Asianwallets รุกขยายธุรกิจในเอเชีย เดินหน้าสร้างความร่วมมือด้านการชำระเงินข้ามแดน

Asianwallets ผู้นำด้านโซลูชันการชำระเงินข้ามแดน ประกาศว่า บริษัทประสบความสำเร็จในการเข้าสู่ตลาดสิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไทย ฮ่องกง จีน และอื่น ๆ ด้วยการให้บริการชำระเงินสุดล้ำมากมาย เช่น Thai QR และ NETS QR สำหรับคนไทยและสิงคโปร์ เป็นต้นเมื่อช่วงต้นปี Asianwallets ได้เปิดตัว “Asian Wallet Alliance Program” เพื่อสร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือข้ามแดนในเอเชีย ซึ่งเป็นการช่วยเหลือบริษัทต่าง ๆ ในการขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศ หลังการพัฒนานานหนึ่งปี Asiawallets ได้ร่วมมือกับสถาบันการเงินกว่า 45 แห่ง รวมถึงประสบความสำเร็จในการร่วมมือกับแบรนด์ต่าง ๆ กว่า 10,000 แบรนด์ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การจัดเลี้ยง จุดชมวิว ช็อปปิง โรงแรม ฯลฯ ทั้งนี้ การเข้าถึงระบบนิเวศกระเป๋าเงินดิจิทัลของ Asianwallets สะท้อนถึงความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายด้วยความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับพาร์ทเนอร์ Asianwallets ได้ระดมทุนจากบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่งในฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการชำระเงิน นอกจากนี้ ในเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง Asianwallets จะจัดแคมเปญร่วมกับผู้ประกอบการในท้องถิ่นหลายราย

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/anpi/3078577

จังหวัดคั้นห์หว่า ตั้งเป้ามีจำนวนผู้ประกอบการเอกชนกว่า 30,000 ราย ในปี 2568

เจ้าหน้าที่ในเขตจังหวัดคั้นห์หว่า (Khanh Hoa) วางแผนปรับปรุงคุณภาพและการดำเนินงานของธุรกิจในภาคเอกชน โดยมุ่งเน้นที่จะเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการราว 30,000 และ 35,000 ราย ในปี 2568 และ 2573 ตามลำดับ ซึ่งทางคณะกรรมประชาชนของจังหวัด ได้ดำเนินการแผนพัฒนาสร้างความยั่งยืนของธุรกิจเอกชนภายใต้การลงนามของนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ยังตั้งเป้างบประมาณรายรับรวมที่เก็บจากภาคเอกชน อยู่ในระดับร้อยละ 39 ในปี 2568 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวนั้น คณะกรรมการจึงกำหนดแนวทางและเป้าหมายมา 6 ด้านสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการลงทุนและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้ธุรกิจเอกชนให้นำวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ นอกจากนี้ จำนวนผู้ประกอบการที่จดทะเบียนใหม่ในปีที่แล้ว มีอยู่ประมาณ 1,900 ราย ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 757.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.12 และ 8.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ ประกอบกับผู้ประกอบการกว่า 447 ราย กลับมาดำเนินธุรกิจต่อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/570809/khanh-hoa-aims-to-have-30000-private-businesses-by-2025.html

GDP ของเวียดนามชะลอตัวเล็กน้อยในปี 2563

จากการคาดการณ์ของ Fitch Solutions ระบุว่าการเติบโตของ GDP เวียดนามจะแตะอยู่ในระดับร้อยละ 6.8 จากร้อยละ 7.02 ในปี 2562 เนื่องมาจากการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นคอขวด ทำให้การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.5 ของเศรษฐกิจเวียดนาม ทั้งนี้ ในเดือน พ.ย. 62 การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเวียดนาม มีการชะลอตัวลงร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2560 ส่วนภาคเกษตรกรรมได้รับแรงกดดันอย่างมาก เนื่องมาจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่อยู่ในบริเวณแม่น้ำโขง สปป.ลาว และผลกระทบของโรคไข้หวัดหมูแอฟริกา อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาคการก่อสร้างและการบริการจะสามารถพยุงการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจได้บางส่วน นอกจากนี้ นักวิเคราะห์คาดว่าการขยายตัวของภาคบริการได้รับแรงสนับสนุนจาก 4 ด้าน ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานที่แท้จริง นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเยือนอย่างต่อเนื่อง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาษีจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจและภาคการเงินที่ยังคงแข็งแกร่งอยู่

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/570811/viet-nams-gdp-to-ease-slightly-in-2020.html

ยอดผลิตรถยนต์เพิ่มในปี 62

การผลิตรถยนต์ในเมียนมาเพิ่มขึ้นหนึ่งในสามระหว่างเดือนม.ค. – พ.ย.ในปีที่แล้วเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีรถยนต์ใหม่จำนวน 14,042 คันที่ผลิตโดยใช้ระบบ Semi-knocked-down (SKD)  ยอดขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วรวมเป็น 19,274 คัน แสดงให้เห็นการซื้อยานพาหนะใหม่มาจากความพร้อมของแผนการชำระเงินค่างวดซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นของผู้ซื้อ บริษัท 18 แห่งได้รับอนุญาตให้ประกอบรถยนต์โดยใช้ระบบ SKD ของโรงงานในประเทศ ภายใต้นโยบายการนำเข้ายานพาหนะปี 2563 สามารถนำเข้าเฉพาะรถขับเพวงมาลัยซ้าย และยังระบุด้วยว่ารุ่นปีจะต้องไม่ต่ำกว่าปี 60 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ระบุ หากรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ 1,350 CC นำเข้าจะต้องเป็นปี 60 หรือใหม่กว่า ส่วนรถมินิบัส รถเมล์ รถโดยสารด่วน และรถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ที่ผลิตในปี 2559 หรือต่ำกว่านั้นอนุญาตให้นำเข้าได้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/car-production-sales-rise-2019.html

เมียนมาเซ็นสัญญาฉบับใหม่ส่งออกข้าวไปจีน

Mandalay Rice Development Company ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับใหม่โดยมีเป้าที่จะส่งออกข้าว 50,000 ตันไปยังจีน ปี 62 ที่ผ่านมาบริษัทได้ทำข้อตกลงกับ บริษัท พัฒนาข้าวมันดาเลย์มีข้อตกลงกับ Shwe Charnt Company จากจีนในการส่งออกข้าว 100,000 ตัน โดยผ่านทางถนนใหม่ของด่านชินฉ่วยโอ ในอดีตการส่งออกข้าวส่วนใหญ่ผ่านทางถนนมูเซ เมียนมามีรายรับ 650 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 2.16 ล้านตันใน 11 เดือนในปีนี้น้อยกว่า 780,000 ตันในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วและมีรายรับ 1,003 ล้านเหรียญสหรัฐ เมียนมาพบตลาดใหม่สำหรับการส่งออกในปี 59-60 และมีการส่งออกข้าวประมาณ 3.6 ล้านตันซึ่งทำลายสถิติในระยะเวลา 50 ปี การส่งออกข้าวถูกปฏิเสธในปีนี้เนื่องจากความต้องการจากสหภาพยุโรปและจีนลดลง เมียนมาส่งออกข้าวผ่านทางทะเลไปยังสหภาพยุโรปและแอฟริกา ส่วนจีนผ่านเส้นทางการค้าชายแดนของมูเซ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-signs-new-contract-to-export-rice-to-china

สปป.ลาวเชื่อมโยงพลังงานไฟฟ้า 195MW ไปยังประเทศกัมพูชา

เมื่อวันที่ 7 มค. 63 กัมพูชาและสปป.ลาวได้ทำการทดสอบโรงงานไฟฟ้าที่เกิดจากความร่วมมือของทั้ง 2 ประเทศ โดยจะมีการส่งพลังงานกระแสไฟฟ้า 200 เมกะวัตต์ (MW จากเขื่อน Dan Sahong ในสปปลาวมายังโรงงานไฟฟ้าStung Treng ของกัมพูชา วิกเตอร์โจน่าผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายพลังงานของกระทรวงพลังงานของกัมพูชากล่าวว่า “การนำเข้าอย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้เมื่อดำเนินการอย่างเป็นทางการจะนำเข้ากระแสไฟฟ้าได้ถึง 195MW ผ่านสายส่งขนาด 230kV ในจังหวัด Stung Treng และต่อไปยังกรุงพนมเปญ”ปัจจุบันกัมพูชานำเข้าพลังงานจากสปป.ลาวระหว่าง 50MW ถึง 70MW และในอีก 4 ปีข้างหน้าจะมีนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาวอีก 500 เมกะวัตต์ ผ่านสายส่งเดิมที่แล้วเสร็จในปีนี้เป็นผลดีกับทั้ง 2 ประเทศทั้งในเรื่องพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงจะส่งเสริมให้ทั้งกัมพูชาและสปป.ลาวมีเศรษฐกิจที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677525/laos-links-195mw-power-to-cambodia

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (MSMEs)กำลังขาดโอกาสทางการตลาดที่ดี

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (MSMEs)ของสปป.ลาวกำลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจนอกเหนือจากปัญหาเดิมอย่างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ยาก นั้นคือการจัดแสดงในงานแสดงสินค้าเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในท้องถิ่นที่ต้องการส่งเสริมอย่างสม่ำเสมอเพื่อยกระดับโปรไฟล์ของพวกเขาโดยกลุ่มเจ้าของบริษัทต่างๆ บอกกับเวียงจันทน์ไทมส์ว่า“ เราต้องจ่ายค่าเช่าบูธมากเกินไปในงานแสดงสินค้าต่างๆ หากเป็นไปได้รัฐบาลควรช่วย MSME ในการจัดเตรียมพื้นที่ว่างหรือให้เงินอุดหนุน 50%สำหรับการเช่าบูธในงานแสดงสินค้า” ทั้งนี้ปัจจุบันภาครัฐมีการส่งเสริมการผลิตและบริโภคสินค้าในประเทศเพื่อลดการนำเข้าน่าจะเป็นโอกาสที่ดีของ MSME ที่แต่กลับกัน MSME หลายๆธุรกิจไม่เป็นที่รู้จักและเข้าถึงลูกค้าได้ยากเพราะไม่มีโอกาสจัดแสดงในงานต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อมาต่อยอดธุรกิจทำให้ยังไม่เกิดการพัฒนาในธุรกิจ ดังนั้นรัฐบาลควรมีการสนับสนุนในการสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำธุรกิจเพราะจะเป็นการช่วยกระตุ้นทั้งการลงทุนในประเทศจากภาคครัวเรือนรวมถึงการบริโภคระดับครัวเรือนที่มากขึ้นอีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lack-marketing-opportunities-budget-add-msme-woes-111627