‘ADB’ ช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคาร Lien Viet Post (LPBank) ร่วมลงนามข้อตกลงโครงการจัดหาเงินทุนทางการเงินให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจ (WSMEs) ในเวียดนาม มูลค่าเงินทุนสูงถึง 80 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการจัดหาเงินทุนดังกล่าว ประกอบไปด้วยเงินกู้จากเงินทุนสามัญของธนาคารเอดีบี 30 ล้านเหรียญสหรัฐ และเงินกู้ร่วม 50 ล้านเหรียญสหรัฐที่มาจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน (CEXIM) และความร่วมมือระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ ซูซาน กาบูรี ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการภาคเอกชน ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) กล่าวว่าความร่วมมือกับธนาคาร LPBank ในครั้งนี้ จะช่วยเหลือผู้ประกอบการสตรีในเวียดนามและมีส่วนช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ตลอดจนยังช่วยสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจในเวียดนามที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/adb-supports-financial-access-for-women-owned-businesses-in-vietnam-post288523.vnp

ADB พร้อมสนับสนุนการผลักดันโครงข่ายไฟฟ้าในระดับภูมิภาคของกัมพูชา

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) สนับสนุนการผลักดันของกัมพูชาในการจัดตั้งโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (APG) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ในการยกระดับความมั่นคงด้านพลังงานสีเขียวของภูมิภาค โดยหัวข้อนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายระหว่างทีมงานของ ADB นำโดยผู้อำนวยการบริหาร Rachel Thompson หลังเข้าพบ Keo Rattanak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชา ซึ่งทางการคาดว่าโครงการ APG จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมพลังงานของกัมพูชา โดยจำเป็นต้องลดพลังงานที่ได้จากถ่านหินและเพิ่มแหล่งพลังงานหมุนเวียนเข้ามาทดแทน ขณะที่ความคิดริเริ่มของโครงการ APG ถือเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญในแผนแม่บทความเชื่อมโยงของอาเซียน ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างกลไกการเชื่อมต่อโครงข่ายพลังงานในระดับภูมิภาค ภายใต้เงื่อนไขทวิภาคีข้ามพรมแดน จากนั้นจะค่อยๆ ขยายไปสู่ระดับอนุภูมิภาค นำมาสู่การรวมกลุ่มบูรณาการในระบบโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียนเป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งการเชื่อมต่อโครงข่ายในระดับทวิภาคีหลายแห่งได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น การเชื่อมโยงโครงข่ายของสิงคโปร์กับมาเลเซีย และการเชื่อมโยงไทยกับมาเลเซีย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501436267/cambodias-regional-power-grid-bid-gets-adb-support/

ADB ตกลงสนับสนุนผู้ประกอบการ MSMEs กัมพูชา

ธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งกัมพูชา (FTB) เข้าร่วมโครงการการเงินการค้าและห่วงโซ่อุปทาน (TSCFP) ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เพื่อส่งเสริมทางด้านการเงิน การค้า สำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSMEs) ในกัมพูชา โดยเป็นการลงนามระหว่าง Dith Sochal ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FTB และ JyotsanaVarma ผู้อำนวยการ ADB ประจำกัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งคาดว่าจะเติมเต็มช่องว่างให้กับผู้ประกอบการ MSEMs ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านธนาคารพันธมิตร ด้าน MSMEs คิดเป็นกว่าประมาณร้อยละ 99 ขององค์กรทั้งหมดในกัมพูชา ขณะที่ TSCFP ได้ให้สินเชื่อและค้ำประกันแก่ธนาคารพันธมิตรมากกว่า 200 แห่งในหลายประเทศ เพื่อสนับสนุนการค้า ส่งเสริมการนำเข้าและส่งออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501435837/cambodia-adb-agree-to-support-micro-small-and-medium-sized-enterprises/

ADB ร่วมกับ MPWT สร้างโครงการฝังกลบในพระตะบอง มูลค่า 6.28 ล้านดอลลาร์

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ร่วมมือกับกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง (MPWT) ในการก่อสร้างหลุมฝังกลบแบบควบคุมขนาด 20 เฮกตาร์ ในจังหวัดพระตะบองสำเร็จ โดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรในชุมชนที่มีอยู่ราว 126,000 คน ด้วยกำลังการกำจัดขยะ 100 ตัน ต่อวันเป็นเวลา 10 ปี ด้วยเม็ดเงินลงทุนในโครงการมูลค่า 6.28 ล้านดอลลาร์ ภายใต้ชื่อโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองครั้งที่สองในลุ่มน้ำทะเลสาบโตนเลสาบ โดยโครงการนำร่องได้เริ่มดำเนินการมาแล้ว 2 เดือน และพร้อมที่จะให้บริการแก่ชุมชนทั่วทั้งจังหวัด ซึ่งจุดฝังกลบดังกล่าวตั้งอยู่ห่างจากเทศบาลเมืองพระตะบอง 25 กิโลเมตร และห่างจากชุมชนเนื่องจากความกังวลด้านสุขภาพของประชาชนในระยะยาว โดยขยะทั้งหมดสามารถนำมาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิตก๊าซและปุ๋ยต่อไปได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501404698/adb-mpwt-build-6-28-million-landfill-project-in-battambang/

ADB อนุมัติเงินกู้ 50 ล้านดอลลาร์ หนุนการปรับปรุงการจัดการทางด้านการเงินกัมพูชา

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินกู้มูลค่า 50 ล้านดอลลาร์ สนับสนุนการปรับปรุงระบบการจัดการการเงินสาธารณะ (PFM) ของกัมพูชา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและสร้างความร่วมมือทางการเงินร่วมกันในระดับชาติและระดับภูมิภาค นับตั้งแต่ปี 2008 รวมถึงเสริมสร้างการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้เกิดความโปร่งใสด้านการดำเนินนโยบายการเงิน ให้เป็นไปตามมาตรฐานในการปฏิรูปเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ส่งเสริมความรับผิดชอบทางการเงิน และเพิ่มการกำกับดูแลการใช้จ่ายสาธารณะ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501397705/adb-approves-50-mln-loan-to-improve-cambodias-financial-management/

รัฐบาล สปป.ลาว กำหนดนโยบายใหม่ หลังพบ ADB หวังจัดการปัญหาหนี้สาธารณะ

รัฐบาล สปป.ลาว ร่วมเจรจานโยบายระดับสูงเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการเสริมสร้างการจัดการหนี้สาธารณะในประเทศ สปป.ลาว ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และกระทรวงการคลัง โดยได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการจัดการหนี้สาธารณะด้วยการเชื่อมโยงระบบบริหารจัดการหนี้สาธารณะเข้ากับนโยบายการคลัง และการเงิน ร่วมกับการจัดทำมาตรการเฉพาะของรัฐบาล สปป.ลาว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการหนี้สาธารณะ ทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว ด้านนาย Soulivath ยังได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการติดตามสถานการณ์หนี้สาธารณะ รวมถึงประเมินความเสี่ยงทางการคลังต่อสถานการณ์หนี้สาธารณะ เพื่อลดหรือหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น อีกทั้งรัฐบาลยังได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ ถือเป็นส่วนสำคัญในการขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจ และส่งผลเสียอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจในประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_196_Govt_y23.php

ADB คาดการณ์ GDP สปป.ลาว ลดลงเหลือร้อยละ 3.7

ตามข้อมูลจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) การเติบโตทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว จะชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในครั้งก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจของจีนยังซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายสำคัญยังคงอ่อนแอ รวมถึงสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการทำการเกษตรในประเทศ และความกดดันทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น ร่วมกับการอ่อนค่าของเงินกีบ โดยการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ในฉบับประจำเดือนกันยายน ได้ปรับลดลงการเติบโตทางเศรษฐกิจมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 จากการคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 4 สำหรับในปี 2024 สำหรับค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือนลดลงอย่างมากในช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์พุ่งไปแตะกว่าร้อยละ 41.3 ร่วมกับการอ่อนค่าของสกุลเงินกีบ โดยเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์เกิดการอ่อนค่าถึงเกือบครึ่งหนึ่ง หรือคิดเป็นอ่อนค่ากว่าร้อยละ 44 รวมถึงภาคการส่งออกที่ชะลอตัวลงกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะกับประเทศคู่ค้าหลักที่มีการเติบโตด้านการส่งออกที่ลดลง เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจของ สปป.ลาว เติบโตอย่างชะลอตัว

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/09/21/adb-lowers-economic-growth-rating-for-laos/

‘ADB’ ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามปีนี้เหลือ 5.8% และปี 67 โต 6%

จากรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ฉบับเดือน ก.ย. ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ระบุว่าได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2566 ลงมาอยู่ที่ 5.8% และ 6% ในปีหน้า ซึ่งจากการคาดการณ์เศรษฐกิจของเวียดนามในปีนี้ พบว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองลงมาฟิลิปปินส์ 5.7% และกัมพูชา 5.3% ทั้งนี้ เงินเฟ้อของเวียดนามปรับตัวลดลงเหลือ 3.8% ในปีนี้ และ 4% ในปีหน้า โดยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (4.2%)

ที่มา : https://theinvestor.vn/adb-revises-down-vietnams-gdp-growth-forecast-to-58-in-2023-6-in-2024-d6697.html

ADB อนุมัติเงินกู้ 45 ล้านดอลลาร์ ส่งเสริมภาคบริการสุขภาพ สปป.ลาว

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 45 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเสริมสร้างภาคบริการด้านสุขภาพใน สปป.ลาว ให้มีคุณภาพในเขตพื้นที่ 16 อำเภอ ทั่วประเทศ ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข ด้าน ADB กล่าวเสริมว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนประมาณกว่า 1.6 ล้านคนต่อปี ที่ต้องการเข้ารับบริการด้านสุขภาพ โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มรายได้เปราะ และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและด้อยโอกาส ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ADB กล่าวว่า สปป.ลาว มีความก้าวหน้าในการขยายการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและการประกันภัย นับตั้งแต่มีโครงการประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้เปิดตัวในปี 2015 ที่ให้สิทธิครอบคลุมร้อยละ 94 ของประชากร อย่างไรก็ตาม ADB กล่าวว่า สปป.ลาว ยังคงตามหลังประเทศเพื่อนบ้านในแง่ของการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยเป็นเหตุให้ ADB จำต้องสนับสนุน สปป.ลาว ในการพัฒนาภาคส่วนดังกล่าว

ที่มา : https://english.news.cn/20230822/1273f9591bdb4cce9a606291820fdb22/c.html

‘ADB’ ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามปีนี้ โต 5.8%

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ระบุในรายงาน Asian Development Outlook (ADO) ประจำเดือนกรกฎาคม 2566 ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในปีนี้ อยู่ที่ 5.8% และปีหน้า 6.5% จากที่เคยประมาณการไว้ที่ 6.5% และ 6.8% ในเดือนเมษายน เนื่องมาจากอุปสงค์ภายนอกที่อ่อนแอ ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่คาดกาณ์ว่ากิจกรรมในประเทศจะปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ภาวะเงินเฟ้อในประเทศ คาดว่าจะชะลอตัวลงเหลือ 4% ในปี 2566 และปีหน้า เป็นผลมาจากทิศทางราคาเชื้อเพลิงและอาหารลดลง

ที่มา : https://en.nhandan.vn/adb-lowers-growth-forecast-for-vietnams-to-58-this-year-post127656.html