นายกฯ ฮุน เซน ประเมินการถอนสิทธิพิเศษ EBA ของ EU ไม่กระทบกัมพูชา

นายกรัฐมนตรีฮุน เซน กล่าวว่า ภาคการผลิตของกัมพูชาจะไม่ได้รับผลกระทบจากการถอนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร Everything But Arms (EBA) ของสหภาพยุโรป (EU) ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยได้กล่าวไว้ในระหว่างการประชุมกับแรงงานกว่า 16,000 คน ในจังหวัดกำปงสปือเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (4 พ.ค.) ซึ่งก่อนหน้ากัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวเนื่องจากประเทศถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) แต่ด้วยกัมพูชามีโครงสร้างรายได้ของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงด้วยเหตุผลที่ว่ากัมพูชาไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการเกี่ยวกับการเมือง และสิทธิมนุษยชน จึงทำให้ในอนาคตอันใกล้กัมพูชาจะต้องเสียภาษีสำหรับการส่งออกโดยปราศจากสิทธิพิเศษ EBA ไปยังตลาดสหภาพยุโรป โดยในปี 2020 สหภาพยุโรปได้ถอนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ร้อยละ 20 จากกลุ่มสมาชิก 27 ประเทศ รวมถึงกัมพูชา แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ข้อมูลการค้าที่เผยแพร่โดยกรมศุลกากรและสรรพสามิตของกัมพูชา (GDCE) กล่าวเสริมว่าในปี 2022 กัมพูชาส่งออกสินค้ากลุ่มรองเท้า เสื้อผ้า และสินค้าเผื่อการเดินทาง (GFT) ขยายตัวประมาณกว่าร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากมูลค่าการส่งออกรวม 10.99 พันล้านดอลลาร์ สู่มูลค่า 12.63 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งบ่งชี้ว่าการสูญเสียสิทธิพิเศษ EBA ไม่ได้ส่งผลต่อการส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าว โดยชดเชยด้วยการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ อย่างสหรัฐฯ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501302667/eba-withdrawal-not-to-impact-cambodia-says-pm/

การเข้าถึงตลาดสหภาพยุโรปโดยปลอดภาษีของ สปป. ลาว

ปัจจุบัน สปป. ลาวเป็นประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (LDC) ได้ประโยชน์จากการเข้าถึงสินค้าทั้งหมดโดยปลอดภาษีและปลอดโควตา (DFQF) ไปยังตลาดสหภาพยุโรปสำหรับสินค้าทั้งหมด ยกเว้นเครื่องกระสุนปืนและอาวุธ การเข้าถึงพิเศษนี้มีให้ภายใต้โครงการ Everything But Arms (EBA) ของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นหนึ่งในสามประเภทของโครงการที่สหภาพยุโรปจัดทำขึ้นภายใต้ ‘Generalised Scheme of Preferences’ (โครงการ GSP) อีกสองหมวดคือ Standard GSP และ GSP+ ซึ่งใช้กับประเทศกำลังพัฒนา  สปป. ลาวได้ใช้ประโยชน์จาก EBA ของตนมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยการส่งออก EBA จาก สปป. ลาวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม การส่งออกของ สปป. ลาวไปยังสหภาพยุโรปในปัจจุบันมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 ของการส่งออกทั้งหมด ถึงอย่างนั้น สปป. ลาวมีศักยภาพที่สำคัญในการขยายการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและเพิ่มส่วนแบ่งการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปได้ในอนาคตจากการใช้ประโยชน์จากโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_The_lao_pdr_224.php

 

ในช่วง 8 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้ารวมกว่า 5 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกสินค้าประเภทเครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 คิดเป็นมูลค่า 5.021 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่า 4.861 พันล้านดอลลาร์ ตามการรายงานจากกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา โดยมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มคิดเป็นถึงร้อยละ 45 ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ ถึงแม้กัมพูชาจะเผชิญอยู่กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงการถูกถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้า Everything But Arms (EBA) จาก EU แต่ถึงอย่างไรภาคการส่งออกผลิตเครื่องนุ่งห่มก็ยังคงมีแนวโน้มเติบโต ซึ่งในปี 2020 กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้ามูลค่ารวม 7.420 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 10.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2020 ของกระทรวงพาณิชย์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50937900/garment-exports-net-5-billion-in-eight-months/

GMAC ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอเรียกคืนสิทธิพิเศษทางการค้าจาก EU ต่อกัมพูชา

สมาคมผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมาธิการยุโรปจากผลกระทบของ COVID-19 และการถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางการค้า Everything but Arms (EBA) ของสหภาพยุโรปบางส่วน ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยส่งผลกระทบต่อการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปประมาณ 1 ใน 5 ของมูลค่าการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งภาคเสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าเพื่อการเดินทาง มีมูลค่ารวม 1.1 พันล้านยูโรสำหรับการส่งออก แบ่งเป็นการส่งออกเสื้อผ้ามูลค่าราว 770 ล้านยูโร, รองเท้า 210 ล้านยูโร และสินค้าด้านการท่องเที่ยว 120 ล้านยูโร โดยการถอนสิทธิพิเศษทางการค้าในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงตลาดในสหภาพยุโรปของกัมพูชาประมาณร้อยละ 20 ซึ่งจากการสำรวจสมาชิกพบว่าผู้ผลิตรองเท้ามีปริมาณการผลิตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 20-40 ในช่วงครึ่งแรกของปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50767213/gmac-seeks-court-order-to-restore-trade-perks-from-eu/

สหภาพยุโรปถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างกัมพูชาบางส่วนแล้ว

ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมูลค่าราว 7 พันล้านดอลลาร์ต่อปีของกัมพูชากำลังจะถูกถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) บางส่วนที่สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป (EU) โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามการตัดสินใจของสหภาพยุโรปตั้งแต่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ แม้ว่ารัฐบาลและภาคเอกชนจะพยายามเจรจาต่อรองให้ EU ไม่ดำเนินการหรืออย่างน้อยก็ชะลอการถอดถอนออกไปก่อน เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาและในเดือนกุมภาพันธ์คณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการยุโรปได้แนะนำให้ถอดถอนบางส่วนของโครงการ EBA ตั้งแต่เดือนสิงหาคมโดยอ้างถึงการละเมิดหลักการของกัมพูชาอย่างร้ายแรงในด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงานภายในประเทศที่ยังไม่ถูกแก้ปัญหา โดยการระงับดังกล่าวส่งผลกระทบต่อหนึ่งในห้า (1.08 พันล้านดอลลาร์) ของการส่งออกประจำปีของกัมพูชาที่ทำการส่งออกสินค้าไปยัง 27 ประเทศ ของกลุ่มสหภาพยุโรป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50753939/the-eus-tax-free-status-partially-withdrawn/

สหภาพยุโรปลดสิทธิพิเศษทางการค้ากัมพูชา

สหภาพยุโรปได้ลดผลประโยชน์ทางการค้ากัมพูชาอย่างเป็นทางการในบันทึกสิทธิมนุษยชนของราชอาณาจักร โดยสหภาพยุโรปกล่าวว่าจะระงับการตั้งค่าปลอดภาษีบางส่วนภายใต้ข้อตกลง “Everything But Arms” (EBA) เป็นโครงการที่จะช่วยกระตุ้นการค้าในประเทศเศรษฐกิจที่ยากจน ซึ่งสหภาพยุโรปกำลังดำเนินการตามคำแนะนำของคณะกรรมาธิการยุโรป เนื่องจากปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของคนงานในกัมพูชาลดน้อยลง อย่างไรก็ตามการตัดสินใจครั้งนี้เป็นเพียงบางส่วนโดยทำการถอนสิทธิพิเศษทางการค้าประมาณ 20% หรือหนึ่งพันล้านยูโร (1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) จากการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปในทุกปี โดยกัมพูชารับมือด้วยการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศอื่นแทน ซึ่งกัมพูชาเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่อันดับหกของสหภาพยุโรปและเป็นประเทศส่งออกสินค้าเสื้อผ้าและสิ่งทอมูลค่ากว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐสู่สหภาพยุโรปในปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50696924/eu-finally-slashes-cambodia-trade-benefits-over-rights-violations

พอร์ตฝั่งสินเชื่อในกัมพูชามีมูลค่าสูงถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ประธานกลุ่มไมโครไฟแนนซ์ (CMA) ของสมาคมไมโครไฟแนนซ์กัมพูชากล่าวว่าภาคการเงินจะยังคงแข็งแกร่งต่อไปเนื่องจากมีพอร์ตสินเชื่อมากกว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยตั้งข้อสังเกตว่ามี 2.1 ล้านคน ในกัมพูชาใช้บริการของผู้ให้กู้รายย่อยรวม 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 เพิ่มขึ้นกว่า 30% เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเขาตั้งข้อสังเกตเพิ่มขึ้นอีกว่าผลประกอบการที่ดียังสะท้อนถึงสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ซึ่งเขากล่าวว่าเงินให้สินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 30 วันนั้นต่ำกว่า 1% ณ สิ้นปี 2562 ซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้ว โดยลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรม การค้าและการผลิต ซึ่งกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาเฉลี่ย 6.1% ในปีนี้ โดยสาเหตุหลักคาดว่ามาจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ การระบาดของ Coronavirus การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางการเมืองระหว่างประเทศ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับข้อตกลงการค้า EBA ระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรป รวมไปถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50686626/loan-portfolio-goes-over-7bln-but-is-predicted-to-be-lower-this-year

ฮุนเซน ปล่อย เกิม สกคา ลดแรงกดดันนานาชาติ

ทางการกัมพูชาปล่อยตัว”เกิม สกคา”หัวหน้าพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) หลังจาก ถูกจับกุมตัวด้วยข้อหาทรยศชาติเมื่อกว่า 2 ปีก่อน แต่ยังคงมีคดีติดตัวอยู่เหมือนเดิม โดยศาลแขวงพนมเปญแถลงว่า เกิม สกคา เป็นอิสระจากการถูกกักบริเวณอยู่ภายในบ้านสามารถเดินทางไปที่ใดก็ได้ในกัมพูชา แต่ห้ามยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองหรือเดินทางออกนอกประเทศเพราะยังไม่ได้พ้นผิด ซึ่งชิน มาลิน โฆษกระทรวงยุติธรรมเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่าที่ปล่อยตัวเพราะ เกิม ให้ความร่วมมือกับทางการเป็นอย่างดี ประกอบกับเขามีปัญหาสุขภาพ ส่วนพรรค CNRP ของเขาถูกยุบก่อนการเลือกตั้งเมื่อปี 2561 ซึ่งในช่วงนี้กัมพูชาถูกแรงกดดันอย่างหนักให้ลดการปราบปรามฝ่ายค้านลงในช่วงที่ EU กำลังพิจารณาว่าจะเดินหน้าตัดสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) กับกัมพูชาหรือไม่ โดย EU เป็นตลาดส่งออกหลักของกัมพูชากว่า 1 ใน 3 สินค้าสำคัญ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า และจักรยาน หากถูกตัดสิทธิพิเศษจริงย่อม ส่งผลต่อเศรษฐกิจกัมพูชาเป็นอย่างมาก ซึ่ง EU ได้มอบ EBA ให้กับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

ที่มา : https://www.reuters.com/article/us-cambodia-politics/cambodia-lifts-opposition-leaders-house-arrest-before-eu-trade-decision-idUSKBN1XK022

มุมมองการตัดสินใจของกัมพูชาเกี่ยวกับสิทธิพิเศษทางการค้า

การสูญเสียเอกสิทธิทางการค้าของสหภาพยุโรปอาจกระทบกระเทือนต่อสภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชา แต่ภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและรองเท้าจะยังคงได้รับสถานะการค้าพิเศษ (EBA) จากสหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญเป็นอันดับสองของประเทศและตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุด โดยรัฐบาลกัมพูชาและภาคธุรกิจด่างร่วมกันเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับการเพิกถอนสิทธิ บางรายกล่าวว่าโอกาสของการเปลี่ยนแปลงกำลังช่วยเร่งการยอมรับการปฏิรูปเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก ซึ่งหากมีการยกเลิกสิทธิอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมากที่สุดทำให้แรงงานเสี่ยงต่อการตกงานและอาจจะนำพาเศรษฐกิจให้เติบโตชะลอตัวลง โดยจากข้อมูลของตัวแทนการค้าของสหรัฐ (USTR) กล่าวว่าไม่ว่าจะมี EBA หรือไม่ก็ตามภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศก็จะยังคงแข่งขันได้ ซึ่งสหรัฐฯยังคงเป็นตลาดส่งออกเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาโดยมีมูลค่ารวม 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/1761524/cambodia-at-the-crossroads