แผนแม่บทใหม่มุ่งสร้างการพัฒนาเมืองที่น่าอยู่

แผนแม่บทการพัฒนาเมืองฉบับใหม่จะช่วยให้ทางการสามารถตอบสนองต่อการเติบโตอย่างรวดเร็วของเวียงจันทน์ในอนาคตแต่การพัฒนาระบบต่างๆในแต่ละแขวงกลับไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากขาดการวางแผนอย่างละเอียดทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาระบบสาธารณูปโภคที่ไม่สามารถรองรับประชากรในพื้นที่ได้  รวมถึงปัญหาของการแออัดของรถยนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกล่าวในการประชุมสมัชชาแห่งชาติเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา “ถนนในเมืองหลวงไม่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานในขณะที่พื้นที่สาธารณะยังไม่ได้รับการพัฒนาจึงจำเป็นต้องจัดทำแผนแม่บทใหม่เพื่อให้เวียงจันทน์ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ในภูมิภาค” แผนแม่บทฉบับใหม่จะครอบคลุมพื้นที่ 61,600 เฮกตาร์และ 288 หมู่บ้านคิดเป็นร้อยละ 16 ของพื้นที่ดินของเมือง เวียงจันทน์มีประชากรเกือบหนึ่งล้านคนมีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจและแนวโน้มจำนวนประชากรที่สูงขึ้น พื้นที่ในเมืองจะขยายไปสู่ชานเมืองตามถนนสายหลักอย่างรวดเร็ว หากไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอการแผ่ขยายออกไปในเมืองจะส่งผลให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดีและบริการทางสังคมที่ไม่เพียงพอ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New_215.php

การเจรจาระหว่าง Royal Railway และ รัฐบาลกัมพูชายังคงดำเนินอยู่

การเจรจาระหว่าง Royal Railway Cambodia และรัฐบาลกัมพูชายังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามข้อตกลงสัมปทานฉบับใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงระบบรถไฟของกัมพูชาตลอดจนการรักษาโครงสร้างพื้นฐานให้ดำเนินไปอย่างเป็นระเบียบ โดย Royal Railway อยู่ระหว่างการเจรจากับ CRRC Corp Ltd. ซึ่งจะร่วมกันพัฒนาเส้นทางรถไฟของกัมพูชา ซึ่งตัวแทนของ CRRC กล่าวว่าบริษัทได้มีประสบการณ์ในการพัฒนาทางรถไฟมากว่า 21,000 กิโลเมตรในจีนและในต่างประเทศ โดย CRRC ได้แสดงความเต็มใจที่จะเข้าร่วมการเจรจาเพื่อเป็นพันธมิตรกับ Royal Railway ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศกัมพูชาให้ดียิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779061/royal-railway-and-cambodian-government-talks-still-on-track/

แรงกดดันทางเศรษฐกิจสำหรับการเปิดพรมแดนอีกครั้งระหว่างกัมพูชาและไทย

ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทยในปัจจุบันประกอบกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากอุทกภัยในกัมพูชาทำให้ทางการของทั้งสองประเทศจำเป็นต้องเปิดพรมแดนให้กับแรงงานข้ามชาติอีกครั้ง โดยพรมแดนระหว่างกัมพูชาและไทยถูกปิดตั้งแต่ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลในเรื่องของการอพยพข้ามพรมแดนจะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโควิด-19  ซี่งธนาคารโลกระบุว่ามีแรงงานอพยพกลับมายังกัมพูชามากกว่าประมาณ 120,000 คน เดินทางกลับจากประเทศไทยนับตั้งแต่เกิดการระบาดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มแรงงานที่มีทักษะต่ำ ซึ่งทางการไทยได้วางแผนให้กลุ่มแรงงานชาวกัมพูชาเข้ามาทำงานในโกดังเก็บผลไม้ที่ตั้งอยู่บริเวณด่านพรมแดนถาวรสำหรับคนงานในอำเภอโป่งน้ำร้อนของไทย โดยเชื่อมโยงกับจังหวัดพระตะบองของกัมพูชาได้ทดลองเข้ามายังพื้นที่ของไทยประมาณ 500 คน ตามรายงานในท้องถิ่นกระบวนการคัดกรองการตรวจสุขภาพและการกักกันจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 193 ดอลลาร์ต่อคน แต่จะลดลงเหลือเพียง 86.76 ดอลลาร์หากถูกกักกันในพื้นที่ที่ทางรัฐบาลไทยได้กำหนดไว้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779039/economic-pressure-for-kingdom-and-thailand-to-reopen-borders/

สหราชอาณาจักรพร้อมช่วยเหลือรัฐชานเดินหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและผังเมือง

นาย U Tun Aing Kyaw ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยแห่งรัฐฉานเผยรัฐฉานจะร่างผังเมืองและพัฒนาโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐโดยความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร โครงสร้างพื้นฐานมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเมือง โดยจะดำเนินการตามแผนระยะสั้นและระยะยาวสำหรับการอนุรักษ์มรดกโบราณตลอดจนโครงการพัฒนาเมืองเพื่อปรับปรุงภูมิภาคให้ทันสมัยหากประสบความสำเร็จรัฐฉานจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ยังได้ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองอีก 6 โครงการใน Moemeik, Mong Ton, Mong Hsat, Hopone ในขตปกครองตนเองปะโอ, Narnsam ในเขตปกครองตนเองของปะหล่อง และ Laukkai ในพื้นที่ปกครองตนเองโกก้าง นอกจากนี้ยังร่วมกับสวีเดนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในเมืองกะลอของรัฐฉาน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/shan-conduct-development-programmes-uk-aid.html