะที่มอเตอร์ไซด์และรถสามล้อช่วยให้ผู้อยู่อาศัยรอบเมืองมีงานแต่ไม่มีใบอนุญาตซึ่งจะไม่ได้รับอนุญาตให้รับส่งผู้โดยสาร ซึ่งบางครั้งมักละเมิดกฎจราจรอย่างเช่น การวิ่งในทางที่ไม่ใช่เลนของตัวเองทำให้คนเดินเท้าตกอยู่ในอันตราย นายกเทศมนตรีเมืองมัณฑะเลย์กล่าวว่ามีการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบเอกสารนำเข้าของคนขับรถสามล้อที่ไม่ทำงานอย่างถูกต้อง บริษัทขนส่งบางแห่ง เช่น Grab และ O-way อบรมผู้ขับขี่ แต่คนอื่น ๆ จำเป็นต้องมีการดูแลมากขึ้น มีรถสามล้อที่มีใบอนุญาตมากกว่า 6200 คันในเขตมัณฑะเลย์ ปัจจุบันมีการตรวจสอบ 532 ครั้งตั้งแต่เดือน ม.ค. ส.ค. และพบว่ามีการละเมิดกฎแล้ว 1460 คัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-regulate-motorbike-taxis-three-wheelers.html

ชง 8 เรื่องเด็ดดันเที่ยวไทยพุ่ง

นายกลินท์  สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นำคณะกรรมการเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ) เพื่อหารือความร่วมมือและนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ของภาคเอกชนต่อการผลักดันเศรษฐกิจ โดยมีข้อเสนอประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย 1.Digital Tourism Platform ขอรับการสนับสนุนแหล่งข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ ของกระทรวงและหน่วยงานภายใต้กำกับของกระทรวง 2.Downtown VAT Refund  โดยขอให้มีการทำVAT Refund ไปยังจังหวัดต่าง ๆ และขอให้ช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มจุดในการดำเนินการ VAT Refund 3.การอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว   สนับสนุนให้มีการปรับปรุง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 4.สนับสนุนโครงการพัฒนาการท่องเที่ยว ตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเรือสำราญ พ.ศ. 2561-2570 ให้มีผลในทางปฏิบัติ 5.โครงการทัวร์ริมโขง  ขอให้กระทรวงฯ ช่วยผลักดันการดำเนินโครงการทัวร์ริมโขงให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม และร่วมพัฒนาแผนแม่บทกับภาคเอกชน 6.โครงการไทยแลนด์ริเวียร่า  หอการค้าไทยสนับสนุนโครงการ โดยขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บท และแผนพัฒนาภายใต้โครงการไทยแลนด์ริเวียร่า 7.โครงการ 1 หอการค้า 1 ท่องเที่ยวชุมชน โดยการร่วมจัดหลักสูตรการอบรมให้ความรู้ชุมชน 8.การพัฒนาการท่องเที่ยวรองรับกลุ่มผู้สูงอายุ ขอให้ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการที่มีคุณภาพที่ดีรองรับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยขอให้มีการปรับปรุงแผนพัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/410950