รถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว อีกหนึ่งเส้นทางเชื่อมจีนสู่อาเซียน

ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนใน มากที่สุดด้วยมูลทุนสะสมกว่า 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 30% ของมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศสะสมทั้งหมด โดยเฉพาะ เส้นทางรถไฟสายคุนหมิง-สิงคโปร์ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt, One Road ที่ถือสัดส่วน 70% ของโครงการ ผลดีต่อการขนส่งไปจีนคือลดต้นทุนได้ถึง 40 – 70% และเส้นทางยังผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างร่วมบ่อเต็นบ่อหาน แขวงหลวงน้ำทา เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ แขวงบ่อแก้ว และเขตเศรษฐกิจเฉพาะอุตสาหกรรมและการค้าเวียงจันทน์-โนนทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งทั้ง 3 เขตเศรษฐกิจมีความสำคัญทางด้านเป็นศูนย์กระจายสินค้า แหล่งบันเทิงที่สำคัญ เช่น นิคมอุตสาหกรรม Vita โอกาสของผู้ประกอบการไทยคือลงทุนในภาคการผลิต ธุรกิจท่องเที่ยว ค้าปลีก ซึ่งในอนาคตจะเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งจะเป็นประตูสู่การลงทุนในกลุ่ม CLMV ได้เป็นอย่างดี

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48780_0.pdf

19 มิถุนายน 2560

เมียนมาอนุญาตจัดตั้งบริษัทเครดิตบูโร ข่าวดีสำหรับ SMEs เมียนมา

เดือน พ.ค.61 ที่ผ่านมา รัฐบาลเมียนมาเห็นชอบจัดตั้งบริษัท Myanmar Credit Bureau Ltd. เป็นบริษัทบูโรแห่งแรกของประเทศ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างสมาคมธนาคารเมียนมา (Myanmar Bank Association) กับ Asia Credit Bureau Holding จากสิงคโปร์ คาดว่าสามารถจัดตั้งได้ภายใน 1 ปีข้างหน้า เครดิตบูโรในเมียนมาส่งผลดีต่อใคร 1.สถาบันการเงินในเมียนมา การมีมีเครดิตบูโรทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นในการปล่อยเงินกู้ 2. SMEs เมียนมา ทำให้ SMEs มีโอกาสได้รับสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สะท้อนพื้นฐานที่แท้จริงของธุรกิจ 3. ภาพรวมการลงทุนในเมียนมา มีส่วนช่วยให้การจัดอันดับ Ease of Doing Business ของ World Bank ในปี 61 อยู่ในอันดับ 171 จากทั้งหมด 190 ประเทศ การจัดอันดับจะเป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ที่มา: https://kmc.exim.go.th/detail/20190927191138/20180725140613

ควรเลือกใช้ธนาคารไหนในเมียนมาเมื่อจะทำการค้าขายกัน

การทำธุรกรรมทางการค้ากับเมียนมาส่วนใหญ่จะเป็นการค้าชายแดน ภายหลังปี 49 ที่สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรและนโยบายเศรษฐกิจที่เปิดกว้างมากขึ้นทำให้ภาคธนาคารพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้จักกับธนาคารสำคัญในเมียนมาทั้ง 4 แห่งดังต่อไปนี้ 1.Myanma Economic Bank (MEB) เป็นธนาคารใหญ่อันดับ 2 ของประเทศรองจาก KBZ Bank เน้นการปล่อยสินเชื่อให้กับภาครัฐเป็นหลัก 2. Myanma Foreign Trade Bank (MFTB) เน้นบริการทางงานเงินระหว่างประเทศผ่านเครือข่าย Correspondent Bank ใน 54 ประเทศทั่วโลกและเป็นธนาคารที่นิยมในการเปิดบัญชีเงินตราต่างประเทศ 3. Myanma Investment and Commercial Bank (MICB) เน้นให้บริการหรือสนับสนุนผู้ประกอบการเป็นหลัก 4. Myanma Agricultural and Development Bank (MADB) เน้นให้บริการผู้ประกอบการและเกษตรกรในพื้นที่ชนบท ปัจจุบันในด้านการค้าระหว่างประเทศธนาคารของรัฐอย่าง MFTB และ MICB ควรที่จะทำความรู้จักมากที่สุดเพราะมีประสบการณ์ด้านธุรกรรมระหว่างประเทศมายาวนาน มีความน่าเชื่อถือสูง และมีโอกาสที่คู่ค้าชาวเมียนมาจะใช้บริการทางการเงินจากทั้ง 2 ธนาคารนี้

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/49462.pdf

กลินท์ สารสิน เชื่อมโยงอาเซียนสู้สงครามการค้า

กลินท์ สารสิน ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ประเมินเศรษฐกิจใน ปี 62 อาจขยายตัว 4% จากปีนี้ 4.4-4.8% จากปัญหาสงครามการค้า ด้านดีคือเศรษฐกิจสหรัฐยังมีแนวโน้มดี และราคาน้ำมันดิบตลาดโลกจากปัญหาสหรัฐ – อิหร่านและหลังเลือกตั้งกลางเทอม จะนำเข้าจากไทยทดแทนจีน และจีนก็จะนำเข้าสินค้าจากไทยเช่นกัน อาจจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาไทย ควรใช้ประโยชน์จากความร่วมมือการค้า โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ในการเชื่อมโยงสู่จีน ส่วนผล Brexit ใน EU ยังไม่กระทบมากนัก ขณะที่กลุ่มตลาดใหม่ (emerging market) ทั้งยุโรปตะวันออก แอฟริกา อินเดีย ฯลฯ และตะวันออกกลางจะมีแนวโน้มดีขึ้น

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-248686

ทรยศอย่างน่าละอาย! แอมเนสตี้ ถอด อองซาน ซูจี พ้นทูตแห่งมโนธรรมสำนึก

องค์การนิรโทษกรรมสากล ยึดรางวัล  ทูตแห่งมโนธรรมสำนึก  ซึ่งเป็นรางวัลด้านมนุษยชนสูงสุดของแอมเนสตี้ จาก นางอองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลเมียนมา โดยอ้างว่า “เธอไม่ได้ต่อต้านการใช้ความรุนแรงของกองทัพ ในการกวาดล้างชนกลุ่มน้อยชาวโรฮีนจา ในรัฐยะไข่” และเรียกพฤติกรรมนี้ว่า เป็นการทรยศอย่างน่าละอาย อีกทั้งเธอยังเห็นด้วยกับการจำคุก 2 นักข่าวรอยเตอร์ ซึ่งขุดคุ้ยเรื่องนี้ด้วย นางซูจี ซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้รับการเชิดชูว่าเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แอมเนสตี้เสนอชื่อ รับรางวัล “ทูตแห่งมโนธรรมสำนึก” ในปี 52 ขณะที่เธอยังคงถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านพักกรุงย่างกุ้ง

ที่มา: https://www.naewna.com/inter/376493

เปิดกลยุทธ์มัดใจเพื่อนบ้าน ลาว-เมียนมา

สมาคมไทย-พม่า เพื่อมิตรภาพและสมาคมไทย-ลาว เพื่อมิตรภาพ ได้ทำกิจกรรมเพื่อมอบโอกาสด้านการศึกษาและช่วยเหลือด้านต่างๆ ทั้งในเมียนมาและลาว เมื่อวันที่ 16 ส.ค. ได้ส่งมอบอาคารเรียน 2 ชั้น 16 ห้องเรียนให้กับ สปป.ลาว โดยรับการสนับสนุนจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ช.การช่าง จำกัด ฯลฯ และยังประสานกับภาคส่วนต่าง ๆ ของไทยเพื่อช่วยเหลือ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ. เวียงจันทน์ ร่วมกับบริษัทและคนไทยที่อย่ใน สปป. ลาว ได้รวมเงินบริจาค จำนวน 1,300,000 บาท และ 26,000,000 กีบ เมื่อวันที่ 25 ก.ค. และครั้งที่ 2 จำนวน 2,228,000 บาท เมื่อวันที่ 3 ส.ค.

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/818264