ประมงเมียนมาห้ามส่งออกปูเล็ก

สหพันธ์ประมงเมียนมาร์ (MFF) แจ้งต่อกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทานว่าจะห้ามการส่งออกปูที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 100 กรัม (.22 ปอนด์หรือ 3.5 ออนซ์) เพราะการส่งออกปูแบบไม่จำกัดขนาดทำให้ต้องนำเข้าปูขนาดใหญ่แต่มีขนาดเล็กกว่า ส่งผลให้เกิดการขาดแคลน ก่อนหน้านี้รัฐบาลจำกัดการส่งออกปูที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 100 กรัม และผ่อนคลายการส่งออกและผู้ผลิตส่งออกสู่ตลาดโลกมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการปูเพิ่มขึ้นและมีผลต่อการขยายพันธุ์ของปูเช่นกัน ปัจจุบันสหพันธ์ประมงเมียนมาได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศในการเพาะพันธ์ปูนิ่มในเมืองละบุตา เขตอิรวดี ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงปูอยู่ในเมืองอย่างย่างกุ้ง ตะนินตายี และอิรวดีรวมทั้งรัฐยะไข่ โดยส่งออกไปยังยุโรปและประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน

ที่มา: https://www.mmbiztoday.com/articles/mff-moves-impose-ban-export-small-crabs

สปป.ลาวส่งออกโควตาส่งข้าวไปยังจีนเป็นครั้งแรก

สปป.ลาวเริ่มจัดส่งข้าวขาวจำนวน 1,100 ตันแรกไปยังประเทศจีนโดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงโควต้าการส่งออก 50,000 ตันระหว่างรัฐบาลสปป.ลาวและบริษัท COFCO การจัดส่งครั้งแรกนี้จะถูกขนส่งในเดือน ก.ค.และ ส.ค. ข้อตกลงในการส่งออกข้าวครั้งแรกได้ลงนามระหว่าง COFCO และ บริษัท Indochina Development Partner Co. , Ltd. ภายใต้โควตานำเข้าข้าวอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลจีน สปป.ลาวได้รับ 8,000 ตันสำหรับช่วงแรกของปี 58-59 และ 20,000 ตันสำหรับปี 60-61ในขณะที่จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของสปป.ลาวและเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ แต่ก็มีข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เข้มงวด คาดการณ์ว่าการส่งออกข้าวจะลดลงในปี 62 จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปีที่แล้ว กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ระบุว่าประเทศตั้งเป้าจำนวน 45.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการส่งออกข้าวในปีที่แล้ว แต่ทำได้เพียง 31.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปีนี้รัฐบาลคาดว่าจะสร้างรายได้เพียง 25.2 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/laos-exports-first-shipment-rice-quota-china-100658

ภัยแล้งทำลายอนาคตของเกษตรกรสปป.ลาว

ปริมาณน้ำฝนที่ลดลงและอุณหภูมิสูงกำลังทำลายพืชผลของเกษตรกรชาวสปป.ลาวทั่วประเทศเนื่องจากสภาพแห้งแล้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักวิเคราะห์กล่าวว่าปริมาณน้ำฝนตามฤดูกาลที่ต่ำที่สุดในรอบหลายทศวรรษจะไม่เพียง แต่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิตของเกษตรกร แต่ยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ กล่าวว่าการปลูกข้าวในฤดูฝนดำเนินไปเพียง 40% เท่านั้น ขาดฝนทำให้การผลิตข้าวล่าช้า แต่ก็ยังไม่ได้รายงานตัวเลขที่แน่นอนเกี่ยวกับพืชที่เสียหาย ซึ่งเจ้าหน้าที่การเกษตรอาจส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น เกษตรกรที่ยืมเงินจากธนาคารจำเป็นต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับปริมาณพืชที่เสียหายเพื่อให้รัฐบาลสามารถช่วยเจรจากับธนาคารได้ 
ที่มา : http://annx.asianews.network/content/drought-destroying-future-lao-farmers-100731

รายได้จากอุตสาหกรรมเชิงสกัดของกัมพูชาสูงถึง 11 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานเก็บรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีจากอุตสาหกรรมสกัดในช่วง 5 เดือนแรกของปีประมาณ 11 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามรายงานของกระทรวงล่าสุด โดยในปี 2561 รายได้จากอุตสาหกรรมสกัดเท่ากับ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกระทรวงได้ชี้แจงก่อนหน้านี้ว่ารายได้ที่มิใช่ภาษีหมายถึงรายได้ที่เก็บจากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและสัญญาเช่าที่ดิน โดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่ากัมพูชาจะกลายเป็นที่ดึงดูดนักลงทุนมากขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งโครงการขุดทองคำและการสกัดน้ำมัน ซึ่งระบุว่ากระทรวงได้ออกใบอนุญาตสำรวจมากกว่า 50 ใบ และใบอนุญาตทำการขุดอีกกว่า 20 ใบ โดยจะนำเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ร่วมด้วยเพื่อที่จะสามารถลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50626279/revenue-from-extractive-industry-reaches-11m/

กัมพูชาและเวียดนามจะบรรลุเป้าหมายการค้าภายในปี 2563

กัมพูชาและเวียดนามมองว่าพวกเขาจะเข้าถึงการค้าทวิภาคีมูลค่ากว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2563 ตามคำสัญญาของรัฐบาล ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มในปัจจุบันรวมถึงการค้าสองฝ่ายที่สูงถึง 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้วการค้าทวิภาคีจะบรรลุและอาจเกินเป้าหมาย 5 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2563 ที่กำหนดโดยรัฐบาล โดยการอภิปรายครอบคลุมความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง การค้าและการลงทุน ,การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ,การท่องเที่ยวและการส่งเสริมวัฒนธรรมการ ,เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายชายแดนและอื่นๆ ณ ปี 2561 เวียดนามมีโครงการลงทุนประมาณ 210 โครงการในประเทศกัมพูชาซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรและป่าไม้ มีทุนจดทะเบียนการลงทุนรวมประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุนของกัมพูชาในเวียดนามก็เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยมีโครงการ บริษัทของกัมพูชาจำนวน 19 โครงการมูลค่าการลงทุน 63.4 ล้านสหรัฐตามข้อมูลจากสถานทูตเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50626267/cambodia-vietnam-will-meet-2020-trade-target-ministry/

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดส่งออกปีนี้ไม่โต ติดตามผลกระทบ H2/62 บาทแข็ง-ภัยแล้ง-สงครามการค้า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า การส่งออกในเดือน มิ.ย.62 มีมูลค่าอยู่ที่ 21,409.3 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว 2.15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ก็ตาม การส่งออกในเดือนมิ.ย. หดตัวน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวสูงถึง 317.4% ในเดือน มิ.ย.ซึ่งเมื่อหักมูลค่าส่งออกทองคำแล้ว ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยหดตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -8.7% โดยเป็นการหดตัวในการส่งออกสินค้าหลักไปยังตลาดคู่ค้าหลักทุกตลาด ส่งผลให้การส่งออก 6 เดือนแรก มีมูลค่ารวม 122,970.7 ล้านดอลลาร์ หดตัว 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 61 สาเหตุจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน แต่เมื่อมองไปในช่วงครึ่งหลังของปี 62 บรรยากาศการค้าโลกแม้ว่าจะไม่ได้ดีขึ้น หลังสหรัฐฯ และจีนกลับเข้าสู่เส้นทางการเจรจาอีกครั้ง แต่สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศจะไม่แย่ลงไปกว่าช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้จีนและสหรัฐฯ คาดว่าจะมีมาตรการทางการเงินออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งก็น่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจโลกได้ด้วยในระดับหนึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงยังคงประมาณการส่งออกสินค้าไทยตลอดทั้งปี 62 ที่ 0.0% และระบุว่ายังมีประเด็นที่ต้องติดตามในช่วงที่เหลือของปี 62 ได้ ไม่ว่าจะเป็นทิศทางการแข็งค่าของเงินบาท สภาพภูมิอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งที่อาจจะกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตร รวมไปถึงความไม่แน่นอนในเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในระยะข้างหน้า

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3017948

ผู้ประกอบการในนครโฮจิมินห์ ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2

จากรายงานของคณะกรรมการประชาชนเวียดนาม (City’s People Committee) เปิดเผยว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออก ณ นครโฮจิมินห์ ขยายตัวอยู่ที่ 19.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยผลผลิตภัณฑ์ภาคอุตสาหกรรมของนครโฮจิมินห์คิดเป็นมูลค่า 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 77 ซึ่งหากจำแนกรายสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 พบว่าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบมีมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่า 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสินค้าทางด้านการเกษตรมีมูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับอียู (EVFTA) จะช่วยให้ผู้ประกอบการเวียดนามได้รับการเอื้ออำนวยต่อการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศยุโรปในอัตราภาษีร้อยละ 0 รวมไปถึงการหาตลาดใหม่ และการพัฒนาคุณภาพสินค้าอีกด้วย

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/522944/hcm-city-firms-exports-increase-by-92-per-cent.html#VcLgc2COy7m8yKpo.97

ตลาดรถมอเตอร์ไซด์เวียดนาม มีการชะลอตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2562

จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ยอดขายรถจักรยานยนต์มีปริมาณ 1.5 ล้านคัน และลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นผลมาจากตลาดรถจักรยานยนต์กำลังเข้าสู่การอิ่มตัว โดย 5 อันดับของแบรนด์ที่ยอดนิยมในเวียดนาม ได้แก่ Honda, Piaggio, Suzuki, SYM และ Yamaha หากรวมกันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 95 ของตลาดรถจักรยานยนต์เวียดนาม นอกจากนี้ จากรายงานของสถาบันการวิจัยด้านการตลาด ระบุว่าในปี 2561 เวียดนามมียอดขายประมาณ 3.4 ล้านคัน นับว่ามียอดการซื้อรถจักรยานยนต์อยู่ในอันดับที่ 4 ของทั่วโลก เป็นรองแค่อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย ข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพของการคมนาคมเวียดนาม และแสดงถึงความนิยมในการใช้รถจักรยานยนต์ของชาวเวียดนาม และการเข้าถึงที่ง่ายต่อการใช้รถยนต์

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/data-speaks/motorbike-market-sees-an-h1-cooling-down-3953896.html