จีนส่งชุดช่วยเหลือใหม่เพื่อสนับสนุนการสู้รบโควิด -19

การช่วยเหลือสปป.ลาวจากจีนในการต่อสู้กับโควิด-19 มูลค่า 15.5 พันล้านกีบ (10 ล้านหยวนจีน) มาถึงเวียงจันทน์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สปป.ลาวเผชิญกับการระบาดที่รุนแรงขึ้นภายหลังพบผู้ติดเชื้อที่กลับจากประเทศไทย ณ วันที่ 10 พฤษภาคมจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 1,327 ราย ในขณะที่การระบาดแพร่กระจายไปอย่างรุนแรงรัฐบาลได้ระดมความช่วยเหลือจากภาคส่วนต่างๆและประเทศที่เป็นมิตรเพื่อเสริมทรัพยากรของรัฐบาลในด้านสาธารณสุข โดยจีนเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด การช่วยเหลือดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงมิตรภาพที่เกิดขึ้นผ่านจิตวิญญาณของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมของความร่วมมือระหว่างประเทศ

ที่มา :   https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_China_89.php

กัมพูชากำหนดแผนล่วงหน้า หากต้องสูญเสียสิทธิพิเศษทางการค้า

รัฐบาลกัมพูชากำลังเร่งกำหนดกลยุทธ์และนโยบายเพื่อรับมือกับความท้าทายหลังจากการเข้าถึงสิทธิพิเศษสำหรับการส่งออกที่อาจจะลดลงในอนาคต ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวถึงเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าภายในประเทศ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดขึ้นโดย WTO, UN DESA, UNCTAD และ ITC ซึ่งในการสัมมนารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา นอกจากนี้เขายังเน้นย้ำถึงผลกระทบจากการที่กัมพูชาจะถูกปรับเปลี่ยนสถานะจากประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด สู่ประเทศที่กำลังพัฒนา อาจมีผลต่อสิทธิพิเศษทางการค้า การดึงดูดการลงทุน และความสามารถในการแข่งขันของกัมพูชาในหลายภาคส่วน โดยทางรัฐบาลกัมพูชาเพื่อเป็นการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้กระทรวงได้เตรียมนโยบายและยุทธศาสตร์สำหรับกัมพูชาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการเน้นการกระจายความหลากหลายของตลาดส่งออก ผ่านข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีและพหุภาคี ตลอดจนการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ทางการค้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50854075/cambodia-formulates-way-forward-if-trade-privileges-are-lost/

คาดการณ์เศรษฐกิจกัมพูชาจะกลับมาเติบโตในปีนี้ แม้จะมีการแพร่ระบาด

สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคอาเซียน+3 (AMRO) คาดว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะกลับมาขยายตัวในเชิงบวกภายในปี 2021 หลังจากเมื่อปีที่แล้วเศรษฐกิจกัมพูชาโดยภาพรวมหดตัวลงไปอยู่ที่ร้อยละ 3 จากการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดในหลายๆ ภาคไม่ว่าจะเป็นภาคการส่งออกกับประเทศคู่ค้าสำคัญ ไปจนถึงปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลงเป็นอย่างมากอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในปีนี้ AMRO คาดว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวที่ร้อยละ 4 นำโดยการฟื้นตัวในภาคการผลิตและได้รับการสนับสนุนจากการกระตุ้นทางการคลังอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล ทั้งการตอบสนองอย่างจริงจังของรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค รวมถึงเร่งดำเนินการในการฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50854097/despite-surge-in-pandemic-cambodias-economy-projected-to-return-to-positive-growth-in-2021/

เวียดนามเผยช่วง 4 เดือนแรก งบประมาณเงินรายได้ พุ่ง 7.3%

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ งบประมาณเงินรายได้ อยู่ที่ประมาณ 543.4 ล้านล้านดอง (23.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้น 7.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งของแหล่งที่มาของการจัดเก็บรายได้ดังกล่าว มูลค่า 456.3 มาจากรายได้ในประเทศ และ 12 ล้านล้านดอง มาจากน้ำมันดิบ รวมถึงอีก 74.5 ล้านล้านดอง มาจากการส่งออกและนำเข้า ทั้งนี้ การจัดเก็บงบประมาณในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจมีทิศทางที่เป็นบวกและมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัว ในขณะที่การใช้จ่ายของงบประมาณ อยู่ที่ 463.7 ล้านล้านดองในช่วงเวลาดังกล่าว คิดเป็น 27.5% ของแผนการใช้จ่ายทั้งปี

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fourmonth-state-budget-revenue-goes-up-73-percent/201236.vnp

ธุรกิจเวียดนามลงทุนไปต่างประเทศ ‘พุ่ง’ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงวางแผนและการลงทุน เผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ธุรกิจเวียดนามลงทุนไปยังต่างประเทศ มูลค่า 545.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี จำนวนโครงการใหม่ 18 โครงการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนราว 142.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่วนใหญ่จะลงทุนไปยังโครงการทางด้านเทคโนโลยี คิดเป็นสัดส่วน 19.6% ของยอดลงทุนรวม รองลงมาค้าปลีกค้าส่ง เป็นต้น สหรัฐฯ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางของนักลงทุนชาวเวียดนามมากที่สุด ด้วยเม็ดเงินเงิน 302.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยกัมพูชา (89.1 ล้านเหรียญสหรัฐ) ฝรั่งเศส แคนาดา เยอรมันและเนเธอแลนด์ ตามลำดับ ทั้งนี้ ณ วันที่ 20 เมษายน เวียดนามมีโครงการลงทุนไปยังต่างประเทศ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 21.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ลงทุนในภาคขุดเหมือง (36% ของยอดเงินทุนทั้งหมด) และการเกษตรกรรม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-firms-overseas-investment-surges-in-first-four-months/201241.vnp

การยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งผลราคาข้าวโพดเมียนมาตกฮวบ

Myanmar Corn Industrial Association เผย ไทยไฟเขียวนำเข้าข้าวโพดปลอดภาษี (พร้อมยื่น Form D) ผ่านด่านแม่สอด ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 31  และสถานะการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับการส่งออกข้าวโพดได้สิ้นสุดไปตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมาส่งผลให้ราคาข้าวโพดตกต่ำลง ทั้งนี้เมียนมาตั้งเป้าส่งออกข้าวโพดไปไทย 1 ล้านตันในปีนี้ จนถึงขณะนี้มีการส่งออกไปแล้วประมาณ 600,000 ตัน ในปีประมาณ 62-63 มีการส่งออกข้าวโพด 2.2 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 360 ล้านดอลลาร์ ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่อยู่ในรัฐชาน , คะฉิ่น, กะเหรี่ยง, มัณฑะเลย์, ซะไกง์ และมะกเว ผลผลิตข้าวโพดในประเทศอยู่ที่ประมาณ 2.5-3 ล้านตันต่อปี –

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/revocation-of-withholding-tax-exemption-on-corn-exports-causes-price-downtrend/#article-title

ส.อ.ท.ผวาโควิดยืดเยื้อ ฉุดความเชื่อมั่นผู้ประกอบการต่ำสุดในรอบ 8 เดือน แนะรัฐกู้เงินเพิ่มเยียวยาระลอกใหม่

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 84.3 ลดจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 87.3 ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนก.ย. 63 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ที่ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงทั้งการค้าการลงทุน การเดินทางท่องเที่ยว ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับเดือนเม.ย. ที่มีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้ภาคการผลิตชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งหากมีการฉีดวัควีนล่าช้า เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทที่นำมาเยียวยาประชนอาจไม่เพียงพอ จึงเสนอว่ารัฐบาลควรกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท หรือกู้เพิ่มอีก 1 ล้านล้านบาท เพื่อให้มาตรการเยียวยาครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มและผู้ประกอบการ

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6389438