ควรเลือกใช้ธนาคารไหนในเมียนมาเมื่อจะทำการค้าขายกัน

การทำธุรกรรมทางการค้ากับเมียนมาส่วนใหญ่จะเป็นการค้าชายแดน ภายหลังปี 49 ที่สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรและนโยบายเศรษฐกิจที่เปิดกว้างมากขึ้นทำให้ภาคธนาคารพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้จักกับธนาคารสำคัญในเมียนมาทั้ง 4 แห่งดังต่อไปนี้ 1.Myanma Economic Bank (MEB) เป็นธนาคารใหญ่อันดับ 2 ของประเทศรองจาก KBZ Bank เน้นการปล่อยสินเชื่อให้กับภาครัฐเป็นหลัก 2. Myanma Foreign Trade Bank (MFTB) เน้นบริการทางงานเงินระหว่างประเทศผ่านเครือข่าย Correspondent Bank ใน 54 ประเทศทั่วโลกและเป็นธนาคารที่นิยมในการเปิดบัญชีเงินตราต่างประเทศ 3. Myanma Investment and Commercial Bank (MICB) เน้นให้บริการหรือสนับสนุนผู้ประกอบการเป็นหลัก 4. Myanma Agricultural and Development Bank (MADB) เน้นให้บริการผู้ประกอบการและเกษตรกรในพื้นที่ชนบท ปัจจุบันในด้านการค้าระหว่างประเทศธนาคารของรัฐอย่าง MFTB และ MICB ควรที่จะทำความรู้จักมากที่สุดเพราะมีประสบการณ์ด้านธุรกรรมระหว่างประเทศมายาวนาน มีความน่าเชื่อถือสูง และมีโอกาสที่คู่ค้าชาวเมียนมาจะใช้บริการทางการเงินจากทั้ง 2 ธนาคารนี้

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/49462.pdf

กลินท์ สารสิน เชื่อมโยงอาเซียนสู้สงครามการค้า

กลินท์ สารสิน ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ประเมินเศรษฐกิจใน ปี 62 อาจขยายตัว 4% จากปีนี้ 4.4-4.8% จากปัญหาสงครามการค้า ด้านดีคือเศรษฐกิจสหรัฐยังมีแนวโน้มดี และราคาน้ำมันดิบตลาดโลกจากปัญหาสหรัฐ – อิหร่านและหลังเลือกตั้งกลางเทอม จะนำเข้าจากไทยทดแทนจีน และจีนก็จะนำเข้าสินค้าจากไทยเช่นกัน อาจจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาไทย ควรใช้ประโยชน์จากความร่วมมือการค้า โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ในการเชื่อมโยงสู่จีน ส่วนผล Brexit ใน EU ยังไม่กระทบมากนัก ขณะที่กลุ่มตลาดใหม่ (emerging market) ทั้งยุโรปตะวันออก แอฟริกา อินเดีย ฯลฯ และตะวันออกกลางจะมีแนวโน้มดีขึ้น

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-248686

ทรยศอย่างน่าละอาย! แอมเนสตี้ ถอด อองซาน ซูจี พ้นทูตแห่งมโนธรรมสำนึก

องค์การนิรโทษกรรมสากล ยึดรางวัล  ทูตแห่งมโนธรรมสำนึก  ซึ่งเป็นรางวัลด้านมนุษยชนสูงสุดของแอมเนสตี้ จาก นางอองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลเมียนมา โดยอ้างว่า “เธอไม่ได้ต่อต้านการใช้ความรุนแรงของกองทัพ ในการกวาดล้างชนกลุ่มน้อยชาวโรฮีนจา ในรัฐยะไข่” และเรียกพฤติกรรมนี้ว่า เป็นการทรยศอย่างน่าละอาย อีกทั้งเธอยังเห็นด้วยกับการจำคุก 2 นักข่าวรอยเตอร์ ซึ่งขุดคุ้ยเรื่องนี้ด้วย นางซูจี ซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้รับการเชิดชูว่าเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แอมเนสตี้เสนอชื่อ รับรางวัล “ทูตแห่งมโนธรรมสำนึก” ในปี 52 ขณะที่เธอยังคงถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านพักกรุงย่างกุ้ง

ที่มา: https://www.naewna.com/inter/376493

เปิดกลยุทธ์มัดใจเพื่อนบ้าน ลาว-เมียนมา

สมาคมไทย-พม่า เพื่อมิตรภาพและสมาคมไทย-ลาว เพื่อมิตรภาพ ได้ทำกิจกรรมเพื่อมอบโอกาสด้านการศึกษาและช่วยเหลือด้านต่างๆ ทั้งในเมียนมาและลาว เมื่อวันที่ 16 ส.ค. ได้ส่งมอบอาคารเรียน 2 ชั้น 16 ห้องเรียนให้กับ สปป.ลาว โดยรับการสนับสนุนจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ช.การช่าง จำกัด ฯลฯ และยังประสานกับภาคส่วนต่าง ๆ ของไทยเพื่อช่วยเหลือ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ. เวียงจันทน์ ร่วมกับบริษัทและคนไทยที่อย่ใน สปป. ลาว ได้รวมเงินบริจาค จำนวน 1,300,000 บาท และ 26,000,000 กีบ เมื่อวันที่ 25 ก.ค. และครั้งที่ 2 จำนวน 2,228,000 บาท เมื่อวันที่ 3 ส.ค.

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/818264

เจาะ Insight ผู้บริโภคเมียนมาปี 2018 เปลี่ยนผ่านสู่ยุค “ช้อปเพื่อไลฟ์สไตล์”

บริษัท เอ็นไวโรเซล ประเทศไทย จำกัด บริษัทวิจัยระดับโลกได้วิเคราะห์เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคเมียนมาในปี 2018 ได้อย่างน่าสนใจคือ ตลาดโมเดิร์นรีเทล (Modern Retail) เติบโตสูง พื้นที่ retail ของ Aeon, Miniso หรือ Daiso จากญี่ปุ่นเติบโตถึง 28% ต่อปี ส่วนเมืองรองจะมี Grab and Go ร้านสะดวกซื้อที่เปิดตัวในปี 2013 ด้วยจำนวน 10 สาขา มองหาสินค้าที่สนองไลฟ์สไตล์มากกว่าแค่ปัจจัยสี่ หันมาซื้อของที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของยุคสมัยมากขึ้น เครื่องใช้ฟ้าจากจีนและญี่ปุ่นอย่าง เครื่องซักผ้าและตู้เย็นเติบโตขึ้น สินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นของไทย เครื่องสำอางค์จากเกาหลี หันมาเข้าร้านกาแฟที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่มากขึ้นและเติบโตจาก 6% ในปี 2013 เป็น 45% ในปี 2016 โกอินเตอร์ สนใจภาพลักษณ์ใช้ของอิมพอร์ตมากขึ้น เปิดรับสื่ออย่างอินเตอร์เน็ตและนิยมดู VDO Streaming เป็นที่นิยมมากในปี 2017 ซึ่ง 80% ดูผ่านมือถือ ทำให้ Netflix กำลังขยายธุรกิจไปยังเมียนมา นิยมเดินทางออกนอกประเทศมากขึ้น ในปี 2017 พบว่าเดือนทางไปต่างประเทศถึง 3 ล้านคน สูงสุดในกลุ่มอาเซียน ปัจจุบันคนเมียนมาที่มีการเปิดรับไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ผู้ประกอบการควรศึกษาตลาดและผู้บริโภคให้ดี เพื่อเข้าไปขายสินค้าอย่างถูกที่ ถูกเวลา ถูกกลุ่ม และวางกลยุทธ์ได้ถูกทาง

ที่มา: https://www.smethailandclub.com/aec-2840-id.html

27 กุมภาพันธ์ 2561

สปป.ลาว ท็อปค่าใช้จ่าย “แพงสุด” ในลุ่มน้ำโขง ชู 2018 ปีแห่งการท่องเที่ยว

บรรดากลุ่มประเทศ CLMV สปป.ลาวจัดเป็นประเทศที่ยากจนที่สุด แต่กลับเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดด้วยเช่นกัน ด้วยความที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล “Land Locked Country” จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุกประเทศไม่เว้นแม้กระทั่งข้าวเหนียว แม้การเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ที่ต้องอาศัยการสร้างเขื่อนพลังงานฟ้า 100 แห่งภายในปี 2020 แต่ถูกต่อต้านจากนักเคลื่อนไหวและกัมพูชา ดังนั้นการท่องเที่ยวจึงเป็นทางออกแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวนลดลง 12% ของครึ่งปีแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยเฉพาะจากชาติอาเซียนลดลงมากที่สุด เหตุจากค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว การเดินทาง อาหาร ที่พักและค่าธรรมเนียมที่สูงเกินไปและยังสูงกว่าเวียดนามด้วยซ้ำ แม้ปี 2561 จะเว้นวีซ่าตลอดทั้งปีให้กับประเทศอย่าง เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และสวีเดน ด้านจีนที่พยายามเชื่อม Land Links ต้องจับตาว่าจะสามารถช่วย สปป.ลาวในด้านการท่องเที่ยวและการค้าได้มากน้อยเพียงใด

ที่มา: https://www.matichonweekly.com/intrend/article_77224

24 มกราคม 2561