กางแผนดันทุเรียนใต้เข้าระบบGAPลดกีดกันการค้า
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงสถานการณ์ไม้ผลแปลงใหญ่ภาคใต้ฤดูกาลปี 62 โดยเฉพาะทุเรียน จัดเป็นไม้ผลที่ส่งออกลำดับต้นๆ เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น ราคาดี จากแนวโน้มราคาทุเรียนที่ดีขึ้นต่อเนื่องส่งผลให้มีการขยายพื้นที่ทั้งประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกทุเรียนเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน โดยมีจีนเป็นตลาดหลัก ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรมองว่าการที่ไทยส่งออกทุเรียนไปจีนจำนวนมาก เนื่องจากขณะนี้จีนแจ้งในเบื้องต้นมาแล้วผลผลิตทุเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP จะไม่สามารถส่งออกได้ในปีถัดไป ด้วยเหตุนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงเร่งผลักดันให้เกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP โดยศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จะเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อช่วยผลักดันให้ทุเรียนแปลงใหญ่ผลิตภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาตลาดส่งออกรายใหญ่ เพียงรายเดียว และเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อทุเรียนไทย นอกจากทุเรียนแล้วไม้ผลชนิดอื่น ได้เร่งบริหารจัดการให้มีมาตรฐานการผลิตเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ มังคุด สำหรับแผนบริหาร จัดการผลไม้ของภาคใต้ในฤดูกาล โดยการบริหารจัดการเชิงปริมาณ ได้แก่ การกระจายผลผลิตในประเทศ ด้วยวิธีกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตผ่านผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร Modern Trade ไปรษณีย์/ตลาดออนไลน์ ตลาดค้าผลไม้ภายในจังหวัด การจำหน่ายตรงผู้บริโภค การจัดงานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น การแปรรูป ด้วยวิธีการแช่แข็ง อบแห้ง กวน ทอด และการส่งออก ซึ่งในอนาคตผลไม้แปลงใหญ่ทุกชนิด กรมจะผลักดันให้เข้าสู่ระบบ GAP ทั้งหมด เพื่อรองรับตลาดส่งออกไปยังทุกประเทศต่อไป
เวียดนามเผยทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่ม 68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วงครึ่งแรกของปี 62
จากรายงานของธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับว่าอยู่ในระดับสูงที่สุด จากปริมาณการเพิ่มขึ้นของทุนสำรองระหว่างประเทศ ทำให้ธนาคารกลางเวียดนามสามารถควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ให้มีเสถีรภาพ นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวียดนามต้องเผชิญกับสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ในขณะที่ การส่งออกของเวียดนามในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ขยายตัวเพียงร้อยละ 7.3 ซึ่งต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 10.5 และในช่วงเวลาดังกล่าว เวียดนามขาดดุลการค้าอยู่ที่ 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จะมีบทบาทสำคัญในการลดการขาดดุลการค้าของเวียดนามได้
ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/foreign-currency-reserves-hit-68-billion-usd-in-h1/156644.vnp
เวียดนามเผยยอดขายรถจักรยานยนต์ลดลง ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2562
จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เวียดนาม (Vietnam Association of Motorcycle Manufacturer : VAMM) เปิดเผยว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ยอดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเวียดนามมีปริมาณมากกว่า 749,500 คัน ลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นแค่ยอดการจำหน่ายของสมาชิกสมาคม VAMM ได้แก่ Honda, Yamaha, Motor Vietnam, Suzuki, Piaggio, SYM เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่รวมยอดจำหน่ายของรถจักรยานยนต์รวมในประเทศ เนื่องมาจากบริษัทนั้นไม่ได้อยู่ในสมาคม VAMM และทางสมาคมฯ มองว่าตลาดรถจักรยานยนต์อยู่ในช่วงอิ่มตัว แต่ก็ยังมีศักยภาพอยู่ ซึ่งยอดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลง ในช่วงไตรมาสที่ 2 นั้น เป็นผลมาจากการแข่งขันของคู่แข่งที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสมาคม VAMM นอกจากนี้ จากข้อมูลของการประชุมบริษัทพิอาจิโอ (Piaggio) เผยว่าตลาดรถจักรยานยนต์เวียดนามมีการแบ่งประเภทของสินค้าให้อยู่ในระดับไฮเอนด์ ซึ่งคนเวียดนามส่วนใหญ๋ไม่ได้มองแค่รถจักรยานยนต์เป็นแค่พาหนะในการเดินทาง แต่มองว่าสกูตเตอร์จะแสดงถึงฐานะหรือกำลังซื้อของคนเวียดนาม
จีน – เมียนมา ลงนามสร้างความร่วมมือด้านปัญหาชายแดน
จีนแสดงความยินดีที่จะกระชับความร่วมมือกับเมียนมาในประเด็นชายแดนและตรวจคนเข้าเมือง รมว.กระทรวงความมั่นคงสาธารณะของได้หารือกับ รมว.กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและประชากรของเมียนมา ได้ช่วยปรับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ทวิภาคีของงสองประเทศเพื่อเพิ่มความร่วมมือในประเด็นชายแดนและการควบคุมการเข้าเมืองและการต่อสู้อาชญากรรม เช่น การค้ายาเสพติด การพนันออนไลน์ข้ามพรมแดน เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของพื้นที่ชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเมียนมาหวังที่จะเพิ่มความร่วมมือในทางปฏิบัติกับจีนอย่างจริงจัง
ที่มา: http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2019-07/24/c_138254539.htm
ผลสำรวจตลาดประกันภัยเมียนมามีศักยภาพพร้อมเติบโต
จากการสำรวจลูกค้าของ IKBZ Insurance Co Ltd หนึ่งในบริษัทประกันภัยรายใหญ่ที่สุดในประเทศ พบว่าอุตสาหกรรมประกันภัยของเมียนมามีศักยภาพที่จะเติบโตเป็น 1 ล้านล้านจัตในอีก 12 เดือนข้างหน้าและจะเติบโตถึง 4 ล้านล้านจัตในอีก 10 ปีข้างหน้า ปัจจุบันมีอัตราการทำประกันภัยต่ำที่สุดในภูมิภาคโดยมีประชากรเพียง 2 ล้านคนจาก 54.36 ล้านคนที่มีประกันครอบคลุมทุกประเภท ส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำมาก แต่คาดว่าจะโตในภูมิภาค 5% ภายใน 10 ปีข้างหน้า หากมีการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ จากการสำรวจกลุ่มตัวย่าง 1,000 คน แบ่งเป็นในเขตเมือง 70% และเขตชนบท 30% ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ประกันสุขภาพและประกันชีวิตที่หลายคนกังวลเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของครอบครัวมากกว่าตัวเอง ผลการสำรวจพบว่า 57% ต้องการเพื่อดูแลครอบครัวของพวกเขา 33% ต้องการก้าวหน้าในอาชีพการงานของพวกเขา 32% เพื่อคุณภาพชีวิตของเด็ก ๆ และ 30% เลือกที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีของครอบครัว IKBZ ตั้งอยู่ในย่างกุ้งเป็นบริษัทประกันเอกชนในท้องถิ่นรายแรกโดยในปี 2555 จะกลายเป็นหุ้นส่วนกับ Mitsui Sumitomo Insurance Group Inc
ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/survey-shows-insurance-market-has-potential-grow.html
ธุรกิจสปป.ลาว ไทยหนุนการค้าการลงทุน
ธุรกิจของสปป.ลาวและไทยกำลังวางแผนที่จะเพิ่มปริมาณการค้าและการลงทุนในระดับทวิภาคีในปีต่อ ๆ ไปด้วยการเอาชนะอุปสรรคอันยาวนานหลายประการ ทั้งสองฝ่ายคาดหวังที่จะจัดตั้งคณะทำงานพิเศษที่จะร่วมมือกับบุคลากรจากทั้งสองฝ่ายในความหวังที่จะเชื่อมช่องว่างกับรัฐบาลสปป.ลาวและไทย แผนนี้ได้ตกลงกันในหลักการโดยผู้แทนสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว สภาธุรกิจไทย – สปป. และสมาคมนักธุรกิจไทยในสปป. ลาว มีการหารือในประเด็นและปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สู่ประเทศไทย อัตราภาษีกำไรและอุปสรรคด้านภาษีต่างๆ ความต้องการความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นเมื่อทั้งสองฝ่ายตระหนักว่าธุรกิจของสปป.ลาวและไทยกำลังดิ้นรนกับปัญหาที่ค้างคายาวนาน เชื่อว่าเมื่อปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องโดยรัฐบาลสปป.ลาวและไทยปริมาณการค้าและการลงทุนในระดับทวิภาคีจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-thai-businesses-seek-bolster-trade-investment-100827
เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหประชาชาติเฝ้าติดตามความคืบหน้าโครงการในสปป.ลาว
เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหประชาชาติเดินทางไปยังสปป.ลาวโดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนของสหประชาชาติ – สปป.ลาวในการรักษาความมั่นคงด้านอาหาร สร้างงานในพื้นที่ชนบทและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ชนบท หน่วยงานสหประชาชาติกำลังดำเนินการสนับสนุนเชิงกลยุทธ์ที่จัดการโดย IFAD โครงการถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรรายย่อยในการผลิตพืชที่มีความต้องการของตลาด โครงการนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกรและผู้ค้าเพื่อให้สามารถทำธุรกิจร่วมกันได้
ที่มา : http://annx.asianews.network/content/un-agriculture-chief-monitors-project-progress-laos-100732
การปฏิรูปที่จำเป็นภายในกัมพูชาเพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลคาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงในปีหน้าจากอัตราการขยายตัว 7.1% ในปี 2562 ถึง 6.5% ในปี 2563 โดยการชะลอตัวส่งผลมาจากแรงกดดันจากภายนอกนำโดยการที่อาจจะถูกเพิกถอน EBA ที่ได้รับจากสหภาพยุโรป และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน โดยปัญหาภายนอกเหล่านี้จะถูกแก้ไขโดยการปฏิรูปอย่างลึกซึ้งและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถแข่งขันและดึงดูดนักลงทุนได้มากขึ้น แม้ว่า EBA จะถูกถอนออกไปกัมพูชาก็ยังสามารถบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ “แข็งแรง” ได้หากสถาบันรัฐบาลทุกแห่งทำงานร่วมกันเพื่อออกกฎหมายปฏิรูปที่เสริมสร้างบรรยากาศทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบของแรงกดดันจากภายนอกโดยการเพิ่มงาน การแก้ปัญหาโครงสร้างที่จำกัด การแข่งขันและการกระจายตลาดการปรับปรุงการจัดการทางการเงินของสถาบันของรัฐและเอกชน และเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันสาธารณะ ซึ่งในปี 2561 เศรษฐกิจของกัมพูชาขยายตัวร้อยละ 7.5
ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50626637/deep-reforms-needed-to-continue-healthy-growth-ministry/
ส่งออกกัมพูชาเพิ่มขึ้น 15% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี
การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 15% มูลค่ากว่า 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐตามรายงานของกรทรวงเศรษฐกิจและการเงินของกัมพูชา ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 8.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 21.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการเติบโตของภาคการส่งออกส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ในสหรัฐฯ พร้อมกับการส่งมอบสินค้ากี่ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว คิดเป็น 34% ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชา โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจภายในประเทศจะช่วยกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการขยายตลาดกลุ่มเป้าหมายทำให้กัมพูชาสามารถเติบโตและลดแรงกดดันจากความเสี่ยงภายนอกได้ดีขึ้น ซึ่งเมื่อปีที่แล้วการส่งออกของกัมพูชามีมูลค่า 11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4% จากปี 2560 โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ เสื้อผ้าและรองเท้า ,รถจักรยาน ,ยางพารา ,ข้าว ,มันสำปะหลัง ,พริกไทย ,น้ำมันปาล์ม และเม็ดมะม่วงหิมพานต์
ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50626638/exports-up-by-15-pct-in-first-five-months-of-the-year/