รัฐบาลประกาศเจรจา FTA ไทย-อียู จบปี 2568 ดันการค้า-ลงทุน

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก ผลักดันการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดโลก พัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

สำหรับการประชุมเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรป (EU) รอบที่ 2 เมื่อวันที่ 22 – 26 มกราคม 2567 ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการแปลกเปลี่ยนมุมมองและข้อเสนอต่าง ๆ ด้านการค้าและการลงทุน พร้อมสร้างความเข้าใจในการร่วมกันยกระดับไปสู่หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในอนาคตให้มากขึ้น

ทั้งนี้ การประชุมเจรจา FTA ไทย-EU รอบที่ 3 EU รับเป็นเจ้าภาพ เพื่อหารือประเด็นต่าง ๆ ด้านความร่วมมือไทย-EU เพิ่มเติม ในช่วงเดือนมิถุนายน 2567 โดยรัฐบาลตั้งเป้าให้การเจรจา FTA สามารถบรรลุข้อสรุปได้ภายในปี 2568

ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/economy/587341

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปมูลค่าแตะ 4 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022

การส่งออกของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรป (EU) ในปีที่แล้ว (2022) มีมูลค่ารวมกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021 ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาจากสหภาพยุโรปคิดเป็นมูลค่า 812 ล้านดอลลาร์ ส่งผลทำให้มูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรปสูงถึง 4.8 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคิดเป็นกัมพูชาเกินดุลการค้ากับสหภาพยุโรปที่มูลค่า 3.23 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เยอรมนีถือเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาที่มีมูลค่าการค้ากว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 ตามมาด้วยเบลเยียมมูลค่า 731 ล้านดอลลาร์, เนเธอร์แลนด์มูลค่า 596 ล้านดอลลาร์, ฝรั่งเศสมูลค่า 542 ล้านดอลลาร์ และสเปนมูลค่า 503 ล้านดอลลาร์ ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) กัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501236859/cambodias-exports-to-eu-surge-25-percent-to-4-billion-in-2022/

“เวียดนาม” ตั้งเป้ายอดการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยังตลาดอียู

เวียดนามตั้งเป้ามูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงไปยังตลาดยุโรป อยู่ที่ราว 5-5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568 ซึ่งผลิตภัณฑ์แปรรูปจะมีสัดส่วน 30% ของสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงของเวียดนามทั้งหมดที่ส่งออกไปยังตลาดอียู และอีกราว 20% ของสินค้าทางการเกษตรจะจำหน่ายในแบบการค้าปลีก โดยร้อยละของสินค้าข้างต้นจะเพิ่มขึ้น 50% และ 30% ตามลำดับ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ได้วางแผนที่จะแก้ไขอุปสรรคครั้งใหญ่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การมีส่วนร่วมระหว่างกระทรวงและท้องถิ่น โดยเฉพาะต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการผลิตทางการเกษตร รวมถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการแปรรูปอาหารทะเลให้เป็นไปตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนามยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ทั้งเรื่องความเข็มงวดของคุณภาพสินค้าและมาตรฐานสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1267910/viet-nam-targets-5-5b-in-agro-forestry-fishery-export-value-to-eu.html

เวียดนามส่งออกไปอียู ‘พุ่ง’ แม้เผชิญโควิด-19 ระบาด

ตามข้อมูลทางสถิติของกรมศุลกากร เผยว่าเวียดนามส่งออกสินค้าไปยังยุโรป เป็นมูลค่า 16.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. ขณะที่ การนำเข้าสินค้าอยู่ที่ 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.1% และ 16.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยปัจจุบันสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 5 ของเวียดนาม และเป็นผู้นำเข้าสินค้าเวียดนามรายใหญ่อันดับสอง รองจากสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ ว่าด้วยข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป ทำให้สินค้าทางการเกษตรของเวียดนามได้รับประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเล (VASEP) ระบุว่าผู้นำเข้ายุโรปหลายราย ได้แสดงความสนใจต่อซัพพลายเออร์อาหารทะเลของเวียดนามมากขึ้น เนื่องจากได้ประโยชน์จากอัตราภาษีของข้อตกลงดังกล่าว และมีแหล่งวัตถุดิบที่มีเสถียรภาพ ทำให้ในช่วง 5 เดือนแรก เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกไปยังยุโรป มากกว่า 380 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-exports-to-eu-surge-amidst-covid19/203374.vnp

เมียนมาลุ้นส่งออกน้ำผึ้งไป EU ภายในปีนี้

สมาคมการเลี้ยงผึ้งเมียนมาและกระทรวงพาณิชย์เผย ผู้เลี้ยงผึ้งอยู่ในช่วงเตรียมการเพื่อส่งออกน้ำผึ้งไปยังตลาดสหภาพยุโรปคาดว่าสิ้นปีนี้สามารถส่งออกได้กว่า 50% และส่งออกได้ถึง 800 ตันในปีงบประมาณ 63-64 ปัจจุบันตลาดหลักคือญี่ปุ่น อุตสาหกรรมส่งออกน้ำผึ้งสร้างรายได้ให้กับประเทศประมาณ 4 ดอลลาร์สหรัฐ มีฟาร์มผึ้งประมาณ 670 เฮกตาร์ที่สามารถผลิตน้ำผึ้ง 4,000 ถึง 5,000 ตันต่อปี ซึ่งทั่วประเทศมีโรงงานทำน้ำผึ้ง 6 แห่งโดยจะส่งออกระหว่าง 2,000 ถึง 3,000 ตันไปยังญี่ปุ่นและจีนในทุกๆ ปี ทั้งนี้ผู้เลี้ยงผึ้งต้องปฎิบัติตามมาตรฐานสากล เช่น การวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต (HACCP) โดยการสนับสนุนของกระทรวงพาณิชย์และศูนย์การค้าระหว่างประเทศในการจัดหลักสูตร HACCP และส่วนแบ่งการตลาดสำหรับผู้เลี้ยงผึ้ง นอกจากนี้น้ำผึ้งยังสามารถผลิตได้จากน้ำหวานที่เก็บจากไนเจอร์ งา ดอกทานตะวัน สะระแหน่ เถาวัลย์ ถั่วแระ ดอกไม้ป่า และต้นลิ้นจี่

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-export-honey-eu-year.html

เวียดนามส่งออกปลาทูน่าไปยัง EU พุ่งสูงขึ้น หลังจากลงนามข้อตกลง EVFTA

เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทได้ประสานงานกับคณะกรรมการประชาชนของจังหวัดคั้ญฮหว่า เพื่อส่งเสริมการผลิตปลาทูน่าด้วยการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU Fishing) และยกระดับการส่งออกปลาทูน่าไปยังสหภาพยุโรปภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ทั้งนี้ ในเดือนสิ.ค. เวียดนามส่งออกปลาทูน่าไปยังสภาพยุโรปอยู่ที่ 11.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6) และในเดือนก.ย. อยู่ที่ 11.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบเดือนที่แล้ว) อีกทั้ง นาย Phung Duc Tien รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท กล่าวว่า EVFTA จะสร้างโอกาสในการส่งออกปลาทูน่าของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรปในช่วงเดือนสุดท้ายของปีนี้ และยังช่วยให้เวียดนามส่งออกอาหารทะเลเพิ่มขึ้นในอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้ ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA ทำให้สหภาพยุโรปจะลดภาษีสำหรับสินค้าส่งออกอาหารทะเลของเวียดนามร้อยละ 86.5 ภายใน 3 ปีข้างหน้า และจะอยู่ในระดับร้อยละ 90.3 ภายใน 5 ปีข้างหน้าและร้อยละ 100 ซึ่งเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในระยะเวลา 7 ปี

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-tuna-exports-to-eu-surge-thanks-to-evfta-25052.html

เวียดนามเผยธุรกิจเครื่องหนังและรองเท้า ไม่น่าบรรลุเป้าส่งออก 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าของเวียดนาม ตั้งเป้าการส่งออกยากที่จะถึง 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ เนื่องจากตลาดทั่วโลกหดตัวลง ทั้งนี้ ในภาพรวม มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมดังกล่าวอยู่ที่ 10.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่เมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคชาวต่างชาติรัดเข็มขัดการบริโภค ซึ่งตลาดรองเท้าเวียดนามหลานรายได้รับผลกระทบ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เบลเยียมและเยอรมนี นอกจากนี้ กระทรวง MoIT ระบุว่าอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้ายังคงเผชิญกับอุปสรรคในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากการฟื้นตัวของสหรัฐฯ และตลาดอียูที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 โดยปัจจุบัน จำนวนธุรกิจมีมากกว่า 1,700 แห่ง และธุรกิจส่วนใหญ่ร้อยละ 85 มีเงินทุนและเทคโนโลยี รวมถึงต้องพึ่งพาการนำเข้าวัสดุจากต่างชาติอย่างมาก

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/leather-footwear-sector-unlikely-to-meet-us24bln-export-target-780044.vov

เปิดเวทีรับฟังเอฟทีเอ ไทย-อียู 22ก.ย.นี้ เพิ่มโอกาสค้าขายสินค้าไทย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฟื้นการเจรจา FTA ไทย-อียู 22 ก.ย.นี้ หลัง “ไอเอฟดี” ศึกษาเสร็จแล้ว “อรมน” ชี้ปัจจุบันไทยมีสัดส่วนการค้ากับประเทศที่มี FTA รวม 62.8% ถ้าได้อียูที่มีสัดส่วนการค้า 7.9% จะทำให้การค้าของไทยกับประเทศที่ทำ FTA เพิ่มเป็น 70.7% ยิ่งสร้างโอกาสค้าขาย แย้มผลศึกษา สินค้าไทยมีโอกาสส่งออกได้เพียบ แต่ก็ต้องเปิดตลาดให้อียูเพิ่ม จับตาหากเจรจา ต้องรับมือกับประเด็นใหม่ๆ ด้วย นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้กำหนดจัดการสัมมนา “ไทยพร้อมหรือยังที่จะฟื้นการเจรจา FTA ไทย-EU?” ในวันที่ 22 ก.ย.2563 ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) หลังจากที่กรมฯ ได้มอบสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยจะเชิญผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร นักวิชาการ และภาคประชาสังคม ร่วมวิพากษ์วิจารณ์ และแลกเปลี่ยนความเห็นต่อผลการศึกษาดังกล่าว รวมทั้งระดมความเห็นเรื่องการฟื้นการเจรจา FTA ไทย-อียู ก่อนที่จะรวบรวมความคิดเห็นเสนอระดับนโยบายประกอบการพิจารณาตัดสินใจการดำเนินการของไทยในเรื่องนี้ต่อไป ทั้งนี้ ผลการศึกษาในเบื้องต้น พบว่า การทำ FTA กับอียูจะช่วยสร้างโอกาสในการแข่งขันให้กับสินค้าไทยได้เพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกไปอียู เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก แต่ในทางกลับกัน ไทยจะต้องเปิดตลาดให้อียู ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการไทยนำเข้าสินค้าบางชนิดจากอียูเพิ่มขึ้น เช่น นมและผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม เมล็ดพืชน้ำมัน และสินค้าเทคโนโลยี เป็นต้น ขณะเดียวกัน ยังพบว่า FTA ที่อียูทำกับสิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการหยิบยกประเด็นใหม่ๆ รวมไว้ในการจัดทำ FTA ด้วย เช่น การยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การเปิดตลาดจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การเข้าเป็นภาคีความตกลงระหว่างประเทศ การยกระดับมาตรฐานแรงงาน และการปฏิบัติของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของไทยต้องพิจารณาระดมความเห็นว่าไทยพร้อมที่จะเจรจากับอียูในเรื่องเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร เพราะจะมีผลต่อการนำไปสู่การปรับกฎเกณฑ์ทางการค้าของไทย.

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/796498

EU สนับนุนเงิน 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อปฏิรูปการศึกษาของเมียนมา

สหภาพยุโรปให้ทุนเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาในปีการศึกษาใหม่จำนวน 37.6 ล้านยูโร (ประมาณ 60 พันล้านจัต / 43.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา  ท่ามกลางการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และทำให้แน่ใจว่าเด็กทุกคนสามารถกลับไปโรงเรียนได้อย่างปลอดภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่ารัฐบาลจะยังคงพยายามปรับปรุงการศึกษาและการฝึกอบรมสายอาชีพทั่วประเทศ เงินช่วยเหลือเป็นการชำระเงินครั้งที่สามจำนวน 221 ล้านยูโรจากสหภาพยุโรปเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับทุกคนในประเทศ ซึ่งต้องทำให้แน่ใจว่าเด็ก ๆ จะไม่ถูกทิ้งไว้ในช่วงวิกฤตินี้ การเข้าถึงการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องจะมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูอย่างยั่งยืนและความสามารถของเราในการป้องกันและตอบสนองต่อภัยคุกคามดังกล่าวได้ดีขึ้นในอนาคต เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาโรงเรียนกว่า 5,600 แห่งทั่วประเทศเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ คาดว่าโรงเรียนประถมและมัธยมต้นจะเปิดในสองสัปดาห์ รัฐบาลเตรียมห้องเรียนเพื่อรองรับระยะห่างทางสังคม (social distancing) เพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับแนวทางการควบคุมและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ครูจะได้เรียนรู้หลักสูตรใหม่ออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มในการพัฒนาการศึกษาของเมียนมา เพื่อสนับสนุนการการสอนดิจิทัลมากขึ้นมีการเตรียมคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ให้กับโรงเรียนและครู กระทรวงจะประเมินแต่ละโรงเรียนและปรับให้เข้ากับสถานการณ์ในแต่ละท้องถิ่น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/eu-releases-43-million-boost-myanmar-education-reforms.html

การส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปลดลงแต่มีแนวโน้มที่ดีในปี 2563

ข้อมูลการส่งออกข้าวสารจากกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งครองส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันของข้าวในกัมพูชาลดลงมากกว่า 20% ในเดือนมกราคมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากข้อมูลของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) แสดงให้เห็นว่าในเดือนแรกของปีกัมพูชาได้ทำการส่งออกข้าวรวม 50,450 ตันลดลง 15% สร้างรายได้ 39 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย 91% เป็นข้าวหอมและที่เหลือเป็นข้าวขาวเมล็ดยาว ซึ่งในรายงานของ CRF กล่าวว่าสหภาพยุโรปยังคงเป็นแหล่งส่งออกข้าวที่สำคัญของกัมพูชาคิดเป็น 37% ของทั้งหมดตามด้วยจีน 30%, อาเซียน 11% โดยสหภาพยุโรปเรียกเก็บภาษี 199.50 เหรียญสหรัฐต่อตันในปี 2562 ซึ่งในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมากัมพูชาเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเปลือกอยู่ที่ 7.9 ล้านตัน ในขณะที่การส่งออกข้าวสารมีปริมาณ 620,106 ตัน ลดลงจากปีก่อนประมาณ 1%

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50689327/kingdoms-rice-exports-to-eu-declined-through-tariffs-but-2020-outlook-good