สายการบินลาวเปิดตัวเส้นทางบินใหม่ เพื่อให้เข้าถึงประเทศลาวได้มากขึ้น

เพื่อเพิ่มการเดินทางให้เข้าถึงประเทศลาวได้มากขึ้น สายการบินลาวเปิดตัวเส้นทางระหว่างประเทศใหม่ ได้แก่ เส้นทางสะหวันนะเขตและกรุงเทพฯ เวียงจันทน์และพนมเปญ รวมถึงเวียงจันทน์และดานัง เริ่มวันที่ 15 มีนาคม 2567 เที่ยวบินสะหวันนะเขต-กรุงเทพฯ จะทำการบินทุกๆ วันจันทร์ พุธ และศุกร์ เพื่อเชื่อมโยงระหว่างลาวกับไทย และจะตามมาด้วยเส้นทางเวียงจันทน์-พนมเปญ เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2567 โดยให้บริการ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ในทุกๆ วันอังคาร พฤหัสบดี และวันเสาร์ นอกจากนี้ เที่ยวบินจะเปลี่ยนเส้นทางระหว่างลาวและเวียดนาม โดยเส้นทางเวียงจันทน์-ดานัง เริ่มบินตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2567 โดยให้บริการ 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/01/31/lao-airlines-introduces-new-regional-routes/

EA ลุยผลิตรถบรรทุก EV โรงงานแบตเตอรี่เพิ่มกาลังผลิต 4 Gwh/ปี

บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จากัด (มหาชน) ความพยายามทาให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือ (ฮับอีวี) ถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งภาครัฐตื่นตัวค่อนข้างมากและต่อเนื่องและภาคเอกชนเริ่มเข้ามาในธุรกิจอีวี ซึ่งกระแสโลกผลักดันให้ธุรกิจต้องปรับตัวเร็วขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ซึ่งเป็นตัวแปรและตัวเร่งทาให้ทุกคนมุ่งสู่ Zero Emission ในส่วน EA ธุรกิจเป็นสินค้าสีเขียว Green Product ทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องไปกับเทรนด์ของโลก ไล่ตั้งแต่โรงผลิตไบโอดีเซล โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม และดาเนินการระบบนิเวศน์ (EV Ecosystem) ปลายปีที่แล้ว สาหรับโปรดักต์ของ EA ได้แก่ รถบัสไฟฟ้า เรือไฟฟ้า ส่วนรถบรรทุกไฟฟ้า EV กาลังจะออกสู่ ตลาด ตอนนี้อยู่ระหว่างพูดคุยพาร์ทเนอร์ และสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า สาหรับโรงงานประกอบรถบัสไฟฟ้า EV เฟสแรกนั้นรองรับกาลังผลิต 8,000 คันต่อปี โดยเมื่อปีที่แล้วได้ส่งมอบรถบัสไฟฟ้า 120 คัน และเป้าหมายปีนี้จะส่งมอบอีกประมาณ 1,200-1,500 คัน โดยมีพันธมิตรที่ให้บริการรถเมล์ในกรุงเทพ ตามแผนภายในสิ้นปีหน้า คาดว่ากรุงเทพฯจะมีรถเมล์หรือรถโดยสารสาธารณะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า EV เกือบทั้งหมด หากเป็นไปตามแผน สามารถพิสูจน์ให้คนเชื่อในศักยภาพซัพพลายเชนในไทย ที่แข็งแรงสามารถจับมือกันออกไปทาตลาดต่างประเทศ อาเซียน โดยอาศัยสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) นาเทคโนโลยีต่อยอดธุรกิจเพื่อดึงเงินเข้าประเทศบ้างจากที่เคยเป็นผู้ซื้อมา 30-40 ปี

ที่มา: https://www.thansettakij.com/motor/530060

เยอรมนีลงทุนใหม่มาบตาพุด ผุด 2 โปรเจ็กต์ขึ้นฮับอาเซียน

“โคเวสโตร” ทุนเยอรมันยักษ์ปิโตรเคมีกางแผนลงทุน “มาบตาพุด”เพื่อให้ขยายการลงทุนมาที่ประเทศไทย โครงการนี้จะมีการลงทุนไม่น้อยกว่าโครงการอีลาสโตเมอร์ก่อนหน้านี้เลย อีกโปรเจ็กต์หนึ่งเป็นโครงการลงทุนในระยะยาว 5 ปี ระหว่างปี 2025-2030 คือ การขยายกำลังการผลิตของโรงงานโพลิคาร์บอเนตที่มาบตาพุด ซึ่งโครงการนี้หากจะมาลงทุนจริง ๆ จะมีขนาดมากกว่า 100 ล้านยูโร หรือกว่า 3,600-3,700 ล้านบาท  ชู strategic location “ไทยฮับอาเซียน” ของโคเวสโตร จากที่มีฐานการผลิตของโคเวสโตรที่กระจายอยู่ใน 50 ประเทศทั่วโลก มีพนักงานรวม 18,000 คน ก็จะมีศูนย์การผลิตที่มีขนาดใหญ่ติดอันดับโลกอยู่ 8 ประเทศ ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งใน 8 นั้น

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-918295

มกอช. นำทีมคณะผู้แทนไทย เป็นเจ้าภาพประชุม EWG-OA เร่งปรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้สอดคล้องกับ 10 ประเทศอาเซียน

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช. พร้อมด้วย กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้เข้าร่วมการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์ของอาเซียน (Expert Working Group for Organic Agriculture : EWG-OA) ครั้งที่ 6 ผ่านระบบทางไกลออนไลน์ ซึ่งในปีนี้สาธารณรัฐสิงคโปร์ทำหน้าที่เป็นประธาน โดยมีประเทศไทยทำหน้าที่รองประธาน และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยการประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรในอาเซียนที่ยั่งยืนมีระบบการจัดการที่จะทำให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของผู้บริโภค ลดการสูญเสีย และลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการหารือประเด็นที่สำคัญ ประกอบไปด้วย 1. การปรับประสานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ให้เทียบเท่ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของอาเซียน (ASOA) 2. การปรับประสานระบบการตรวจสอบรับรองของประเทศสมาชิกเพื่อให้เกิดการยอมรับความเท่าเทียมของระบบของแต่ละประเทศ 3. การส่งเสริมการใช้มาตรฐาน ASOA และการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กเข้าสู่ตลาดที่มีมูลค่าสูงได้

 

ที่มา : https://mgronline.com/politics/detail/9650000033951

กรมการท่องเที่ยว ชู 5 องค์ประกอบ ในแนวคิด DOT : Step up to New Chapter ก้าวสู่บทใหม่ที่ท้าทาย เพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน

กรมการท่องเที่ยว พลิกโฉมรับการท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง สมดุล และยั่งยืนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ หรือ BCG Model ด้วยแนวคิด DOT : Step up to New Chapter ก้าวไปสู่บทใหม่ที่ท้าทาย ด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ทั้งการพัฒนาองค์กรด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ การบูรณาการใช้เทคโนโลยีเพื่อบริการประชาชน การสร้างเครือข่าย และความเป็นมืออาชีพ ชูการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและยกระดับสู่ความเป็นมืออาชีพตามมาตรฐานของอาเซียน ภายใต้ข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Tourism Professionals: MRA on TP)

 

ที่มา : https://www.pimthai.co.th/106043

‘อาคม’ เผยปมขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ไม่กระทบส่งออกอาเซียน ยัน อัตราว่างงานลดลงตามลำดับ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์ขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ในส่วนกระทรวงการคลังที่ดูแลเรื่องฐานะการเงินของประเทศ แนวนโยบายในการบริหารโควิด-19 ก็เดินคู่กับการสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ เราพยายามจะรักษาสมดุลตรงนี้ไว้ เห็นได้จากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ GDP แต่ละไตรมาสที่ดีขึ้นตามลำดับ แม้ว่าจะมีโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนก็ตาม แต่ความรุนแรงไม่เท่าสายพันธุ์เดลต้า เพราะฉะนั้นกิจกรรมธุรกิจต่างๆ ยังสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ ประเด็นสำคัญคือการเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจแต่ละครั้งนั้นสิ่งที่ช่วยพยุงให้เศรษฐกิจของเราสามารถเดินต่อได้มี 2 เรื่อง คือเรื่อง ภาคเกษตร เป็นภาคที่สำคัญ เพราะกระทบต่อรายได้ของประชาชน กับเรื่อง การค้าขายชายแดน ซึ่งผมได้ลงไปในพื้นที่ชายแดนหลายจังหวัดพบว่าช่วงโควิด-19 นั้นการขนสินค้าข้ามแดนไม่ได้รับผลกระทบอะไร เพราะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนของเรายังพึ่งพาสินค้าอุปโภค-บริโภคกันอยู่” นายอาคมกล่าว

 

ที่มา : https://www.matichon.co.th/politics/news_3250986

โควิดปี 2020 ทำให้ชาวอาเซียนกว่า 4.7 ล้านคน ‘ยากจนขั้นรุนเเรง’ ตกงาน-ไม่มีรายได้

การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ในปีที่เเล้ว มีส่วนทำให้ประชาชนในอาเซียนเข้าสู่ภาวะ ‘ยากจนขั้นรุนแรง’  (Extreme Poverty) เพิ่มขึ้นกว่า 4.7 ล้านคน เเละสูญเสียงานถึง 9.3 ล้านตำแหน่ง เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโรคระบาด แม้ว่า ADB คาดว่าการเติบโต 5.1% ในปี 2022 จากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ทำให้เศรษฐกิจสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง แต่ก็เตือนว่าหากเกิดไวรัสกลายพันธุ์รูปแบบใหม่ ก็สามารถลดการเติบโตได้มากถึง 0.8% ทั้งนี้ ADB เรียกร้องให้รัฐบาลในอาเซียนจัดสรรเงินลงทุนเพิ่มเติมในระบบการดูแลสุขภาพ เพื่อปรับปรุงการเฝ้าระวังโรค และตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ในอนาคต การเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน อาจเพิ่มขึ้นอีก 1.5% หากการใช้จ่ายด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้มีมูลค่าเเตะ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จากปี 2021 ซึ่งอยู่ที่ 3%

 

ที่มา : https://positioningmag.com/1377981

‘อาเซียน’ นัดประชุมรายสาขาด้านเศรษฐกิจครั้งแรก ตั้งเป้ายกระดับอาเซียนสู่ยุคดิจิทัล

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า อาเซียนกำหนดจัดประชุมคณะกรรมการรายสาขาด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (Committee of the Whole: CoW) ครั้งที่ 12 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันที่ 10 มีนาคมนี้ การประชุมครั้งนี้ เป็นเวทีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการรายสาขาด้านเศรษฐกิจของอาเซียนรวม 23 ด้าน อาทิ การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พิธีการศุลกากร และการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยมีผู้แทนจากเสาการเมือง เสาสังคมและวัฒนธรรม และผู้แทนภาคเอกชนของอาเซียน เข้าร่วมหารือแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างสาขาต่างๆ เพื่อให้เกิดผลได้จริง อาทิ การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global Value Chains: GVCs) และแนวทางการดำเนินการต่อไปในประเด็นแผนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (4IR) ทั้งนี้ ความสำเร็จที่สำคัญจากการประชุมที่ผ่านมา คือ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์อาเซียนประเด็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากมติที่ประชุม CoW สมัยพิเศษโดยแผนยุทธศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางเชิงนโยบายในการพัฒนาประชาคมอาเซียนสู่ยุคดิจิทัลของทั้งสามเสาประชาคมอาเซียน ซึ่งอาเซียนกำลังจัดทำแผนดำเนินงานและกิจกรรมเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3305016

ม.มหิดล ร่วมเสนอแนวคิดฟื้นฟูภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหลังวิกฤติ COVID-19 ผ่านยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน BCG

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคณะทำงานจาก 21 ประเทศกลุ่มสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) โดยได้กล่าวถึงแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติ COVID-19 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดระลอกใหม่อย่างยั่งยืนว่าภาคส่วนต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลสามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG ในคลัสเตอร์ เช่น ด้านอาหารและการเกษตร (Food and Agriculture) รวมไปถึงด้านการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness) ภายใต้นโยบาย BCG นี้ มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านอาหารและการเกษตร ผ่านการพัฒนาโภชนเภสัช การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ การเพิ่มผลผลิต และการทำการเกษตรแม่นยำสูง และในด้านการแพทย์และสุขภาพ ได้มุ่งเน้นไปสู่การแพทย์แม่นยำสูง เทคโนโลยีจีโนมิกส์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร และสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมไปถึงการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางทางด้านการแพทย์ (medical hub) เป็นต้น

 

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3300783

‘เงินเฟ้อพุ่ง’ปัญหาเร่งด่วนของอาเซียน

ตอนนี้้ นอกจากจะรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19แล้ว ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กำลังออกมาตรการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อพุ่ง ซึ่งเป็นผลพวงจากอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลกดัชนีซีพีไอเดือนม.ค.ของอินโดนีเซีย ทะยานสูงสุดในรอบ 20 เดือน  ส่วนสิงคโปร์อัตราเงินเฟ้อเดือนธ.ค.เพิ่มเป็น4% และมาเลเซีย เร่งควบคุมราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่ทะยานขึ้นมากจนทำให้อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยในเดือนธ.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3.2%

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/world/986461